เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นหูกับชื่อของ “Zaha Hadid” สถาปนิกสาวผู้โด่งดังซึ่งสร้างผลงานอันเลื่องชื่อไว้มากมาย และหนึ่งในโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกของเธอในนามของ Zaha Hadid Architects (ZHA) คือ “ศูนย์การแสดงนานาชาติในปักกิ่ง” (Phase II) ซึ่งเป็นการออกแบบที่เรียกได้ว่าไม่ทิ้งลายของเธอเลยแม้แต่น้อย ทั้งยังเต็มไปด้วยฟังก์ชันการใช้งานที่เต็มเปี่ยมและอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย

Zaha Hadid in Heydar Aliyev Cultural center in Baku nov 2013

Zaha Hadid Architects (ZHA) ได้รับรางวัลการประกวดเพื่อสร้างศูนย์การแสดงนานาชาติแห่งปักกิ่ง (Phase II) โดยในอาคารประกอบไปด้วยงานประชุม งานแสดงสินค้า และการแสดงทางอุตสหากรรมที่จัดโดยผู้จัดงานทั่วโลก และเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต จีนจึงเปิดการแข่งขันด้านการออกแบบนี้ขึ้นมาเพื่อขยายพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการเดิม ซึ่งสะท้อนถึงการเล็งเห็นความสำคัญของงานจัดแสดงในฐานะศูนย์กลางการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

ZHA ออกแบบโดยการเชื่อมโยงกันของกลุ่มเส้นสายและรูปทรงเลขาคณิตต่าง ๆ ที่สะท้อนถึงพื้นผิวของหลังคากระเบื้องเซรามิกเคลือบที่พบในสถาปัตยกรรมจีนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังสื่อถึงสายสัมพันธ์ระหว่างห้องจัดแสดง ศูนย์ประชุมและโรงแรมอีกด้วย และโครงสร้างนี้ประกอบไปด้วยหน้าต่างแบบปิดขนาดใหญ่ที่ทำให้กรอบอาคารดูมีไดนามิกมากขึ้น และท้ายที่สุดก็ปิดผิวด้วยสีทองแดงสวยงาม

แกนกลางเหนือ-ใต้ของอาคารเป็นพื้นที่เชื่อมต่อหลักระหว่างห้องนิทรรศการฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในขณะที่สะพานรองของอาคารอยู่ในระดับที่สูงขึ้นจะเป็นการเชื่อมต่อไปอีกชั้นซึ่งสร้างสนามหญ้าและสวนที่ใช้ร่วมกันเพื่อการพบปะอย่างไม่เป็นทางการรวมถึงการพักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ยังมีคาเฟ่และพื้นที่สำหรับกิจกรรมนอกสถานที่อีกด้วย ในขณะที่ทางเดินของคน การเคลื่อนย้ายสินค้าและพาหนะจะใช้เส้นทางคนละเส้นกัน ทั้งนี้เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและหลีกเลี่ยงการรบกวนกิจกรรมใด ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ในสถานที่จัดกิจกรรม ณ ขณะนั้น

สถาปนิกออกแบบระบบหลังคาคอมโพสิตเพื่อป้องกันสภาพแวดล้อมภายในและเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับเสียงให้มากที่สุด “รูปทรงสมมาตรของหลังคาสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่แต่มีน้ำหนักเบาที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มีพื้นที่ว่างที่ยืดหยุ่นรองรับกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใด ๆ สำหรับจัดนิทรรศการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการปรับตัวเข้าหากันของอุตสาหกรรมและสถาปัตยกรรมนั่นเอง” สถาปนิกอธิบาย ซึ่งวิธีสร้างโครงสร้างและการก่อสร้างแบบสำเร็จรูปจะช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนการดำเนินงานให้โปรเจ็กต์นี้ได้มากที่สุด

แผงโซลาร์จะช่วยกักเก็บพลังงานหมุนเวียน ในขณะที่ระบบการจัดการตึกอัจฉริยะจะสร้างระบบปรับการระบายอากาศภายในแบบผสมผสานของอาคารตามความจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับอากาศธรรมชาติเข้ามาโดยใช้อุปกรณ์ HVAC คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายอากาศภายในอาคาร ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อลดการใช้พลังงานนั่นเอง

นอกจากนี้การเก็บน้ำฝนและบำบัดน้ำทิ้งยังเป็นการช่วยลดการใช้น้ำในสวนรวมไปถึงภูมิทัศน์โดยรอบ ในขณะที่ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนจะยังผลไปสู่การลดใช้คาร์บอนและการปล่อยมลพิษขั้นต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้อีกด้วย

ไม่แน่ว่าโปรเจกต์นี้ยังจะดำเนินการสร้างขึ้นจริงหรือไม่ ด้วยสถานการณ์หลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นทำให้เราต้องติดตามกันอีกสักพัก ทว่าตำนานของ Zaha Hadid ยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งสะท้อนอยู่ในการออกแบบต่าง ๆ ที่เธอและทีมเคยสร้างไว้ รวมไปถึงศูนย์การแสดงนานาชาติแห่งนี้อีกด้วย

 

project info:

name: beijing’s international exhibition centre (phase II)

location: beijing, china

site area: 63.74 hectares

height: 45 m

gross floor area above grade: 438,500 sqm: exhibition halls: 346,500 sqm; conference centre: 44,000 sqm; hotel: 48,000 sqm; basements: 205,200 sqm

project team —

architect: zaha hadid architects (ZHA)

design: patrik schumacher

ZHA competition project directors: satoshi ohashi, paulo flores

ZHA competition project associates: yang jingwen, michail desyllas

ZHA competition project leader: di ding

ZHA competition team: eduardo camarena, enoch kolo, che-hung chien, felix amiss, genci sulo, i-chun lin, jiaxing lu, juan liu, mariana custodio dos santos, meng zhao, michael on, nastasja mitrovic, nicolas tornero, ying xia, zheng xu

consortium team —

local architect: BIAD

urban planning: AECOM

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.designboom.com/architecture/zaha-hadid-second-phase-beijing-international-exhibition-centre-02-04-2021/?utm_source=designboom+weekly&utm_medium=email&utm_campaign=zaha+hadid+architects+to+build+second+phase+of+beijing%27s+international+exhibition+centre

Previous articleนักธรณีวิทยาชี้ ท่าเรือคลองวาฬ ไร้ประโยชน์
ผลาญงบ 430 ล้าน หลังทิ้งนาน 15 ปี มีปัญหากัดเซาะชายฝั่ง
Next articleเมื่อนั่งร้านเป็นโครงสร้างของอาคาร ที่ไม่จำเป็นต้องมีผนังทึบ กับ La Concordia Amphitheater
Porntiwa
สาวรัฐศาสตร์หน้าใส หัวใจรักการเขียน ผู้ผันตัวจากสายการเมือง มุ่งหน้าสู่สถาปัตยกรรมเต็มตัว