Liquifed Natural Gas (LNG) เป็นพลังงานทางเลือกที่ในหลายๆ ประเทศเริ่มให้ความสำคัญเพราะLNG เป็น
ก๊าซธรรมชาติที่ขนส่งได้ทั้งทางรถ ทางรถไฟ และทางเรือ เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชม “สถานีรับ-จ่าย LNG” ได้เข้าใจถึงประโยชน์ กระบวนการและความสำคัญของ LNG ทาง “Architects 49” จึงได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานีรับ-จ่าย LNG จนได้ไอเดียที่สำคัญสำหรับการออกแบบครั้งนี้
ถัง LNG เป็นส่วนประกอบหลักในการกักเก็บก๊าซเหลวธรรมชาติ แนวคิดเริ่มต้นจึงออกแบบอาคารที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับอยู่ในสภาพแวดล้อมของถัง LNG เส้นผ่านศูนย์กลางและรูปร่างของพื้นที่ในส่วนออฟฟิศจึงคล้ายกับ
ขนาดถัง พื้นที่ภายในและหลังคามีการจัดสวนธรรมชาติซึ่งเต็มไปด้วยพืชไม้นานาชนิด
เนื่องจากของเหลว LNG จะระเหยกลายเป็นแก๊สที่ทำให้เกิดความเย็นจึงนำคุณสมบัติดังกล่าวกลับมาใช้เพื่อเป็นการควบคุมอุณหภูมิสำหรับการปลูกพืชไม้เมืองหนาวแทนที่จะทำลายด้วยการนำไปทิ้งลงทะเลซึ่งส่งให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างภายนอกออกแบบให้เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ เป้าหมายเพื่อรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำและต้นแฟบน้ำใน
ท้องถิ่นเอาไว้ แต่น่าเสียดายที่พื้นที่ชุ่มน้ำบางส่วนได้ถูกทำลายไป ด้วยเหตุนี้การฟื้นฟูระบบนิเวศจึงต้องอาศัยการสร้างระบบการไหลของน้ำตามธรรมชาติขึ้นมาใหม่โดยส่วนหนึ่งของระบบน้ำขนาดใหญ่จะทำหน้าที่กักเก็บน้ำรอบๆ บริเวณ
Architects: Architects 49
Area: 13500 m²
Year: 2022
Photographs: DOF Sky|Ground, Nattakit Jeerapatmaitree
Manufacturers: AutoDesk, EQUITONE, ALUINCH Alumination, Alucobond, Bambunique, Knauf, Robert McNeel & Associates, Schimmer, Solartube, TGSG, Tostem
Lead Architects: Prabhakorn Vadanyakul, Somkiat Lo-Chindapong, Dr. Narongwit Areemit, Tikumporn Theerapongpakdee
Structural Engineering: Architectural Engineering 49 Limited
Interior Architect: Interior Architects 49
Landscape: TK Studio
Lighting Design: 49 Lighting Design Consultants
ภาพและข้อมูล
https://www.archdaily.com/993841