เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมสวยงามเก่าแก่ทั้งหลายในทวีปยุโรป สิ่งแรก ๆ ที่คุณนึกถึงคงไม่ใช่ที่ “จ้องตา” ดูเหมือนกำลังวางแผนฆ่าคุณอยู่ เหล่านี้หรอกใช่ไหม?
@mattcarter153 Why am I low key beefing with the buildings in Romania #romania #travel
♬ Spooky, quiet, scary atmosphere piano songs – Skittlegirl Sound
“ดวงตา” ที่อยู่บนหลังคาของอาคารมากมายในเมืองซีบีอู (Sibiu) ประเทศโรมาเนียเหล่านี้ เป็นที่มาของชื่อเล่นของเมืองว่า “Seebiu” รูปร่างของมันชวนให้ใครต่อใครนึกถึงดวงตาทีกำลังจับจ้องผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณนั้น แต่แท้จริงแล้วอาคารเหล่านี้กำลังควบคุมสอดส่องวินัยเราแบบเดียวกับการ(สร้างความรู้สึกเหมือนถูก)จ้องของดีไซน์คุก panopticon ที่โด่งดัง แบบเดียวกับกล้องวงจรปิดและเทคโนโลยีล้ำสมัยต่าง ๆ ที่ผู้มีอำนาจทั้งหลายใช้เก็บข้อมูลกิจกรรมและพฤติกรรมของเราหรือไม่ หรือเป็นเพียงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ตอบสนองความต้องการใช้งานเฉพาะถิ่นเท่านั้น คำตอบอาจไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว
“ดวงตาแห่งซีบีอู” (Eyes of Sibiu) คือหน้าต่างหลังคา (dormer) ทรงสี่เหลี่ยมคางหมูที่พบได้มากในเมืองซีบีอู แม้จะเป็นเมืองที่สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 แต่อาคารที่มีดวงตาเหล่านี้ส่วนมากถูกสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งอาจเป็นที่มาของบรรยากาศแบบยุคกลาง (Medieval) และแบบบาโรก (Baroque) ที่วนเวียนอยู่ในเมือง แต่ดวงตาเหล่านี้อาจไม่ได้มีประวัติที่น่ากลัวอย่างการสร้างเพื่อข่มขวัญคนด้วยความรู้สึกถูกจ้องมอง เป็นเพียงระบบการระบายอากาศที่บริเวณใต้หลังคาเท่านั้น
แต่ใครกันมีอำนาจกำหนดความหมายของหน้าต่างหลังคาเหล่านี้ ในปี 2017 เมื่อโรมาเนียมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน หน้าต่างเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์องค์กรที่มาพร้อมคำขวัญ “เราเห็นคุณจากซีบีอู” (Vă vedem din Sibiu – We see you from Sibiu)
Every day at noon, for more than 500 days, #Sibiu locals have staged a silent protest against corruption outside the HQ of ruling Socialist party. The logo of the group “we are watching from Sibiu” is based on trad rooftop windows in the city. pic.twitter.com/tscao05EMQ
— Jennifer Rankin (@JenniferMerode) May 10, 2019
คลิป Tiktok ข้างต้นที่บรรยายความรู้สึกว่าเหมือนกำลังถูกจ้องโดยดวงตาที่กำลังวางแผนฆาตกรรมแสดงให้เห็นถึงการรับรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของผู้คนที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับฟังก์ชันการใช้งานที่ออกแบบมาแต่เดิมได้เป็นอย่างดี และเมื่อการรับรู้ของผู้คนไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามฟังก์ชันเสมอไป ความรู้ด้านระบบสื่อสารความหมายอย่างสัญวิทยาจึงอาจสำคัญไม่น้อยไปกว่าความรู้อื่น ๆ ในการออกแบบเลย
Sources