ปกติเราจะพาตามดูงาน Interior สวย ๆ แต่หนนี้อยากให้มาดูงานแนว Exterior หรือตกแต่งนอกอาคารบ้าง เพราะถึงเราจะไม่ใช่ชีวิตด้านนอกบ้านแต่เราก็ยังอยากให้อาคารแสดงเอกลักษณ์ให้คนที่พบเห็นและเดินผ่านไปมา

ลองดูผนังอาคารเหล่านี้ จะเห็นเลยว่าเขาใช้ “อิฐ” เป็นวัสดุ แต่ความน่าสนใจมันอยู่ที่พออิฐเหล่านั้นเป็นอิฐสีที่สีสันและหน้าตาต่างกัน นำมาจัดเรียงตกแต่งอาคารประเภทต่าง ๆ ด้วยสีต่างกันก็ให้ความรู้สึกไม่เหมือนกัน

อิฐสีต่างกันนี้ หน้าตาต่างกันนี้คืออิฐ hand-made ออกแบบโดย The NATURE7 ขึ้นรูปด้วยวิธี Wasserstrich ด้วยเทคนิคการผลิตที่คราฟต์ ๆ แบบนี้ทำให้สามารถเลือกสีสันเพื่อใช้งานได้ตามใจชอบ ใครอยากมิกซ์รวมกันเพื่อสร้างตัวตนผ่านงานตกแต่งด้วยอิฐก็ทำได้ทันทีไม่ต้องกลัวซ้ำเพราะออกแบบมาให้เลือกมากถึง 14 สี ดังนี้

Brick K (Red)

Brick E (Dark Red)

Brick P (Mottled Red)

Brick A (Brown)

Brick H (Mottled Brown)

Brick J (Mottled Warm White)

Brick V (Pink Brown)

Brick M (Light Brown)

Brick B (Mid Brown)

Brick W (Mottled Cold Grey)

Brick R (Mottled Warm Grey)

Brick S (Dark Grey)

Brick F (Burnt Red)

Brick Y (Burnt Dark Brown)

นอกจากความประณีตนั่งขึ้นรูปทำมือแล้ว อิฐทั้งก้อนยังทำจากวัสดุธรรมชาติ! โดยใช้ดินโคลนจาก Quaternary ที่นำมาจากหุบเขา Scheldt กระบวนการทำแต่ละก้อนต้องขึ้นในแม่พิมพ์ un-sanded เข้าเตาเผาที่อุณหภูมิขั้นต่ำ 1,150 องศาเซลเซียส ทำให้หน้าอิฐแข็งแรงเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีส่วนผสมของปูนจึงทำให้มีความยืดหยุ่น แก้ปัญหาเรื่องการแตกร้าวจากการก่ออิฐได้เป็นอย่างดี

ส่วนสีที่หลายคนสงสัยว่าเขาทำยังไงถึงได้สีสันออกมาแตกต่างกันขนาดนี้ เรื่องนี้ Vande Moortel เผยเคล็ดลับว่ามาจากขั้นตอนการเผาอิฐ หากเผาลงที่ระดับออกซิเจนแตกต่างกันจะส่งผลให้สีออกมาแตกต่างกัน และสำหรับร่องรอยที่เกิดบนผิวหน้าอย่างที่เราเห็นว่าคล้าย Texture ริ้วจาง ๆ นั้นมาจากการเผา Hand-made ที่เกิดปรากฏการณ์กระเจิง (Scattering) ของถ่านเหนือก้อนอิฐระหว่างเผา

ปัจจุบันวัสดุไม่ได้ต้องการแค่ความเนี้ยบ แต่ต้องการประโยชน์ใช้สอยกับความแตกต่างเพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น ผู้ผลิตจึงหันมาเล่นเรื่องความคราฟต์ เพราะรู้ว่าผู้บริโภคเริ่มเปิดใจรับความหลากหลายและไม่สมบูรณ์แบบ แต่ใส่ใจโจทย์สำคัญเรื่องวัสดุทดแทน

กาลเวลาเปลี่ยนแปลง ความนิยมเปลี่ยนไป แต่ไม่ว่าอย่างไร วงการวัสดุก็คงไม่หยุดนิ่ง และพัฒนาไปเรื่อย ๆ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้คน

 

อ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูลจาก

  1. https://www.archdaily.com/catalog/us/products/16193/facing-brick-nature7-vande-moortel?ad_source=neufert&ad_medium=gallery&ad_name=close-gallery
  2. http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/9757/6/Chapter2.pdf
Previous article“โคมไฟลำไส้วัว” เจาะลึกไอเดียชวนสยองสู่แสงไฟสวยสะกดสายตา
Next articleเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่เจียไต๋ พลิกโฉมออฟฟิศแบบจำเจ
ให้เหมือนบ้านหลังใหญ่ของพนักงาน
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ