หลังจากการที่กรุงเทพมหานครประกาศตัวเป็น ‘เมืองหนังสือโลกประจำปี 2556’ หลายฝ่ายก็คาดหวังจะได้เห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสมญานาม รวมถึงได้เห็นว่าคนไทยรักการอ่านมากขึ้นสมค่าการได้รับการเรียกขานที่ทรงเกียรติเช่นนั้น แต่ก่อนจะไปถึงวันนั้นได้จริง กรุงเทพมหานครได้เผยถึงหนึ่งในพันธกิจที่สืบเนื่องมาจากการเป็นเมืองหนังสือโลก นั่นคือ การก่อสร้าง หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร หรือ Bangkok City Library

เมื่อกรุงเทพมหานคร ได้รับการคัดเลือกจาก องค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็น ‘เมืองหนังสือโลกประจำปี 2556’ (Bangkok World Book Capital 2013) ก็มีพันธกิจต่อเนื่องที่จะต้องทำต่อไป โดย 1ใน 9 พันธกิจที่จะเกิดขึ้นคือ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (BangkokCity Library) โดยกรุงเทพมหานครได้รับการอนุมัติจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้เช่าอาคาร 3 ชั้น บนถนนราชดำเนิน บริเวณสี่แยกคอกวัวเพื่อจัดตั้งหอสมุดเมือง ในระยะเวลา 30 ปี เนื่องจากตัวอาคารเป็นตึกเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงช่วงสงครามโลก (พ.ศ. 2482-2488) ซึ่งเป็นช่วงการออกแบบที่ยังยึดแนวสถาปัตยกรรม ArtDeco ดังนั้นการออกแบบหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการผสมผสานระหว่างโครงสร้างอาคารแบบตะวันตกกับศิลปะไทยเข้าด้วยกัน โดยมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 3,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ 4 ชั้น รวมชั้นลอย โดยชั้น 1 จะเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการหมุนเวียน รวมถึงสื่อสำหรับผู้พิการทางสายตา ชั้นลอยเป็นพื้นที่สำหรับวรรณกรรมเด็กและเยาวชน ชั้น 3 เป็นพื้นที่หนังสือทั่วไปสำหรับค้นคว้า รวมถึงห้องอเนกประสงค์ และชั้นสุดท้ายเป็นพื้นที่ของวรรณกรรมเพื่อนบ้านวรรณกรรมโลก และหอจดหมายเหตุ รวมถึง Hall of Fame ของนักเขียนไทยและผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ไปถึงประวัติของนักประพันธ์และกวีแห่งชาติที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในอดีตและปัจจุบัน

unnamed (4)

แว่วมาว่าหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครแห่งนี้แล้วเสร็จจะเปิดบริการเป็นหอสมุด 24 ชั่วโมงอีกด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อปริมาณหนังสือและพื้นที่สำหรับการอ่านมากขึ้นจะทำให้คนไทยรักการอ่านมากขึ้นด้วย แม้จะเป็นคนละเรื่องเดียวกันก็ตามที

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม www.facebook.com/bkwbc2013 หรือโทร. 0-2245-4171

Previous articlePalo Santo โรงแรมบูติก เพื่อการพักผ่อนท่ามกลางความร่มเย็นและกลิ่นไอธรรมชาติ
รายล้อมด้วยต้นไม้กว่า 800 สายพันธุ์!!
Next articleอุ่นรักในเรือนอดีต ‘โฮงเจ้าฟองคำ’
Builder
กองบรรณาธิการนิตยสาร Builder - เดิมเคยเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ ภายใต้ชื่อ Builder News เผยแพร่เนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับวงการธุรกิจก่อสร้างมากว่า 10 ปี ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นนิตยสารรายเดือนในชื่อว่า Builder เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปในยุคปัจจุบัน มุ่งนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร