งาน Stockholm Design Week ปีนี้ ทางผู้จัดได้เปลี่ยนมาจัดแบบออนไลน์เหมือนหลาย ๆ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส
แต่การแพร่ระบาดก็ไม่ใช่อุปสรรค์ของไอเดียการออกแบบ วันนี้เราจึงนำเอา 10 โปรเจกต์ที่ยอดเยี่ยมจากเวที Greenhouse ในงาน Stockholm Design Week ซึ่งได้รับการคัดเลือกจาก Amy Frearson บรรณาธิการใหญ่จาก Dezeen เอามาให้ชมกัน
Fast Fact: Greenhouse เป็นส่วนหนึ่งของงาน Stockholm Design Week โดยเวทีนี้จะเปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา ได้ส่งผลงานการออกแบบ และต่อยอดไปยังการผลิตในระบบอุตสาหกรรม
Table of Contents
10Dag โดย Gustav Winsth และ Teresa Lundmark จาก Beckmans College of Design
Beckmans College ปีนี้ ใช้ชื่อนิทรรศการว่า Room Service โดยนำเสนอ 6 ดีไซน์ของเฟอร์นิเจอร์ ที่ได้มีการสำรวจแล้วว่า สามารถปรับเข้ากับพื้นที่ทำงาน และเพิ่มพื้นที่ใช้สอยได้จริง
เตียง Daybed หลังนี้ออกแบบโดย Gustav Winsth และ Teresa Lundmark และร่วมงานกับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์อย่าง Gärsnäs ออกแบบให้มีสัมผัสนุ่ม สบาย ๆ รวมถึงสรีระท่านอน นั่งและนอนสบาย ๆ ไม่ว่าจะนอนหลับกลางวัน หรือใช้เป็นโซฟารับแขก หมอนอิงแบบแยกส่วนช่วยให้สะดวกสบายต่อการทำความสะอาดและซ่อมแซม
9Etage โดย Elsa Frisénและ Matilda Olsson Borg จาก Beckmans College of Design
อีกหนึ่งงานออกแบบจาก Beckmans โต๊ะตัวนี้ได้ร่วมงานกับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ Källemo ซึ่งเป็นโต๊ะที่ผสมผสานวัสดุอย่างไม้และหิน รวมถึงการเล่นรูปทรงเรขาคณิตอย่างวงกลมและสี่เหลี่ยม กลายมาเป็นโต๊ะที่มีความยูนิคมาก ๆ และมีเก้าอี้ในตัวอีกด้วย แถมยังสามารถจัดเข้ากับ เก้าอี้นวมหรือโซฟาได้อีกด้วย
8Rendezvous โดย Linus Olofsson จาก Konstfack University
เก้าอี้สตูลตัวนี้ ถ้ามองแบบผิวเผินคงเดากันยากแน่ ๆ ว่าทำจากอะไร Linus Olofsson นักศึกษาหลักสูตรออกแบบอุตสาหกรรม ใช้วัสดุที่เราต้องไม่เชื่อแน่ ๆ เพราะเขาใช้ “เกลือ” ในการผลิต
แต่ต้องบอกก่อนว่ามันเป็นเก้าอี้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะวัตถุประสงค์คือต้องการให้มันสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (ละลายน้ำ) Olofsson ตบท้ายไอเดียคือ ต้องการให้ผู้คนฉุกคิดว่าแท้จริงแล้วไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน
7Fireplace โดย Ingrid Segring Björklund จาก Konstfack University
Björklund เล่าถึงไอเดียการออกแบบเตาผิง LED ให้ฟังว่า “แต่ก่อนเตาผิงเปรียบเสมือนจุดศูนย์รวมครอบครัวในบ้าน แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือแย่กว่านั้นคือ VDO บน Youtube”
เป้าหมายของงานศิลปะชิ้นนี้ คือนำเอาความอบอุ่นกลับคืนสู่บ้าน ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ตัวภายนอกใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก แกะสลักเป็นรูปเหมือนมือที่กำลังผิงไฟอยู่ ส่วนไฟใช้เป็น LED ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นไฟจริง ๆ
6Dunsta โดย Alexandra Fransson จาก Lund University
Lund University มาในโครงการที่ชื่อว่า Earth to Table โดยส่วนใหญ่จะเป็นบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ลดการเน่าเสียของอาหาร และสำหรับเจ้า Dunsta ที่ออกแบบโดย Fransson นี้ เป็นเหมือนการนำกรรมวิธีถนอมอาหารสมัยเก่า โดยที่ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า
เธอได้นำระบบการเก็บของใต้ดิน มาเปลี่ยนเป็นกล่องเก็บผัก ผลไม้ โดยการนำน้ำหรือน้ำเย็นมาเทในบริเวณที่กำหนดไว้ ความชื้นของน้ำจะช่วยเก็บผักและผลไม้ได้นานขึ้น สิ่งที่แตกต่างจากตู้เย็นคือ กล่องนี้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้านั่นเอง
5Fó โดย Daniel Larsson จาก Lund University
ผลิตภัณฑ์นี้เป็นการคิดค้นจากคนที่ชื่นชอบนมข้าวโอ๊ตอย่างมาก จนเขาเลือกที่จะทำเครื่องทำนมข้าวโอ๊ตแบบอะนาล็อก ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและยั่งยืนที่สุดในกระบวนการการผลิต คุ้มค่ามาก ๆ หากคุณเป็นคนที่ชอบดื่มเป็นชีวิตจิตใจ และยังมั่นใจได้ว่า นมข้าวโอ๊ตของคุณ ผลิตจากข้าวโอ๊ต 100 เปอร์เซ็นต์
4Otis โดย Amanda Do จาก Lund University
ชุดครัวชิ้นนี้เป็นเกิดจากการคิดค้นภาชนะที่สามารถเตรียมอาหาร ล้างเมล็ดพืชสำหรับอาหารมังสวิรัติ และยังสามารถใช้วางประดับเป็นอีกหนึ่งงานศิลปะบนโต๊ะอาหารได้ ชุดครัวชุดนี้ทำจากหินอ่อน ซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้ และสามารถรินน้ำได้อย่างรวดเร็ว เหมาะกันการล้างเมล็ดถั่วอย่างแท้จริง
3Knitting Decay โดย Alberte Holmø Bojesen จาก Swedish school of textiles
ขยับมาชมงาน Abstract กันบ้าง Bojesen ได้นำเส้นใยจากสิ่งทอมาจำลองเป็นการสลายตัวของธรรมชาติ สิ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการถักทอด้วยมือและเครื่องจักร ทำให้ผลงานของเธอดูมีเรื่องราวและสะท้อนให้ผู้คนตั้งคำถามว่า “การสลายตัวเหล่านี้ดูน่ารังเกียจสำหรับมนุษย์หรือไม่”
2By โดย Jessica Rijkers จาก Swedish school of textiles
อีกหนึ่งงาน Abstract จาก Swedish school (เดาว่าโรงเรียนนี้เน้นการแนวนี้มากกว่า) Rijkers ได้ทำการทดลองกับพลาสติกชีวภาพเพื่อดูผลลัพธ์ว่า สามารถนำมาใช้สำหรับงานสิ่งทอได้หรือไม่ และถ้าหากว่าจะสามารถยกระดับให้กลายเป็นวัสดุที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมแฟชั่นเลยได้หรือไม่
การผสานกันของ 2 วัสดุอย่าง แถบพลาสติกชีวภาพกับใยทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้การงานศิลปะที่แฝงนัยยะอย่างสวยงาม
1Südseite โดย Carlotta Simon จาก Weißensee School of Art and Design Berlin
ปิดท้ายกับไอเทมใหม่ที่ขอบอกว่า เป็นตัวที่ผู้เขียนชอบที่สุด เพราะมันเป็นการนำของเก่ามาเล่าใหม่ ที่สามารถปรับใช้ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน มันคือ “ไฟที่ม่านหน้าต่าง”
ฟังดูหลายคนอาจไม่ว้าวเท่าไหร่ แต่มันคือการรวมร่างที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะกลางวันมันคือจะตรวจจับแสงผ่านเซ็นเซอร์และปล่อยไฟผ่าน LED ซึ่งเราสามารถเลือกระดับความสว่างได้ หรือจะปิดให้มืดสนิทไปเลยก็ไม่มีปัญหา
และในตอนดึกมันก็สามารถให้แสงแบบเดียวกับเวลากลางวันได้ สามารถเลือกทิศทางของแสงได้อีกด้วย เป็นเทคโนโลยีกำเนิดแสงที่ผสมผสานกันดีไซน์ที่เรียบหรู ถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงามทีเดียว
จบไปแล้วกับ 10 อันดับที่ถูกเลือกมาให้ชมกัน หากใครยังไม่จุใจ อยากเข้าไปเสพไอเดียอื่น ๆ อีกก็เข้าไปชมได้ที่ (https://www.greenhousedesign.se/design-school/design-school-main-page) สำหรับ Stockholm Design Week 2021 จะจัดถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2021 เข้าไปชมงานได้ที่ https://www.stockholmfurniturelightfair.se/
Source
https://www.dezeen.com/2021/02/10/greenhouse-student-projects-stockholm-design-week-2021/
https://www.greenhousedesign.se/design-school/design-school-main-page