สมจริงยิ่งใหญ่! คนไทยได้ซาบซึ้งกับอดีตกันอีกครั้ง กับเทคโนโลยีแสงสีที่มาสร้างรูปทรงอลังการของเจดีย์หลวงจากฐานเก่าแก่ในเมืองเชียงใหม่

“เราจะสามารถปลุกโบราณสถาน ให้ตื่นและมีชีพจรในจังหวะเดียวกับสังคมร่วมสมัยได้อย่างไร” เป็นคำถามตั้งต้นของการทดลองใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมสร้างสรรค์สมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือเรียกผู้คนโดยเฉพาะรุ่นใหม่ ให้หันมาสนใจและสร้างบทสนทนากับโบราณสถาน รวมทั้ง “ทำให้ศาสนาและเทคโนโลยีมาเจอกัน” ซึ่งในที่นี้คือพระธาตุเจดีย์หลวง “เจดีย์ที่สูงที่สุดในภาคเหนือ”

เทคโนโลยี Projection mapping, lightening up, laser beam และ shadow จากความร่วมมือของหลายฝ่าย เนรมิตพื้นที่เหนือโบราณสถานฐานเจดีย์ให้เป็นรูปทรงที่เกิดจากช่องว่างภายในแสงโดยรอบหรือที่เรียกว่า ‘อุโมงค์แสง’ ช่องว่างที่ชี้ให้เห็นว่ามีบางอย่างหายไป ณ พื้นที่นั้น ที่ “ไม่มีใครเคยเห็นมาเกือบ 500 ปี”

ดูแล้วจะซาบซึ้งกับความยิ่งใหญ่ในอดีตที่ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน ณ สถานที่จริง หรือจะตื่นตาตื่นใจกับเทคโนโลยีแค่ไหน คุณสามารถเดินทางไปชมการแสดงแสงสีนี้ด้วยตัวเองได้ฟรี ที่ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ในทุกคืนวันอาทิตย์ไปจนถึงวันที่ 25 กันยายน 2565

“ต่อยอดแสงหลวง” เป็นโครงการโดยศูนย์วิจัยและบริการวิชาการสถาปัตยกรรม และศูนย์นวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ (CLIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยมีศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) วิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี และล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนาการขยายผลธุรกิจนวัตกรรมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ Awaken KHUM for Innovative and Creative Economy (KHUM)

Sources

Previous articleอยากติดตั้งลิฟท์ในบ้านของ Cibes Home Lift ต้องเตรียมตัวอย่างไร และมีขั้นตอนอะไรบ้าง?
Next articleได้กลิ่นฉุนอะไรไหม? รู้จัก “ฟอร์มาลดีไฮด์” สารอันตรายที่อาจอยู่ในห้องของคุณ