ในปัจจุบัน ผู้คนอาศัยอยู่ในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยป่าคอนกรีตขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ตึก” กำลังประสบปัญหากับสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนพื้นที่สีเขียวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดปัญหาที่ตามมาหลายอย่าง และปัญหาใหญ่อย่างมากเลยคือเรื่อง ฝุ่น pm 2.5 ที่กำลังกัดกินสุขภาพคนเมืองอย่างเงียบ ๆ

บริษัท ดีวันซิสเต็ม จำกัด ผู้เชี่ยวชาญระบบ Green Wall & Green Roof System เล็งเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมตรงนี้ จึงจัดโปรเจกต์ที่มีชื่อว่า “GREY TO GREEN 2020” ขึ้นมาเพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปัญหาฝุ่น pm 2.5 ที่เป็นมลพิษทางอากาศ รวมถึงความร้อนสะสมจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ Heat Island Effect

วันนี้ทีมงานเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณน้ำฝน มนัสนันท์ พิสุทธิ์ชัยกุล ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ดีวันซิสเต็ม จำกัด เกี่ยวกับโปรเจกต์เพิ่มพื้นที่สีเขียวนี้

คุณน้ำฝน มนัสนันท์ พิสุทธิ์ชัยกุล ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ดีวันซิสเต็ม จำกัด

จุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้

“โปรเจกต์ GREY TO GREEN 2020 มีจุดเริ่มต้นมาจาก ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยสาเหตุที่เราพบก็คือการลดลงของพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย ซึ่งเราคิดว่าการที่เราจะเริ่มต้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวอาจจะต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน ดีวันจึงอยากช่วยผู้ที่สนใจอยากเพิ่มพื้นที่สีเขียวแต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ด้วยการสนับสนุนเรื่องระบบต่าง ๆ เรื่องอุปกรณ์เครื่องมือ การอบรมให้ความรู้ แนะนำแนวทางการติดตั้งอย่างถูกต้อง”

พูดถึงแนวคิดโปรเจกต์ GREY TO GREEN 2020

“โปรเจกต์นี้มีแนวคิดเริ่มมากจากการที่เราอยากเห็นคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยอาศัยจากการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ผ่านการผสมผสานระหว่าง “การออกแบบ” และการนำ “ธรรมชาติ” กลับเข้าสู่ตัวเมือง ซึ่งแนวคิดนี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก โครงการ “LUSH” หรือ “Landscaping for Urban Spaces and High-Rises” ประเทศสิงคโปร์ โดยในสมัยก่อนเนื่องจากสิงคโปร์มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้เมื่อมีการสร้างตึกอาคารเพิ่มขึ้น พื้นที่สีเขียวก็ถูกจำกัดให้ปริมาณลดลงเรื่อย ๆ ประกอบกับผู้คนสมัยนี้ ส่วนใหญ่มักใช้ชีวิตกันอยู่ในตึกอยู่แล้ว สิงคโปร์จึงแก้ปัญหานี้โดยการจัดสรรพื้นที่ของอาคารให้เป็นพื้นที่สีเขียวมากขึ้น เช่น ตามระเบียงหรือดาดฟ้า  ซึ่งข้อดีตรงนี้คือเราไม่ต้องไปรบกวนพื้นที่ใช้งานอื่น แล้วก็ทำให้คนได้ใกล้ชิดกับสวนง่ายขึ้น เราจึงประยุกต์แนวคิดนี้มาใช้กับประเทศไทย โดยสนับสนุนให้เพิ่มพื้นที่สีเขียวจากสิ่งใกล้ตัวของเราก่อน เช่น ตึกอาคาร ที่เราอาศัยและใช้งานอยู่ทุกวัน”

รูปแบบของการอบรมให้ความรู้

“ในปีนี้เราจะเน้นไปทางสื่อออนไลน์มากกว่า จะเป็นบทความการให้ความรู้ สิ่งที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการทำสวนหลังคาโดยตรง เช่น ต้องเตรียมโครงสร้างยังไง รับน้ำหนักเท่าไหร่ ปลูกต้นอะไรได้บ้าง โดยสำหรับใครที่สนใจเรื่องเหล่านี้เป็นพิเศษและอยากให้ดีวันเข้าไปอบรมเพิ่มเติม ทางเราก็ยินดีค่ะ”

เริ่มต้นโปรเจกต์แล้วหรือยัง ?

“เริ่มแล้วค่ะ ตอนนี้มีผู้เข้าร่วมโปรเจกต์กับเราแล้ว อย่างที่ สยามแปลงนา เซอร์วิส เรสซิเดนซ์ ซึ่งโครงการมีคอนเซปต์ที่น่าสนใจคือ ต้องการนำวิถีชีวิตคนไทยดั้งเดิมมาผสมผสานกับการออกแบบสมัยใหม่ ซึ่งต้องสะท้อนคอนเซปนี้ออกมาในรูปสวนหลังคา เลยไม่ใช่ปลูกต้นไม้ปกตินะ เขายกแปลงนามาไว้บนหลังคา ปลูกข้าวกันให้เห็นเลย ตรงนี้เลยเป็นอีกรูปแบบที่เป็นตัวอย่างว่า นอกจากสวนหลังคาที่ปลูกต้นไม้ทั่ว ๆ ไป เรายังสามารถเพิ่มลูกเล่นด้วยพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆได้อีก ซึ่งสามารถปรับดีไซน์ได้ตามคอนเซปต์ของอาคารนั้น ๆ ”

สยามแปลงนา เซอร์วิส เรสซิเดนซ์
สยามแปลงนา เซอร์วิส เรสซิเดนซ์
สยามแปลงนา เซอร์วิส เรสซิเดนซ์

เป็นโปรเจกต์ระยะยาวกับการสร้างพื้นที่สีเขียว

“ใช่ค่ะ ก่อนอื่นเลยเราต้องสร้างความตระหนักรู้ว่าปัญหาต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะพื้นที่สีเขียวลดลงนะ แล้วทุกคนต้องช่วยกันเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ซึ่งเขาต้องรู้และเข้าใจก่อนว่าปัญหาเกิดจากอะไร แล้วทำไมพื้นที่สีเขียวถึงช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้”

d.one ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการสร้างเมือง “สีเขียว”

“เราเล็งเห็นถึงคำสำคัญของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย เราจึงยินดีเป็นตัวแทนในการช่วยเผยแพร่ความรู้ รวมถึงการสนับสนุนด้านการออกแบบและติดตั้ง ระบบพื้นที่สีเขียว เช่น สวนดาดฟ้า หรือ Green Roof System เพื่อให้ทุกคนที่สนใจได้มีโอกาสสร้างสรรค์พื้นที่สีเขียวร่วมกับเรา”

 

สำหรับใครที่สนใจอยากเพิ่มพื้นที่สีเขียวหรือรับฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้าน Green Roof System สามารถติดต่อได้ที่ Tel: 02-0625580 E-mail: [email protected]

Previous articleโปสเตอร์ลายเส้นย้อนยุคแต่ว่าด้วยเรื่องปัจจุบัน กับการป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019
วิกฤตโรคติดต่อที่น่าเป็นห่วง
Next articleNano Electric Product จัดกิจกรรม CSR เพื่อสังคม
พร้อมมอบโล่รางวัลให้กับลูกค้า NANO HERO
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ