โลกที่ไม่หยุดหมุนเดินทางคู่กันมากับเทคโนโลยีและการออกแบบที่ก่อร่างจากความคิดสร้างสรรค์อันไม่มีจุดสิ้นสุดของมนุษย์ การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดทำให้มนุษย์ละเลยสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของโลก จนเกิดปฏิกิริยาสะท้อนกลับออกมาในรูปแบบของสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่กระทบไปถึงอนาคต ซึ่งมนุษย์ต้องหาทางรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับมัน


“วงการก่อสร้าง” ตัวละครหลักผู้ผลักดันกระแสความยั่งยืน

เมื่อโลกส่งปฏิกิริยาสะท้อนกลับมาเป็นสภาวะโลกร้อน เป็นเหตุให้วงการก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ (Built Environment) ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จากการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 40% ต่อปี (อ้างอิงข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) ในปี 2020) ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น

ภาพจาก Architecture 2030

สถาปนิกและนักออกแบบมีโอกาสสร้างสรรค์ไอเดียเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับการให้ความสำคัญกับกระแสความยั่งยืน (Sustainability) ที่เน้นการพัฒนาเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของประชากรในอนาคต


Natural Resources · Materials
· Spaces: สูตรสำเร็จแห่งความยั่งยืน

การออกแบบที่ตอบโจทย์สำหรับอนาคตได้หันเหไปที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญในประเด็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรพื้นที่ และพิมพ์เขียวสิ่งแวดล้อม (Environmental Footprint) ที่พูดถึงการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงกระบวนการออกแบบ ผลิต และการบริโภคที่ต้องใส่ใจในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก อย่างไรก็ดี โลกแห่งความยั่งยืนจะคงอยู่ได้ก็ต้องคงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งเกี่ยวโยงถึงกันในทุก ๆ ความเคลื่อนไหว

สร้างสมดุลแห่งความยั่งยืนด้วยการรวมตัวของทุกวัตถุดิบ
ในตำถาดที่งานสถาปนิก’66

ในโลกที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างล้ำหน้า บางครั้งก็สร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับประชากรโลกถ้าหากมนุษย์มีพื้นฐานทางความคิดที่แข็งแกร่ง เช่นเดียวกันกับงานสถาปนิก’66 ที่จะกลายเป็นแหล่งรวบรวมนวัตกรรม ความรู้ และงานออกแบบจากนักสร้างสรรค์ทุกสาขา พร้อมกับการเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ พูดคุย แบ่งปัน และเข้าใจเรื่องความยั่งยืนที่ทุกคนก็สามารถร่วมกันสร้างได้เพียงแค่รับฟัง สื่อสาร แลกเปลี่ยน และทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน

ภาพจากงานแถลงข่าวการจัดงานสถาปนิก’66 ภายใต้แนวคิด “ตําถาด : Time of Togetherness” ที่จัดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

งานสถาปนิก’66 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 30 เมษายน 2566 ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับผู้สนใจจองพื้นที่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://architectexpo.com/2023/en/about-the-expo/#space-reservation หรือ โทร. 02-717-2477 อีเมล [email protected]

Source

Medium
Rethinking The Future
Architecture 2030

Previous article“สถาปนิก’66 (Architect Expo 2023)” เปิดให้ลงทะเบียนเข้าชมงานแล้ว วันนี้!
Next articleAbout Home กับการสร้างสรรค์ศิลปะผ่านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่งานสถาปนิก’66