เคยไหม นั่งดื่มน้ำทานข้าวอยู่ในร้านใหญ่กับเพื่อนฝูง กำลังจะเริ่มคุยกัน แต่เสียงที่เปล่งออกมาจากปากคู่สนทนาของคุณกลับเบาบางจนจับใจความไม่ได้ จมไปกับคลื่นเสียงก้องเสียงสะท้อนจากคนปากคนอื่น จากจานชามที่กระทบกัน หรือจากเสียงดนตรีที่ดังเหมือนอยู่ในคอนเสิร์ต หรือเคยไหม ทำงานเหนื่อย ๆ มาทั้งวันกำลังจะเข้านอน แต่หมาข้างบ้านดันเริ่มต้นเห่า แล้วหมาตัวอื่นก็ดันพากันเห่าตามไม่หยุด

เมื่อนึกถึงงานสถาปัตยกรรม แน่นอนรูปร่างหน้าตาหรือ “ฟอร์ม” ของสถาปัตยกรรมย่อมเป็นสิ่งแรก ๆ ที่คนนึกถึง แต่การสัมผัสสถาปัตยกรรมหรือการรับรู้ถึงพื้นที่ใดของมนุษย์ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประสาทสัมผัสทางสายตาเท่านั้น หากเพียงหลับตาตั้งใจฟังจริง ๆ หลายคนก็สามารถบอกได้ว่าห้องมีขนาดเล็กหรือใหญ่เพียงใดด้วยการแค่ฟังระดับการสะท้อนของเสียง

เช่นนั้น การออกแบบเสียงในทางสถาปัตยกรรมจึงสำคัญไม่แพ้การออกแบบรูปทรงหรือองค์ประกอบอื่น ๆ เลย BuilderNews อยากชวนคุณมาใส่ใจเรื่องเสียงอีกนิด กับผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดี คำนึงถึงทั้งความงามและความเงียบ

เคล็ดลับคือพื้นผิวที่ขรุขระ

ในภาพยนตร์ “Suckseed ห่วยขั้นเทพ” แผงลังไข่ถูกติดอยู่ทั่วผนังห้องซ้อมดนตรีเพื่อซับ/กันเสียง ความเข้าใจนี้อาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ข้อมูลจาก ZEN ACOUSTIC ระบุว่าแม้จะสามารถซับเสียงย่านความถี่กลางที่ 500 Hx ขึ้นไปได้(ในระดับที่ก็ไม่ได้ดีมาก) แต่แผงลังไข่ไม่สามารถกันเสียงได้ โดยสามารถซับเสียงได้เพียง 40-60% เท่านั้นเมื่อเทียบกับแผ่นซับเสียง Zandera ของ SCG

ฉากจากภาพยนตร์ ‘Suckseed ห่วยขั้นเทพ’

ความจริงหากต้องการวัสดุที่ซับและกันเพื่อลดความดังและลดการก้องสะท้อนของเสียง คุณสมบัติของวัสดุที่ต้องมองหาคือพื้นผิวที่ขรุขระ สำหรับการดูดซับเสียง (ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่หลายคนนึกถึงลังไข่) และความ “นุ่มและเบา” เพื่อลดเสียงก้อง เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่บุโฟม ผ้านวม พรม ผ้าม่าน หรือวัสดุที่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้โดยเฉพาะอย่างแผ่นดูดซับเสียง เช่นแผ่นดูดซับเสียง Cylence Zandera ที่นอกจากจะผลิตจากแผ่นกลาสวูลแล้ว ยังหุ้มด้วยผ้าสีสันสวยงามจาก PASAYA ผู้ผลิตสิ่งทอคุณภาพของไทยอีกด้วย

หน้าต่างเพื่อการป้องกันมลพิษทางเสียงจากภายนอก

ไม่ว่าจะเป็นเสียงตอก เสียงทุบ เสียงเจาะ ในการก่อสร้าง เสียงหมา เสียงแมว ยามค่ำคืน หรือเสียงเครื่องยนต์สุดแรงของนักซิ่ง ไม่ว่าใครก็คงไม่พอใจนัก แม้คุณจะสามารถควบคุมเสียงรบกวนภายในบ้านได้อย่างสมบูรณ์ถูกใจเพียงใด แต่ปัจจัยภายนอกไม่ใช่สิ่งที่คุณจะจัดการได้ง่าย ๆ ทางออกสำหรับปัญหานี้คือการติดตั้งหน้าต่างที่มีคุณสมบัติการกันเสียงที่ห้องนอน ห้องทำงาน หรือห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน เช่นหน้าต่างจาก YKK AP ที่ป้องกันเสียงได้ระดับ Grade T-1 (-25 เดซิเบล) (JIS), RW 24-30(ISO) ด้วยกระจกสองชั้นพร้อมทั้งยางรอบบานวงกบและรอยต่อต่าง ๆ อย่างมิดชิด

หลังคาซับร้อน ก็ต้องซับเสียง

อีกหนึ่งองค์ประกอบของอาคารที่สัมผัสพื้นที่ภายนอกโดยตรง เมื่อนึกถึงหลังคา หลายท่านอาจนึกถึงคุณสมบัติการกันความร้อนก่อน เช่นด้วยการเคลือบหลายชั้นเพื่อป้องกัน UV ซึ่งชั้นเหล่านี้นี่เองที่สามารถช่วยซับเสียงได้ด้วย เช่น VG iR-uPVC Roof Sheet: Triple Layers ที่เคลือบป้องกัน UV ในชั้น Top Layer มีชั้นโครงสร้าง Inner Layer ที่เน้นความแข็งแรงและยังช่วยซับเสียง รวมทั้งทำหน้าที่เป็นฉนวนระบายความร้อน และชั้น Bottom Layer ที่เรียบ สวย เป็นฝ้าในตัว และยังเคลือบพิเศษด้วยสี Dupont ป้องกัน UV และความร้อนใต้ชายคา

Sources

Previous articleเตรียมทุบอีกแล้ว! “ตรังรามา” โรงหนังอาร์ตเดโคกว่า 50 ปี
Next article‘เหล็กชุบกัลวาไนซ์’ เคล็ดลับของโครงสร้างที่แกร่งยิ่งกว่าแกร่ง!