Photographs:DOF Sky|Ground

คีรีธารา ร้านอาหารไทยโบราณติดริมแม่น้ำแควที่ไม่ได้มีดีแค่รสชาติอาหารแต่ยังรวมไปถึงโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่ดึงดูดสายตาผู้มาเยือน คีรีธารารูปทรงสะดุดตานี้สร้างมาทดแทนสาขาเดิมในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นร้านอาหารชื่อดังที่ได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จในจังหวัดกาญจนบุรีที่เจ้าของได้ตัดสินใจรักษาวัฒนธรรมไทยดั้งเดิมภายใต้รูปแบบของอาคารที่สอดคล้องกับอาหารไทยที่เสิร์ฟภายในร้าน

การออกแบบอย่างสร้างสรรค์และเน้นฟังก์ชันอย่างมีสไตล์

Photographs:DOF Sky|Ground

ร้านอาหารมีขนาดใหญ่กว่าพันตารางเมตรเพื่อรองรับการขยายโครงสร้างเพื่อใช้งานได้อย่างเต็มที่
ความต้องการหลักไม่ใช่แค่สถานที่ที่สามารถรองรับการบริการกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่และกิจกรรมที่หลากหลาย แต่เนื่องจากพื้นที่อยู่ติดกับแม่น้ำแคว การใช้ประโยชน์จากทิวทัศน์นี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโซนรับประทานอาหารทั้งในร่มและกลางแจ้ง

Photographs:DOF Sky|Ground

กระบวนการออกแบบเริ่มต้นจากการค้นหาทำเลที่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดสำหรับการบริการ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่บนชั้นหนึ่ง เมื่อรวมกับเพดานที่สูงทำให้มีตัวอาคารมีขนาดใหญ่จนเต็มพื้นที่และบดบังทัศนียภาพของแม่น้ำ สถาปนิกจึงจัดวางฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ ไว้บนชั้นสอง ทั้งห้องครัวและมีบันไดขนาดใหญ่นำเล่าผู้มาเยือนไปยังโถงทางเข้าชั้นสอง

Photographs:DOF Sky|Ground

ห้องโถงต่อตรงไปยังโถงจัดเลี้ยงบนชั้นที่ 3 ที่ล้อมรอบด้วยเฉลียง พื้นที่ส่วนระเบียงถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารตามชั้นต่าง ๆ ทำให้เห็นวิวริมฝั่งแม่น้ำอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของชั้นสามเป็นห้องจัดเลี้ยงถูกจัดวางไว้สำหรับจัดงานต่าง ๆ เช่น งานสัมมนาหรืองานแต่งงาน

สร้างบรรยากาศความเป็นไทยด้วย “ความรู้สึก” และ “อารมณ์”

Photographs:DOF Sky|Ground

อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือการใส่ความเป็นไทยเข้าไปในอาคารขนาดใหญ่ซึ่งถือเป็นความท้าทาย โดยตามธรรมเนียมแล้วอาคารทรงไทยขนาดใหญ่ที่มีอาณาบริเวณกว้างขวางมักจะเป็นวัดหรือพระราชวัง ส่วนบ้านทรงไทยจะมีขนาดเล็กและมักจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก สถาปนิกจึงนำ “ความรู้สึก” และ “อารมณ์” ของสถาปัตยกรรมไทยมาใช้ในพื้นที่ใช้สอยเพื่อขับเน้นบรรยากาศความเป็นไทยให้กับผู้ใช้มากกว่าการใช้สัดส่วนโดยตรงหรือองค์ประกอบตกแต่งจากสถาปัตยกรรมไทย

Photographs:DOF Sky|Ground

การตีความดังกล่าวทำให้ได้หลังคาทรงจั่วโค้งขนาดใหญ่ที่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน แนวสันกลางอยู่เยื้องกันและอยู่กึ่งกลางตามทางเข้าหลัก เอียงเล็กน้อยเพื่อให้แสงธรรมชาติส่องผ่าน สร้างแนวแกนเป็นลำแสงไปทางแม่น้ำ ด้านยาวของหลังคาทรงจั่วค่อย ๆ ลาดลงมาถึงพื้น ซึ่งทำให้คล้ายกับการลดขนาดหลังคาลง นอกจากนี้ หลังคาลาดเอียงริมแม่น้ำยังทำหน้าที่เป็นบันไดให้ผู้ใช้เข้าถึงบาร์บนชั้นดาดฟ้าและชั้นดาดฟ้า

 

  • Architects: IDIN Architects
  • Photographs:DOF Sky|Ground

ภาพและข้อมูลจาก: https://www.archdaily.com/994555/keereetara-restaurant-idin-architects?ad_source=search&ad_medium=projects_tab

 

Previous articleBarbie’s Malibu DreamHouse: สานฝันวัยเด็กในบ้านริมชายหาดมาลิบูของ ‘บาร์บี้’
Next articleThe Next REAL Change for Better Living: ทีทีบี และ โกลบอลเฮ้าส์ สองพันธมิตรผนึกกำลังนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่ส่งเสริมประสบการณ์ชอปของแต่งบ้านและอุปกรณ์ก่อสร้างที่คุ้มที่สุด