โรงงานไหนอยากติด ฉนวนใยแก้ว เพื่อแก้ปัญหาความร้อนด้วยฉนวนใยแก้ว ฉนวนกันความร้อน ติดที่ไหนช่วยแก้ปัญหาความร้อนได้ ระหว่าง ติดฉนวนใยแก้วใต้หลังคา หรือ ฝ้าเพดาน ใครที่สนใจอยากติดฉนวนใยแก้ว แต่ไม่รู้ว่าติดที่ไหนดี ไม่รู้ว่าเลือกฉนวนใยแก้วแบบไหนถึงจะเหมาะกับบ้าน ซื้อฉนวนใยแก้วที่ไหนดี บทความนี้มีคำตอบ
Table of Contents
เริ่มต้นจาก ฉนวนใยแก้ว (Glass Wool) ใช้ทำอะไร
ฉนวนใยแก้ว คือ ผลิตมาจากแก้ว และทราย โดยใช้อุณหภูมิสูงในการหลอมละลายและปั่นให้เป็นเส้นใยขนาดเล็กจากนั้นผสานให้เป็นเนื้อใยแก้วด้วยกาวชนิดพิเศษ แล้วนำมาขึ้นเป็นรูป มีรูปทรงหลายแบบทั้งแผ่นและท่อ มีความหนาหลายขนาดให้เลือกใช้ และมีค่าการนำความร้อนต่ำ ทำให้ติดไฟยาก นิยมใช้เพื่อกันความร้อนและดูดซับเสียง
คุณสมบัติของฉนวนใยแก้ว
- ไม่ติดไฟหรือลามไฟ ฉนวนใยแก้วสร้างจากวัสดุที่ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟ จึงช่วยป้องกันการเกิดเหตุอัคคีภัยได้เป็นอย่างดี
- ทนทานต่อแรงกด ฉนวนใยแก้วนั้นได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อการใช้งานหลากหลายรูปแบบ จึงมีความยืดหยุ่นสูง หากมีแรงกดกระทบลงมาก็สามารถคืนตัวได้ดี
- ช่วยดูดซับเสียง ด้วยวัสดุของฉนวนใยแก้วที่สร้างจากเนื้อแก้วที่ปั่นเป็นเส้นใยทำให้มีการดูดซับเสียงได้ดี ทั้งยังขัดขวางการเดินทางของเสียงทำให้เสียงภายในท่อหรือภายนอกอาคาร
- ช่วยกันความร้อน นับเป็นคุณสมบัติหลักของฉนวนใยแก้วที่สามารถกันความร้อนและป้องกันการสูญเสียพลังงานร้อน ด้วยการมีค่าการนำความร้อนต่ำและยังสามารถต้านทานความร้อนได้ดี จึงช่วยประหยัดพลังงานได้ด้วย
- มีอายุการใช้งานที่นาน ด้วยวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่ไม่เสื่อมสภาพ รวมถึงยังไม่เป็นอาหารของแมลงไปจนถึงเชื้อรา ซึ่งทำให้อายุการใช้งานนานกว่าทั่วไป
- ปลอดภัยต่อสุขภาพ ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO โดยได้รับการการันตีว่าไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ทำให้สามารถใช้งานฉนวนใยแก้วได้อย่างสบายใจ
ค่าความต้านทานความร้อนของฉนวนใยแก้ว
สำหรับบ้านไหนที่เน้นการติดตั้งฉนวนใยแก้ว เพื่อป้องกันความร้อนโดยเฉพาะ สิ่งหนึ่งที่ควรศึกษาคือ ค่าการกันความร้อน หรือ ค่า R ในการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน จึงควรดูค่า R เป็นหลัก โดยวัสดุแต่ละชนิดจะมีค่า R แตกต่างกัน ทั้งนี้ ค่า R จะสัมพันธ์กับความหนาของฉนวน โดยฉนวนยิ่งหนา ค่า R จะยิ่งสูง
ประเภทของฉนวนใยแก้ว
ประเภทของฉนวนกันใยแก้วมีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท คือ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น กับ ฉนวนใยแก้วแบบม้วน แบ่งตามลักษณะของฉนวน โดยทั้ง 2 ประเภทมีรายละเอียดดังนี้
ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น
ลักษณะของฉนวนใยแก้วจะเป็นแผ่นหนาหุ้มด้วยแผ่นฟอยล์ ซึ่งภายในประกอบไปด้วยใยแก้วเส้นเล็กที่ประสานตัวเกิดเป็นช่องโพรงอากาศซึ่งทำหน้าที่เก็บความร้อนไว้ภายในนั่นเอง ทั้งยังช่วยดูดซับเสียง ไม่ลุกติดไฟ ติดตั้งง่าย อย่างปูบนฝ้าเพดาน เป็นต้น
ฉนวนใยแก้วแบบม้วน
ฉนวนใยแก้วแบบม้วน สามารถติดตั้ง ได้ทั้งในโครงผนังเบา หลังคา ฝ้าเพดาน ติดบนแป หรือติดใต้จันทัน มีความหนาแน่นสม่ำเสมอ ยืดหยุ่นและคืนตัวได้ดี ปิดผิวหน้าด้วยแผ่นป้องกันความชื้นอลูมิเนียม มีความหนาและค่ากันความร้อนแตกต่างกัน ขนาดความยาวต่อม้วน ทำให้ราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่ความยาวและความหนา
ตำแหน่งติดตั้งฉนวนใยแก้วที่ไหน ใต้หลังคา หรือ เพดาน
ตำแหน่งของฉนวนใยแก้ว ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ โดยส่วนใหญ่ตำแหน่งที่ติดตั้งฉนวนใยแก้ว เพื่อป้องกันความร้อนเป็นหลัก และมักจะนิยมติดกันบริเวณบนฝ้าเพดาน กับใต้แผ่นหลังคากันเป็นส่วนใหญ่ แต่แบบไหนละที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันความร้อน
1.ติดตั้งบนฝ้า
สำหรับฉนวนแบบม้วนวางบนฝ้าเพดาน คือ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น โดยจะช่วยป้องกันความร้อน จะมีความหนาและหุ้มด้วยวัสดุกันความชื้นอย่างแผ่นฟอยล์ ช่วยหน่วงความร้อนไม่ให้สะสมในส่วนใต้หลังคา แต่ต้องมีช่องระบายความร้อนออกตรงฝ้าชายคาของโครงสร้างโรงงานด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมใต้หลังคามากเกินไป
ข้อดีและข้อเสียของการติดตั้งบนฝ้า
- ข้อดี: ติดตั้งได้ทันที ไม่ต้องติดตั้งตั้งแต่การสร้างหลังคาของตัวโรงงาน
- ข้อเสีย: ถ้าโรงงานไม่มีช่องระบายความร้อนบริเวณชายคา จะเกิดความร้อนสะสมใต้หลังคามากเกินไป
2.ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา
สำหรับการเลือกติดตั้งใต้แผ่นหลังคาที่เหมาะสม คือ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น ฉนวนใยแก้วแบบม้วน และ ฉนวนชนิดฉีดพ่น พอลิยูรีเทนโฟมและเยื่อกระดาษ ทำหน้าที่หน่วงความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา ฉนวนแบบนี้ต้องติดตั้งไปพร้อมๆ กับสร้างหลังคาตั้งแต่สร้างโรงงาน ในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยม แต่ทว่า การติดตั้งใต้แผ่นหลังคา ก็สามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด
ข้อดีและข้อเสียของการติดตั้งใต้แผ่นหลังคา
- ข้อดี: กันความร้อนได้ดีที่สุด ด้วย ฉนวนใยแก้ว และ พอลิยูรีเทนโฟมและเยื่อกระดาษ ทำหน้าที่หน่วงความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา
- ข้อเสีย: ต้องติดตั้งตั้งแต่ตอนสร้างหลังคา ทำให้การติดตั้งลำบากกว่าการติดตั้งฉนวนใยแก้วแบบบนฝ้า
ติดตั้งบนฝ้า VS ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา
- ราคา: การติดตั้งฉนวนใยแก้วบนฝ้าชนะ เพราะใช้ฉนวนใยแก้วเพียงชนิดเดียว ก็ช่วยหน่วงความร้อนไม่ให้สะสมได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรที่จะเพิ่มช่องระบายอากาศเพื่อระบายความร้อนด้วย
- ประสิทธิภาพ: การติดตั้งฉนวนใยแก้วใต้แผ่นหลังคาชนะ เพราะ สามารถกันความร้อนได้ดีที่สุด โดยใช้ฉนวนชนิดพ่นพอลิยูรีเทนโฟม และเยื่อกระดาษเข้าไป ก็จะช่วยทำให้ลดความร้อนที่สะสมหลังคาได้ ทำให้ตัวของโรงงานไม่ร้อนจนไม่สามารถทำงานได้
แนะนำฉนวนใยแก้วที่ใช้งานสำหรับโรงงาน
ฉนวนใยแก้วไมโครไฟเบอร์ รุ่น FL ปะฟอยล์ 1 ด้านไม่ลามไฟ รุ่น รูปแบบ ขนาด ความหนา ความหนาแน่น ราคา FL2425 ม้วน 1.22 เมตร x 30.50 เมตร 25 มิลลิเมตร 24 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 2,200 บาท FL2450 ม้วน 1.22 เมตร x 15.25 เมตร 50 มิลลิเมตร 24 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 2,300 บาท ฉนวนใยแก้วตราช้าง กันความร้อน รุ่น FRK ปะฟอยล์ 1 ด้านไม่ลามไฟ รุ่น รูปแบบ ขนาด ความหนา ความหนาแน่น ราคา FRK2425 ม้วน 1.22 เมตร x 30.50 เมตร 25 มิลลิเมตร 24 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 1,950 บาท FRK2450 ม้วน 1.22 เมตร x 15.25 เมตร 50 มิลลิเมตร 24 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 2,020 บาท 3 วิธีลดความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม
1.สร้างลมเย็นและอากาศบริสุทธ์
ปรับอากาศที่ร้อนอบอ้าวด้วย การสร้างลมเย็น ด้วยพัดลมระบบอีแว๊ป (EVAP) ซึ่งทำงานด้วยกระบวนการระเหยของน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงงาน โดยพัดลมระบบอีแว๊ป ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้แอร์ไปถึง 90% ทำให้อากาศเย็นในโรงงาน
2.ส่งและกระจายลมเย็นไปตามจุดที่ต้องการ
ติดตั้งระบบท่อส่งลม โดยวิเคราะห์ว่าจุดไหนที่จำเป็นต้องการความเย็น Spot Cooling โดยใช้ท่อลม หุ้มฉนวน ให้จ่ายลมเย็นไปสู่พนักงงาน นอกจากใช้ท่อลมแล้ว การติดตั้งฉนวนใยแก้ว รวมถึงการใช้พัดลมโรงงาน ก็สามารถช่วยลดอุณหภูมิได้เช่นเดียวกัน
3.การระบายความร้อนในโรงงาน
ความร้อนจากหลังคาเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ การระบายความร้อนในโรงงานเป็นไปได้ยาก ฉะนั้น จึงควรติดตั้งฉนวนใยแก้ว โดยเลือกว่าควรติดตั้งบนฝ้าหลังคา หรือติดตั้งใต้แผ่นหลังคา เพื่อช่วยดึงความร้อนจากอยู่ที่แผ่นฉนวนใยแก้ว
นอกจากการติดตั้งฉนวนใยแก้วแล้ว สิ่งสำคัญคือการระบายความร้อน โดยสามารถทำได้ผ่านการติดตั้งพัดลมระบายอากาศ เพื่อช่วยขจัดความร้อน และสิ่งสกปรก จากโรงงานได้
อยากซื้อฉนวนใยแก้วคุณภาพดี ราคาไม่แพง ต้องที่UDWASSADU
สำหรับใครที่กำลังมองหา ฉนวนใยแก้ว มาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงจากเพื่อนบ้าน หรืออยากดูดซับเสียงภายในบ้านไม่ให้ออกไปนอกบ้าน รวมถึงสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว สามารถเข้ามาดูได้ที่ UDWASSADU.COM ร้านวัสดุก่อสร้าง มีสินค้ามากมาย นอกเหนือจาก ฉนวนใยแก้ว มีทั้งกริลแอร์ หน้ากากแอร์ ท่อ ppr ใครที่ต้องการคำปรึกษาสามารถคุย ได้ที่ Line ID : @udirons หรือ โทร : 084-326-6454 มีสต็อค พร้อมส่งทั่วประเทศ
สรุป
การติด ฉนวนใยแก้ว ช่วยแก้ไขปัญหาความร้อนให้กับตัวโรงงานได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ควรศึกษาองค์ประกอบอื่นด้วย อาทิ ตำแหน่งที่ติดช่องระบายอากาศหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ความร้อนสามารถแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมได้ เช่น พัดลมระบายอากาศ เพื่อระบายอากาศที่ร้อนออก และเพิ่มความเย็นเข้าสู่โรงงาน
สุดท้ายนี้ ฉนวนกันความร้อน ถือเป็นหนึ่งในคำตอบที่ช่วยแก้ปัญหาอากาศที่ร้อนในโรงงาน หรือภายในอาคาร โดยการใช้ ฉนวนกันความร้อน จะเป็นตัวป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องความร้อนแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย