ในปัจจุบันท่ามกลางปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของโลก ปัญหาด้านขยะก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญและการแก้ไขก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า มีเพียงร้อยละ 30 ของขยะมูลฝอยเท่านั้น ที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการซึ่งมีบางส่วนนำไปรีไซเคิล

วันนี้ BuilderNews จะพาไปรู้จักกับ “AuReus” แผงโซลาร์เซลล์จากเศษผักเหลือทิ้ง ซึ่งสามารถดูดรังสียูวีแปลงเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับโซลาร์เซลล์

โซลาร์เซลล์ คือการนำเอาโซลาร์เซลล์ จำนวนหลาย ๆ เซลล์ มาต่อวงจรรวมกันเป็นแผงขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น โดยไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานภายในบ้านส่วนใหญ่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ก่อนใช้งานจึงต้องนำมาแปลงไฟโดยต่อเข้ากับเครื่องแปลงไฟหรือที่เรียกว่า อินเวอร์เตอร์

ปัจจุบันแผงโซลาร์เซลล์ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากกระแสการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ไว้ใช้เอง เพราะนอกจากประหยัดค่าไฟฟ้ามากขึ้นกว่าเดิมแล้วยังถือได้ว่าเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

จากเศษผักไร้ค่าเหลือทิ้งสู่ AuReus

ปัจจุบันสถานการณ์ขยะจากเศษอาหารในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก มีข้อมูลจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO บ่งชี้ว่าในทุก ๆ ปี จะมีอาหารที่ถูกทิ้งหรืออาหารที่ถูกปล่อยให้เน่าเสียไปอย่างเปล่าประโยชน์ประมาณ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตขึ้น  โดยที่ในแต่ละปีมีการระบุตัวเลขด้วยว่ามีอาหารในกลุ่มนี้มากถึง 1,300 ล้านตัน ซึ่งเศษอาหารทำให้ประเมินว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากอาหารเหลือทิ้งในโลกนี้ อาจมีปริมาณเทียบได้เท่ากับ 3,300 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

Carvey Ehren Maigue ผู้คิดค้น AuReus

Carvey Ehren Maigue นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชาวฟิลิปปินส์ ได้ประดิษฐ์และคิดค้นแผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่จากเศษผักเหลือทิ้งซึ่งสามารถดูดรังสียูวีเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีชื่อว่า AuReus ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ James Dyson Awards สาขา Sustainability Award หรือการพัฒนาด้านความยั่งยืนของโลก

AuReus แสงเหนือที่ดูดรังสียูวีเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

AuReus มีชื่อมาจาก Aurora Borealis หรือ แสงเหนือ ซึ่งแสงเหนือมีอนุภาคเรืองแสงในชั้นบรรยากาศ ที่จะดูดซับอนุภาคพลังงานสูงเช่นรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีแกมมาก่อนที่จะสลายตัวและส่งกลับมาเป็นแสงที่มองเห็นได้

AuReus ก็เป็นเช่นเดียวกัน เพียงแต่ใช้อนุภาคเรืองแสงที่ได้จากพืชผลทางการเกษตรที่เหลือทิ้ง โดยการดึงอนุภาคเรืองแสงออกจากผักและผลไม้บางชนิด ผ่านกระบวนการบดสกัดน้ำผลไม้ก่อนจะนำมากรองกลั่นหรือแช่ จากนั้นนำมาผสมให้เข้ากันกับเรซิน เพื่อเทใส่ในแม่พิมพ์ขึ้นรูปลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสแผ่นใสมีหลากหลายสีสันจากสีของผักผลไม้ ซึ่งแผ่นใสมีความแข็งแรงทนทาน โปร่งแสง ทำให้สามารถเป็นทั้งวัสดุตกแต่งอาคาร และกรองรังสียูวี ที่จะเข้าตัวอาคารได้ในเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้แผงโซลาร์เซลล์จากเศษผัก สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้แม้พื้นที่นั้นจะมีแต่เมฆฝน เพราะแผงโซลาร์เซลล์ AuReus ดูดซับรังสี UV ที่สะท้อนออกมาจากตึก ถนน และกำแพงรอบข้าง เช่นรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีแกมมาแทน แสงแดดจากพระอาทิตย์

การทดสอบในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าแผงโซลาร์เซลล์จากเศษผัก สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 50 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด เมื่อเทียบกับแผงโซลาร์มาตรฐานทั่วไปผลิตออกมา ซึ่งแสงที่เข้ามาจะถูกจับและแปลงเป็นไฟฟ้าด้วยเซลล์โฟโตวอลเทอิก เช่นเดียวกับที่พบในแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไปที่สามารถจัดเก็บเป็นพลังงานหรือใช้ได้ทันทีด้วยความช่วยเหลือของแผงวงจรควบคุมไฟฟ้า

“AuReus” นับได้ว่าเป็นแผงโซลาร์เซลล์พลังงานสะอาด ที่จะถูกนำมาใช้ร่วมกับการออกแบบอาคารสูงมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะให้ความสวยงามแล้วยังเป็นส่วนช่วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลภาวะจำนวนมาก ออกมาทำลายชั้นบรรยากาศของโลกซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนในปัจจุบัน

Source

https://www.dezeen.com/2020/11/27/aureus-carvey-ehren-maigue-james-dyson-awards-sustainability/fbclid=IwAR38T1OQa0ovrry1uIQvXruC_vkMjx4tSRx9uU_HzMVcFwajGdYzDdCaO7

Previous article“Gongshu Intelligence Valley’s Eye”
ศูนย์นิทรรศการใจกลางหางโจว ที่โดดเด่น
ด้วยโครงสร้างอาคารแบบ T-Shaped Cantilever
Next articleโควิดพ่นพิษหนัก ! กระทบดัชนีเชื่อมั่นอสังหาฯ ต่ำกว่าค่ากลางติดต่อ 8 ไตรมาส
จิตรกมล ขวัญแก้ว
สาวขี้อาย จบการศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ที่ชอบแสงแดดยามบ่าย ไอซ์ลาเต้ และเต็มเปี่ยมไปด้วยความสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม