ด้วยประวัติที่เก่าแก่สามารถย้อนได้ถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ‘วัดอรุณราชวรารามฯ’ หรือ ‘วัดแจ้ง’ ผ่านการปฏิสังขรณ์มาหลายยุคหลายสมัย

ตั้งแต่การปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและพระวิหารในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่วัดอยู่ในเขตพระราชวัง

การปฏิสังขรณ์กุฏิสงฆ์เพื่อให้พระสงฆ์จำพรรษาได้หลังมีการรื้อกำแพงที่ทำให้วัดอยู่ในเขตวังในสมัยรัชกาลที่ 1

การสร้างอุโบสถและพระวิหารต่อในสมัยรัชกาลที่ 2

การสร้างตึกกุฏิ สร้างมณฑปพระพุทธบาทและสร้างเสริมพระปรางค์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3

การสร้างบุษบกยอดปรางค์และการประดับกระเบื้องลายดอกไม้จากจีนในสมัยรัชกาลที่ 4

การปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่หลังอัคคีภัยในสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิสังขรณ์ปลีกย่อยในสมัยรัชกาลที่ 6

การรับมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7

การทำถนนทำเขื่อนในสมัยรัชกาลที่ 8

การปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุ รวมทั้งการก่อสร้างต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 9

และล่าสุดในปี 2565 ได้มีการปฏิสังขรณ์อีกครั้งที่ฐานพระปรางค์ รั้วรอบฐานพระปรางค์ พระวิหารน้อย โบสถ์น้อย ศาลาเก๋งจีนโบราณ และหอไตร ในโครงการ Beger Be Happy สีเบเยอร์สีแห่งความสุข ปีที่ 8 ซึ่งเบเยอร์ได้รับโอกาสและความไว้วางใจจากกรมศิลปากร ให้เป็นผลิตภัณฑ์สีคุณภาพสูงที่ใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถานงานศิลป์แห่งนี้ที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยประเภทของสีที่ใช้ มีทั้งสีรองพื้น สีทาภายนอก สีน้ำมัน และสีทองคำ ซึ่งล้วนใช้ปริมาณน้อยแต่ทาพื้นที่ได้มาก

 

 

 

 

Sources
อนัสพงษ์ ไกรเกรียงศรี. การศึกษาสถาปัตยกรรมวัดอรุณราชวราราม. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/2727

Previous articleถึงเวลาหรือยัง? กับการนำ “สายไฟต่าง ๆ” ลงดิน
Next articleสำรวจ KOJA บ้านต้นไม้ที่ดีไซน์ด้วยแนวคิดที่ยั่งยืนและเคารพธรรมชาติ ที่ฟินแลนด์