“คาดว่าหากมีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรอบใหม่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกน่าจะมีศักยภาพในการฟื้นตัวได้เร็วกว่าภูมิภาคอื่นเนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญทั้งการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การลงทุนของเอกชน การลงทุนของภาครัฐ และการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวมาพร้อม ๆ กัน”

ท่ามกลางสถานการณ์ภาคการส่งออกยังคงขยายตัวติดลบอย่างต่อเนื่อง อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจภาคตะวันออกในปัจจุบันโดยเฉพาะจังหวัดชลบุรีและระยอง ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อเนื่องถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาลงนับจากปีพ.ศ. 2557 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และคาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์อาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการฟื้นตัว อย่างไรก็ตามในอนาคตเนื่องจากยังเป็นพื้นที่ที่ได้รับความนิยมในการลงทุนจากต่างชาติ โดยแหล่งประกอบอุตสาหกรรม (นิคมฯ) ยังคงขยายพื้นที่รองรับความต้องการ ปัจจุบันมีแหล่งประกอบอุตสาหกรรม (นิคมฯ) 28 แห่ง และจะเกิดใหม่อีก 12 แห่ง (กำลังก่อสร้าง) และเขตเศรษฐกิจพิเศษที่สระแก้วและตราด อีก 2 แห่ง

ในอนาคตยังจะมีโครงการเมกะโปรเจคที่สำคัญของภาครัฐถึง 8 โครงการ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์ การเปิดใช้สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (ปัจจุบันกำลังขยายเป็นสนามบินนานาชาติแล้วเสร็จจะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 5 ล้านคนต่อปี) ที่จะเพิ่มอุปสงค์ด้านการท่องเที่ยว การลงทุนในจังหวัดชายฝั่งตั้งแต่ชลบุรี พัทยา ระยอง จันทบุรี ไปถึงจังหวัดตราด อันคาดว่าหากหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรอบใหม่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกน่าจะมีศักยภาพในการฟื้นตัวได้เร็วกว่าภูมิภาคอื่น เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญทั้งด้านอุตสาหกรรม การลงทุนของเอกชน การลงทุนของภาครัฐ และการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว

การขยายตัวของอุตสาหกรรม แรงงานและแนวโน้ม

ทิศทางการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม (ทุนจดทะเบียน และจำนวนคนงาน) จังหวัดชลบุรีและระยอง เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ดังแผนภูมิ

แผนภูมิที่ 1 สถิติโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในช่วงปีพ.ศ. 2549-2558

ชลบุรี

ระยองที่มา : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ด้านการส่งเสริมการลงทุน การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในภาคตะวันออก ซึ่งมีจังหวัดชลบุรีและระยองเป็นสองจังหวัดหลัก (สัดส่วนประมาณ 80% ของภาคตะวันออก ณ ปีพ.ศ. 2556) พบว่ามีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามสถานการณ์การลงทุนในปีพ.ศ. 2558 เริ่มมีทิศทางในทางบวก โดยการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนใน 11 เดือนแรก (มกราคม-พฤศจิกายน พ.ศ.2558) เพิ่มขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีพ.ศ. 2557

กลุ่มนักลุงต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มชาวญี่ปุ่นที่พักอาศัยในจังหวัดชลบุรีและระยองพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขยายตัวในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่กลายเป็นแหล่งชุมชนชาวญี่ปุ่†นที่ใหญ่‹เป็šนอันดับสองรองจากกรุงเทพฯ จนได้Œรับฉายาว่า “Little Osaka” เมืองไทย

แผนภูมิที่ 2 แสดงสัดส‹วนชาวญี่ปุ†นที่มาพักอาศัยในจังหวัดชลบุรีและระยอง ตั้งแต่ปี‚พ.ศ. 2553-2557

ระยองชล

ที่มา: สถานทูตญี่ปุ่น

แผนที่ที่ 1 ที่ตั้งแหล‹งประกอบอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรีและระยอง

Capture1

ที่มา: กรมนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมโรงงานอุตสาหกรรม 

แหล‹งประกอบอุตสาหกรรม (นิคมฯ) ในจังหวัดชลบุรีและระยองที่เปิดดำเนินการในปัจจุบัน ประกอบด้วย 28 แห่ง ได้แก่นิคมอุตสาหกรรม 17 แห‹ง เขตประกอบอุตสาหกรรม 6 แห่ง สวนอุตสาหกรรม 3 แห่ง และชุมชนอุตสาหกรรม 2 แห่ง พื้นที่ทั้งหมด 103,489 ไร‹ 2,441 โรงงาน และมีการจ้างงานมากกว‹า 412,600 อัตรา คาดว‹าในอนาคตกำลังมีการพัฒนาใหม่อีกจำนวน 12 แห‹่ง ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม 11 แห่‹ง และส่วนอุตสาหกรรม 1 แห่ง เนื้อที่รวม 27,645 ไร่ คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มอีกกว่า 200,000 อัตรา

ภาวะตลาดอสังหารมทรัพย์ในจังหวัดชลบุรีและระยอง ย้อนหลัง 5 ปี และแนวโน้ม

การเปลี่ยนแปลงตลาดอสังหาริมทรัพยจังหวัดชลบุรและระยอง ปี‚พ.ศ. 2552-2558 ภาพรวมตลาดที่อยู่‹อาศัยในจังหวัดชลบุรีขยายตัวอย่างมากในปี‚พ.ศ. 2554-2556 และซบเซาลงตั้งแต่ปี‚พ.ศ. 2557 เป็นต้นมาตามทิศทางเศรษฐกิจ โดยอุปทานใหม่ในตลาดมีการเพิ่มอุปทานใหม‹ในตลาดมีการเพิ่มขึ้นสูงสุด (เปิดขายเพิ่มสูงสุด) ในปีพ.ศ. 2555 ประมาณ 27,999 หน่‹วย ลักษณะการเพิ่มขึ้นของอุปทานใหม่‹ที่เข้ามาในตลาดมีการสอดคล้Œองกับสถานการณ์การขาย ดังจะเห็นได้ว่าอัตราการดูดซับของตลาดเพิ่มสูงสุดในป‚ีพ.ศ. 2555 (41%) เช่‹นกัน อย่‹างไรก็ตามการดูดซับของตลาดที่อยู‹่อาศัยในจังหวัดชลบุรีมีแนวโนŒมลดลงตั้งแต่‹ปี‚พ.ศ. 2556 จนถึงปั˜จจุบัน หากพิจารณาประเภทของที่อยู‹่อาศัยที่ขายได้ของจังหวัดชลบุรีจะพบว่‹า อาคารชุดเป็นที่อยู่อาศัยที่มียอดขายมากที่สุดของตลาด มีหน่วยขายได้Œมากที่สุดในปี‚พ.ศ. 2555 ประมาณ 18,199 หน่วย และมีแนวโน้มลดลงอย่‹างต‹อเนื่องดังกล‹าว ขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยแนวราบของจังหวัดชลบุรีจะพบว่าภาพรวมของหน‹่วยขายได้ค่อนข้างทรงตัว ประมาณ 6,000-7,500 หน่วยต่อปี‚ โดยที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาส์เป็นที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มการขายได้มากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 เป็นต้นมา

ส่วนจังหวัดระยองมีสถานการณ์คล้ายกับจังหวัดชลบุรี แต่อุปทานสะสมมีแนวโน้มลดลง มีการปรับตัวต่อสถานการณ์ มีการขายที่รวดเร็วกว่าจังหวัดชลบุรี หากพิจารณาประเภทของที่อยู่อาศัยที่ขายได้ของจังหวัดระยองจะพบว‹ามีความแตกต่างจากจังหวัดชลบุรี โดยโครงสร้างตลาดเป็นที่อยู‹่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวเป็นหลัก และสัดส่วนส่วนใหญ่เป็นตลาดของที่อยู่อาศัยแนวราบมากกว่าอาคารชุด

แผนภูมิที่ 3 ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงตลาดที่อยู่‹อาศัย จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่‹ปี‚พ.ศ. 2552-2558

ชล last

แผนภูมิที่ 4 ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงตลาดที่อยู่‹อาศัย จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี ‚ 2552-2558

last


นิตยสาร Builder Vol.31 MAY 2016

ติดตามอ่านตอนต่อไปได้ที่ : อนาคตอสังหาฯ ภาคตะวันออก หลังยุคต่อไป (ตอนที่ 2)

Previous articleOne Thousand Museum tower ที่อยู่อาศัยบนตึกระฟ้า
หรูหราสะดุดตาตามสไตล์ Zaha Hadid
Next articleBACK TO BASIC จับตามองผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ จาก อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต (ตอนที่ 2)
วสันต์ คงจันทร์
นักเขียนนิตยสาร Builder กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด