ปัจจุบันคนในประเทศไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจกับงานศิลปะมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นงานภาพวาด งานหัตถกรรมหรือของสะสมต่างๆ ที่มีคุณค่าทางศิลป์ “Chiang Mai Art Gallery” เป็นอีกหนึ่งหอศิลป์สำหรับนักสะสมงานศิลปะที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ออกแบบโดย Enter Project Asia
Table of Contents
ความท้าทายของ Enter Project Asia
Enter Project Asia ได้รับมอบหมายให้ออกแบบผลงานศิลปะโดยใช้วัสดุธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคอลเล็กชันเครื่องเงิน, กระเบื้องพอร์ซเลน และคอลเล็กชัน Wedgwood ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจ้าของและนักสะสมต่างแสวงหาพื้นที่สำหรับจัดแสดงวัตถุทางศิลปะให้ผู้คนได้ชื่นชม Enter Project Asia ได้รับการท้าทายในการสร้างแกลเลอรี่ให้มีชีวิตชีวาด้วยการแบ่งโซน การจัดแสง และที่นั่งให้มีเอกลักษณ์ผสมผสานรูปทรงเรขาคณิตแบบ 3 มิติ ด้วยงานฝีมือแบบไทย “Patrick Keane” ผู้อำนวยการของ Enter Project Asia ได้กล่าวไว้ว่า “พวกเราพยายามสร้างประสบการณ์ที่ดื่มด่ำ มอบพื้นที่ที่อบอุ่นและลึกซึ้งไม่เคยมีมาก่อนในหอศิลป์ทั่วไป”
โครงสร้างหวายกับการจำลองการเคลื่อนไหวของเมฆและไอน้ำ
คอนเซปต์นี้มุ่งเน้นที่การออกแบบร่วมสมัยและใช้แนวคิดของไหล เทคนิคการทำงานแบบพาราเมตริกและ
ไดนามิกใช้ซอฟต์แวร์พิเศษในการจำลองการเคลื่อนไหวของก้อนเมฆและไอน้ำ โครงสร้างหวายจึงสานไปมาตามรอยต่อทั้งภายนอกและภายในเพื่อให้ดูเหมือนกำลังบิดไปมา และประดิษฐ์ “โครงสร้าง PODS” หลักสามกลุ่ม สูง 5 เมตร , 4 เมตร และ3.5 เมตร ตามลำดับเป็นเกราะสำหรับคอลเล็กชันที่กำลังจะมาถึงนี้
“หวาย” วัสดุจากธรรมชาติ
ทาง Project ได้อธิบายสภาวะของฟลักซ์ไว้ว่า “การเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สิ้นสุด ทางเดินที่ต่อเนื่องของการเคลื่อนไหว นำทางโดยธรรมชาติ และรูปแบบธรรมชาติที่รวมอยู่ในองค์ประกอบของหวาย” ในทางกลับกันอาจจะกล่าวได้ว่าธรรมชาติได้มอบวัสดุที่หลากหลายไว้ให้ เช่น หวาย ที่มีอยู่มากมายทั่วเอเชีย
ทางเลือกของศิลปะ
“การก่อสร้างที่ยั่งยืนไม่ใช่เรื่องยากหากเราปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทำไมเราถึงยังใช้พลาสติกสังเคราะห์ที่เป็นพิษในเมื่อเรามีวัสดุที่มีคุณภาพอยู่แค่ปลายนิ้ว” คีนถาม
จากประสบการณ์การออกแบบหอศิลป์คีนเชื่อว่า “นักออกแบบต้องการค้นหาทางเลือกของศิลปะเพื่อแสดงสิ่งที่เราคุ้นเคย หอศิลป์ในอนาคตจะเชื่อมโยงสิ่งมีชีวิตและประสบการณ์ที่หลายมิติมากขึ้น ลองสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ ให้ศิลปะเป็นตัวแทนการใช้ชีวิต” หาก “ชีวิต” คือสิ่งที่คีนและทีมนำมาใช้ในโปรเจกต์นี้ ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่บริสุทธิ์ที่สุดของสิ่งนี้ : สำคัญ สร้างสรรค์ และวิวัฒนาการ
เราจะเห็นได้ว่ามีวัสดุจากธรรมชาติมากมายที่สามารถนำมาดัดแปลงให้เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมที่แปลกใหม่และสวยงามได้ หอศิลป์เชียงใหม่แห่งนี้ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าธรรมชาติเป็นได้มากกว่าธรรมชาติ
Architects: Enter Projects Asia
Area: 2000 m²
Year: 2022
Photographs: Willam Barrington Binns
Manufacturers: Soraa, Project Rattan, Unonovesette, Vexica
Design Team: Patrick Keane, Wells Chen
Rattan Structures and Pods Lighting: Infusion Lighting
City: Chiang Mai
Country: Thailand
ภาพและข้อมูลจาก
https://www.archdaily.com/991347/chiang-mai-art-gallery-enter-projects-asia