หลังจากที่โรงหนังสถานที่บ่มเพาะความทรงจำในช่วงวัยหนุ่มสาวของนักอ่านหลาย ๆ ท่านอย่าง ‘สกาล่า’ เพิ่งถูกทุบกะเทาะร่องรอยวันเวลาในวันวานเพื่อผันเปลี่ยนไปตามแรงอำนาจของทุนนิยม ก็ถึงคราวของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เกาะกุมสถาปัตยกรรมแบบแต้จิ๋วตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครที่นิสิตจุฬาฯ เรียกกันอย่างคุ้นหูว่า ‘ศาลเจ้าแม่ทับทิม’ สิ่งก่อสร้างที่อยู่บนโฉนดที่ดินของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ ทว่ากลับคาบเกี่ยวกับความศรัทธาของชาวบ้านในละแวกซึ่งกำลังเกิดข้อพิพาท

หากไล่ตามไทม์ไลน์การฟ้องร้องและข้อพิพาทเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 เหตุเกิดจากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่หมอน 33 เขตพาณิชย์สวนหลวง-สามย่าน ซึ่งรวมไปถึงศาลเจ้าแม่ทับทิมที่จะถูกรื้อถอนเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอาคารพาณิชย์และที่พักอาศัย และวางแผนการสร้างศาลแห่งใหม่ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ เมื่อเป็นเช่นนั้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงส่งหนังสือแจ้งผู้ดูแลศาลให้ย้ายออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ทว่าภายหลังได้เกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ดูแลศาลไม่ได้ย้ายออกจากพื้นที่ตามกำหนด

#saveศาลเจ้าแม่ทับทิม แฮชแท็กบนโลกออนไลน์ที่เป็นกระแสอยู่ช่วงหนึ่ง แสดงถึงการต่อสู้ ยืนหยัดเพื่อพื้นที่แห่งความทรงที่เจือปนไปด้วยสถาปัตยกรรม ความเชื่อ และวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนที่สืบสานมาตั้งแต่อดีต ในขณะเดียวกัน พื้นที่แห่งนี้กำลังจะถูกแทนที่ด้วยห้วงเวลาที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าแล้วขนานไปกับทุนนิยมที่กำลังกลืนกินร่องรอยทางประวัติศาสตร์ทีละเล็กทีละน้อย

ภาพจาก Young Film TH

ภายใต้แรงกดดันของความเปลี่ยนแปลงที่มีทุนนิยมหลบซ่อนอยู่เบื้องหลัง การต่อสู้ของคนตัวเล็กตัวน้อยที่กำลังถูกเบียดเสียดจากการพัฒนา การขับเคลื่อนเพื่ออนาคตซึ่งกำลังบดบังพื้นที่แห่งแรงศรัทธา ความเชื่อ และวัฒนธรรม ศาลเจ้าแม่ทับทิมจะถูกรื้อถอนหรือไม่ ไม่มีใครสามารถล่วงรู้จุดหมายปลายทางได้ หวังเพียงศาลเจ้าแม่ทับทิมจะยังคงกลิ่นอายของความทรงจำในอดีตดังเดิม

 

Sources

The Momentum
The Active
Sarakadee Lite

Previous article“แอชตัน อโศก” ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินการหาทางแก้ไขปัญหา
Next articleDoing Good Rather Than Merely Less Bad: การออกแบบเชิงฟื้นฟูในวิถีของ Regenerative Design