“#11 II” บ้านโครงสร้างปูน ที่ถูกห่อหุ้มด้วย facade ไม้สีดำทึบ ล้อมรอบด้วยระแนงรั้วสีขาว มีพื้นฐานมาจากบ้านทรงไทยพื้นถิ่นดั้งเดิม ออกแบบโดยคุณบี วิทยถาวรวงศ์ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Beautbureau ซึ่งได้ผสานบ้านและออฟฟิศเข้าไว้ด้วยกัน บนพื้นที่บ้านหลังแรกในชีวิตวัยเด็กของเธอที่กรุงเทพมหานคร

จุดเริ่มต้นการออกแบบ “#11 II” ครั้งนี้ เกิดขึ้นจากคุณบี วิทยถาวรวงศ์ เล็งเห็นว่าบ้านเดี่ยวสองชั้นสองห้องนอนที่เรียบง่ายสำหรับสมาชิก 5 คน พร้อมที่จอดรถสองคัน เป็นที่ตั้งของครอบครัว วิทยถาวรวงศ์ ของเธอซึ่งต่อมาได้ย้ายออกไป เนื่องจากต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น บ้านหลังนี้จึงถูกรื้อถอนและปล่อยพื้นที่ว่างเปล่ากว่าสองทศวรรษ ด้วยความผูกพันกับบ้านหลังนี้ คุณบีจึงต้องการออกแบบบ้านและออฟฟิศเข้าไว้ด้วยกัน

การออกแบบบ้านที่ปล่อยพื้นว่างมากว่าสองทศวรรษ คุณบีจึงเลือกออกแบบบ้านสองชั้นหลังใหม่ แบบสามห้องนอนและมีออฟฟิศสถาปนิก Beautbureau โดยยึดโครงคล้ายบ้านไทยพื้นถิ่นดั้งเดิมและการออกแบบตกแต่งความสวยงามแบบร่วมสมัยเข้าไว้ด้วยกัน

เมื่อเดินเข้ามาภายใน “#11 II” จะพบกับทางเดินเท้าเข้าบ้านเป็นรูปตัวแอล (L) เหนือสนามหญ้าเก่ามีคอร์ทไม้ต้นมะม่วงขึ้นที่มุมตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่อาคารสองชั้น ที่ถูกต่อเติมเป็นที่ตั้งของออฟฟิศสถาปนิกของ Beautbureau ซึ่งอาคารของบ้านและออฟฟิศจะแยกออกจากกัน แต่เชื่อมต่อด้วยชานระเบียงกลางแจ้งสองระดับทำให้เกิดการจัดวางผังแบบ 9 Square Grid แบบคลาสสิก ในบทเรียนสถาปัตยกรรมที่มีทั้งห้องนั่งเล่น ชาน ระเบียง และสวน สลับจัดวางอยู่

ส่วนของห้องนอนและห้องทำงานชั้นบนมีเพดานสูงจัดไว้ในมุมที่แยกจากกัน ล้อมรอบด้วยอาคารไม้ระแนงสีดำ มีระเบียงเปิดโล่งเฉลียงทางเดินเชื่อมต่อศาลา ลักษณะคล้ายเรือนไทย ห้องนอนแต่ละหลัง ห้องนั่งเล่นและพื้นที่รับประทานอาหาร ห้องครัว จะอยู่พื้นที่รอบระเบียงเปิดโล่ง ที่ยกพื้นสูงขึ้น ชั้นล่างของออฟฟิศเป็นแบบมัลติฟังก์ชัน โดยมีช่องเปิดและแบ่งแยกบานเลื่อนที่กว้างขวางและพื้นที่ชั้นล่างเอนกประสงค์ใต้ชานของเรือนไทยพื้นถิ่นดั้งเดิมได้อย่างเหมาะสม

ด้าน facade ของบ้านหลังนี้ สัดส่วนของโครงสร้างมีการเลือกใช้วัสดุไม้สังเคราะห์ มาทำเป็นแผงแบบ prefab ประกอบเข้าด้วยกันที่หน้างาน มี reference มาจากแผ่นไม้ที่มีลวดลาย (ฟ้าประทาน) ประกอบเป็นผนังของเรือนไทยที่แพร่หลาย แต่ลวดลายก็มีลักษณะเป็นนามธรรม สีที่ไม่อิ่มตัวและความสวยงามที่ร่วมสมัยกับสีดำที่ห่อหุ้มทั้งผนังทึบและช่องว่างทำให้ชั้นบนทั้งหมดรวมกันเป็นหนึ่งเดียวและก่อตัวเป็นกลุ่มก้อน

ในทางกลับกันการยกระดับแบบบ้านร่วมสมัย มักจะถูกชดเชยด้วยวัสดุเก่าภายในไม่ว่าจะเป็นงานพื้น terrazzo ประตูและหน้าต่างเป็นไม้เทียมที่ฟาซาด โครงสร้างและผนังของบ้านเป็นปูนซีเมนต์ที่มีพื้นผิวหยาบ ด้วยเหตุนี้จึงเสริมให้ “#11 II” มีความธรรมชาติเหมือนบ้านเดิมมากกว่าบ้านที่ใหม่เอี่ยม เพื่อเก็บความทรงจำเก่า เมื่อครั้งยังเป็นเด็กของเจ้าของบ้าน

มีคำกล่าวเอาไว้ว่า “บ้าน” คือจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตและเป็นสถานที่ที่มีเรื่องราวของเราเกิดขึ้น และในขณะเดียวกัน “บ้าน” คือสถานที่ที่ทำให้รู้สึกเติบโตขึ้นเมื่อออกมาจากบ้าน แต่จะรู้สึกดียิ่งขึ้นเมื่อกลับไปยังที่แห่งนี้อีกครั้ง

 

Project info:

Name: #11 II

Location: Bangkok, Thailand

Architect: Beautbureau

Area: 550 sqm

Year: 2020

Structure, MEP & HVAC: Next Innovation Engineering

Interior Design: Beautbureau

Lighting: Atelier 10 Bangkok

Contractor: Siam PYC Engineering

Photography: Spaceshift Studio

 

Source

https://www.designboom.com/architecture/beautbureau-private-residence-and-office-bangkok-03-31-2021/

https://www.archdaily.com/957920/number-11-ii-house-and-office-beautbureau?ad_medium=office_landing&ad_name=article

#11 II – beautbureau

 

 

 

 

 

 

 

Previous articleพาเยี่ยมชม “ปอนเตเบดรา”
ต้นแบบเมืองปลอดรถยนต์ อุบัติเหตุเป็นศูนย์
Next articleGaia บ้านจิ๋วพลังงานสะอาด ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
จิตรกมล ขวัญแก้ว
สาวขี้อาย จบการศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ที่ชอบแสงแดดยามบ่าย ไอซ์ลาเต้ และเต็มเปี่ยมไปด้วยความสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม