สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศปิดซอยจุฬาฯ 5 เพื่อก่อสร้าง อุทยานและถนนจุฬาฯ 100 ปี ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุยายน 2559 เป็นต้นไป คาดแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2560 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีจุฬาฯ

 

จุฬาฯ ผุดโครงการยักษ์ “อุทยานและถนนจุฬาฯ100 ปี” บนพื้นที่ 30+21 ไร่ บริเวณจุฬาฯซอย 9 จรดถนนบรรทัดทอง ภายใต้แนวคิด “สืบสานความสง่างาม สอดประสานองค์ความรู้ สรรสร้างสู่ความยั่งยืน” เพื่อให้เป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้ขนาดใหญ่ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างนิสิตกับชุมชน คนกับธรรมชาติ เชื่อมต่อแนวแกนสีเขียว ตามแผนแม่บทของมหาวิทยาลัย

ภายในอุทยาน มีการปลูกพืชพรรณพื้นถิ่นหลากหลายชนิด ด้วยแนวคิด “ป่าในเมือง” มีอาคารอเนกประสงค์ สำหรับจัดนิทรรศการและกิจกรรม พร้อมพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยห้องเรียนรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ชุมน้ำประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศ และนันทนาการ จัดสร้างสวนซึมน้ำ และพื้นที่แก้มลิง บริเวณทางเข้าอุทยาน นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนจุฬาฯซอย 5 ตลอดแนว ตั้งแต่ถนนพระราม 4 จรดถนนพระราม 1 ให้เป็นถนนสีเขียว พร้อมปรับความกว้างถนน 30 เมตร รวมพื้นที่ถนนดังกล่าวอีก 21 ไร่ อย่างไรก็ดี คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ในเดือนมีนาคม 2560 เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีจุฬาฯ

29862 อุทยานและถนนจุฬาฯ 100 ปี

โครงการอุทยานจุฬาฯ 100 ปี และถนนจุฬาฯ 100 ปี

ที่ตั้ง: บริเวณสวนหลวง-สามย่าน
ขนาด: สวนสาธารณะ ประมาณ 28 ไร่ เขตทางสาธารณะ 30 เมตร เชื่อมระหว่างถนนพระราม 1 – พระราม 4

วัตถุประสงค์:
เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “เกื้อกูล” อันเป็นแนวทางการพัฒนาที่ดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อสังคมส่วนรวม

แนวคิด:
การจัดการพื้นที่สีเขียว ซึ่งกำหนดให้เป็น “ที่โล่งว่าง” ต่อเนื่องกับแนวแดนหลักสีเขียว (แกนตะวันตก-ตะวันออก) ในเขตการศึกษา และเชื่อมถนนพระราม 1 – พระราม 4 ผ่านทางเขตทาง จุฬาฯ 100 ปี สร้างความต่อเนื่องของกิจกรรมการใช้ประโยชน์ พื้นที่มหาวิทยาลัยกับชุมชน

การดำเนินงาน:
การประกวดแนวคิดการออกแบบ ช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 การพัฒนาแบบรายละเอียด และจัดทำแบบก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในปี พ.ศ. 2560

ส่วนประกอบโครงการ:
1. อุทยานจุฬา 100 ปี ขนาด 28 ไร่ สวนสาธารณะระดับ Community Park
2. ถนนจุฬา 100 ปี (ซอยจุฬาลงกรณ์ 5) เชื่อมถนนพระราม 1 – พระราม 4 เขตทางกว้าง 30 เมตร ยาว 1.35 กิโลเมตร ประกอบด้วย:
– ทางเดินเท้า ทางจักรยาน ทางรถยนต์
– แนวปลูกต้นไม้ พื้นที่รับน้ำ (Rain Garden)
3. อาคารอเนกประสงค์ สำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรม พื้นที่ประมาณ 9,000 ตารางเมตร อาคารจอดรถ 200 คัน

แนวคิดหลักในการออกแบบ อุทยานจุฬาฯ 100 ปี

– ตามรอยพระราชปณิธาณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ และคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนรวม
– การเป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ระหว่างนิสิตกับชุมชน คนกับธรรมชาติ
– มีความยืดหยุ่นสูง ต่อการใช้งานของกลุ่มคนขนาดต่าง ๆ
– เชื่อมต่อแนวแกนสีเขียว ตามผังแม่บทของมหาวิทยาลัย จากเขตการศึกษา ขยายสู่ฝั่งตะวันตก
– ใช้พืชพรรณพื้นถิ่น ปลูกแบบธรรมชาติ ในแนวคิด “ป่าในเมือง” (Urban Forestry)
– ต้นแบบสวนสาธารณะ ในฐานะพื้นที่หน่วงน้ำของเมือง เพื่อพื้นที่น้ำซึมดิน

แนวคิดการออกแบบที่ว่าง และรูปทรง

– การเติบโตของกิ่งรากจามจุรี ในการแผ่ขยายพื้นที่ ที่เรียบง่าย และยืดหยุ่นกับการใช้งาน ปรับเปลี่ยนได้ตามบริบท
– เชื่อมโครงสร้างพื้นฐานระบบนิเวศของเมือง (Urban Greem Infrastructure) ในระดับชุมชน ด้วยโครงข่ายระบบถนน และพื้นที่สีเขียวขนาดต่าง ๆ

แนวคิดการออกแบบ ถนนจุฬาฯ 100 ปี (ซอยจุฬาลงกรณ์ 5)

– ต้นแบบถนนสีเขียว ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่มหลากชนิด ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมเมือง
– การออกแบบภูมิทัศน์ถนน ที่ช่วยในการซึมน้ำ-หน่วงน้ำ เมื่อฝนตก
– รูปแบบถนน ที่ส่งเสริมให้รถขับช้า (Slow Traffic) เอื้อต่อการเดินเท้า ขี่จักรยาน และการใช้รถโดยสารขนส่งมวลชน (Mass Transit)

แนวคิดการออกแบบ อาคารอเนกประสงค์:

– สะท้อน “การพระราชทานที่ดินให้แก่จุฬาฯ เพื่อคืนประโยชน์สู่สังคมส่วนรวม” ด้วยลักษณะอาคาร ที่สอดประสาน เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ภูมิทัศน์
– สถาปัตยกรรม เปรียบเสมือนซุ้มประตู (Gate Way) จากกระบวนทัศน์ทางธรรมชาติวิทยา
– เป็นที่หมายตา (Landmark) ให้กับอุทยานจุฬาฯ 100 ปี และมหาวิทยาลัย ทางฝั่งตะวันตก

อุทยานและถนนจุฬาฯ 100 ปี

Previous articleการออกแบบ Green Roof กับเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน อาคารเขียวไทย (TREES)
Next article‘วิกเตอร์ คลับ สาทรสแควร์’ ธุรกิจบริการให้เช่าสถานที่แบบครบวงจร
ดีไซน์ทันสมัยเกาะเทรนด์คนยุคใหม่
กิตติยา เธียรนันทน์
บรรณาธิการเว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส วิชาโทการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ประจำสำนักข่าวหลักในประเทศ 2 แห่ง ปัจจุบันผันมาเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าววงการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม