มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (AREA) ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กำหนดราคาค่าก่อสร้างอาคาร ไตรมาส 1/2559 (มีนาคม) โดยมีสาระสำคัญดังนี้:
จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้ราคาค่าก่อสร้างอาคารลดลงต่อเนื่องในช่วงไตรมาสล่าสุดที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 0.27% ส่วนค่าวัสดุก่อสร้างที่ไม่รวมค่าแรงและค่าดำเนินการใด ๆ เพิ่มขึ้น 0.45% ใน 1 ไตรมาสล่าสุด
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย สรุปผลการจัดทำราคาค่าก่อสร้างอาคารล่าสุด ซึ่งคณะทำงานของมูลนิธิมี นาย สุรพงษ์ ตรีสุกล เป็นประธานคณะทำงาน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการใช้ในการประเมินค่าทรัพย์สินสำหรับสถาบันการเงิน บริษัทประเมิน และผู้สนใจอื่น ๆ
โดยสรุปแล้ว ในรอบไตรมาสที่ 1/2559 (มกราคม-มีนาคม) ราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.45% โดยมีรายละเอียดดังนี้:
รายการ | วิเคราะห์ค่าวัสดุ | ธค.58/มีค.59 | มี.ค.-59 | |
% เปลี่ยนแปลง | สัดส่วนน้ำหนัก | สัดส่วนใหม่ | ||
ดัชนีรวม | 0.30% | 100 | ||
1 | ไม้ | -1.10% | 7.7 | 7.615 |
2 | ซีเมนต์ | -1.40% | 11.79 | 11.623 |
3 | ผลิตภัณฑ์คอนกรีต | 0.10% | 15.95 | 15.962 |
4 | เหล็ก | 6.80% | 21.35 | 22.809 |
5 | กระเบื้อง | 0.00% | 7 | 7 |
6 | วัสดุฉาบผิว | 0.00% | 2.95 | 2.95 |
7 | สุขภัณฑ์ | 0.00% | 2.41 | 2.41 |
8 | อุปกรณ์ไฟฟ้า | -0.80% | 12.7 | 12.602 |
9 | วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ | -3.70% | 18.15 | 17.479 |
โดยรวม | 0.45% | 100 | 100.45 |
สำหรับข้อสรุปการปรับราคาค่าก่อสร้าง โดยใช้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างของทางราชการของเดือนมีนาคม 2559 มีผลออกมาดังนี้:
1. พิจารณาโดยเทียบเคียงกับเดือนธันวาคม 2558 ถึง มีนาคม 2559
2. ผลจากการเปรียบเทียบพบเบื้องต้นว่า ธันวาคม 2558 ถึง มีนาคม 2559 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่ม 0.45%
3. สำหรับในรายละเอียดพบว่า เนื่องจากกลุ่มวัสดุเหล็ก ราคาปรับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
4. ค่าแรงงาน พิจารณาเท่าเดิม ไม่มีการปรับเพิ่ม
5. เมื่อวิเคราะห์ทั้งค่าวัสดุ และค่าแรงงาน ทำให้ภาพรวมราคาค่าก่อสร้างอาคารปรับเพิ่ม +0.27%
โดยจะกระทบกับราคาค่าก่อสร้างที่มีราคาต่อตารางเมตรที่ค่อนข้าง สูง (20,000-30,000 บาท) อยู่เล็กน้อย คือเพิ่มอีกตารางเมตรละ 100 บาท ส่วนราคาค่าก่อสร้างไม่สูง เมื่อทำการปัดเศษหลักร้อยไม่ส่งผลกระทบ ราคาคงเดิม
ราคาค่าก่อสร้างจะส่งผลต่อราคาบ้านอย่างไรบ้าง หากสมมติกรณีนี้เป็นอาคารบ้านเดี่ยวหลังหนึ่ง ต้นทุนค่าก่อสร้างบ้าน จะเป็นประมาณ 1 ส่วน ส่วนต้นทุนที่ดินเป็น 2 ส่วน รวมเป็น 3 ส่วน ดังนั้นหากต้นทุนค่าก่อสร้างลดลง 1.31% ส่วนต้นทุนที่ดินเพิ่มขึ้น 0.5% โดยประมาณ จึงทำให้ราคาบ้านไม่เปลี่ยนแปลง ตามรายละเอียดดังนี้
= {1 * (1+0.27%)} + {2 * (1 + 0.5%)}
= 3.0127 หรือราว ๆ 3.0 ซึ่งถือว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
ดังนั้นราคาบ้านจึงไม่ได้เพิ่มขึ้นในรอบ 1 ไตรมาสที่ผ่านมา อันที่จริงราคาค่าก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะเศรษฐกิจของประเทศยังไม่กระเตื้องมากนัก การก่อสร้างต่าง ๆ จึงยังไม่มากนัก