farming-architecture สร้างสรรค์ผลงานออกแบบที่แสดงถึงวัฒนธรรมและความสวยงามของประเทศเกาหลีจากการใช้ ‘ฮันบก’

285

Choi Jangwon ผู้ก่อตั้งสตูดิโอ farming-architecture ได้รับหน้าที่ออกแบบนิทรรศการสำหรับการแสดงพิเศษที่จัดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ โดยใช้ชื่อว่า ‘baram-baraem’ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับผู้ออกแบบชุดฮันบก Lee Younghee ให้ผู้เข้าชมได้ดื่มด่ำไปกับความงดงามของผ้าฮันบกและสัมผัสกับมุมมองใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติผ่านการออกแบบตกแต่งที่ไม่ซ้ำใคร

พื้นที่ในงานจะมีการตกแต่งด้วยชุดฮันบกที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ บริเวณตรงกลางโถงจะมีชั้นผนังผ้าไหมกรึ่งโปร่งแสงจัดวางไว้ และรายล้อมไปด้วยหน้าจอที่แสดงภาพความงดงามของชุดฮันบกเก่าแก่ของเกาหลี โดยระหว่างนั้นจะมีเมฆและหมอกลอยอยู่ด้านบนบ่งบอกถึงทัศนียภาพอันงดงามของประเทศเกาหลี ซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของงานนี้

สตูดิโอ Farming-architecture ไม่ใช่แค่นำเสนอผ้าฮันบกในรูปแบบเครื่องแต่งกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ในงานแสดงที่มองดูเผิน ๆ แล้วจะมีเค้าโครงเหมือนกับห้องลองเสื้อผ้าเคลื่อนที่ที่ได้รับการตกแต่งให้ดูกลมกลืนไปกับรูปแบบของงาน ซึ่งคอนเซ็ปต์ ‘ฮันบก’ ไม่ได้ใช้แค่จำกัดความให้เป็นชุดที่ผู้คนสวมใส่ แต่ยังรวมไปถึงโครงสร้างที่อยู่รอบ ๆ งาน ที่ก่อให้เกิดความคล่องตัวและสร้างความสวยงามได้อย่างลื่นไหล

ฮานกหรือสไตล์บ้านเกาหลีแบบดั้งเดิมก็ถูกนำมาใช้เป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลักษณะเด่นที่มีเหมือนกันของฮันบกและฮานกคือจะมีโครงสร้างที่เปิดให้ลมและแสงลอดผ่านเข้ามาได้ ดังนั้นผู้ที่สวมใส่ฮันบกและผู้ที่พักอาศัยอยู่ในฮานกจะสามารถสัมผัสกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลได้อย่างเต็มที่ ส่วนผนังผ้าไหมที่ตั้งอยู่ในงานก็ทำมาจากผ้าเฟบริกที่มีลักษณะคล้ายกับผ้าที่ใช้ทำกระโปรงของชุดฮันบก ซึ่งผู้ที่เข้าชมงานสามารถลอดผ่านระหว่างผนังกั้นแบบแบ็คดร็อปที่รอบล้อมด้วยหน้าจอทีวีและชุดโชว์เหล่านี้ได้ เช่นเดียวกับเครื่องแต่งกายเกาหลีแบบดั้งเดิมที่ผู้สวมใส่และชุดจะปรับเข้ากันได้เองอย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งผนังออแกนซ่าเหล่านี้ยังเชิญชวนให้ผู้เข้าชมงานรู้สึกรื่นรมย์ไปกับความกว้างขวางและความคล่องตัวของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

เส้นทางอันซับซ้อนจะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนเดินท่ามกลางจีบของชุดฮันบก เป็นการเชื้อเชิญให้เข้ามาสัมผัสมุมมองใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับความเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ผ้าฮันบกที่แสดงอยู่บนจอยังถูกจัดให้อยู่เป็นหมวดหมู่ไม่ว่าจะเป็นสี รูปทรง วัสดุ รวมไปถึงความโปร่งของเนื้อผ้า สีเทาและสีชาโคลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยสร้างความคล่องตัวให้กับชุด ในส่วนของกำแพงกึ่งโปร่งแสงจะใช้ความหลากหลายของสีที่ได้มาจากการแปลี่ยนทิศทางและการสะท้อนของแสง ทำให้ผ้าฮันบกได้รับแสงและลวดลายที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ

‘ในตอนที่ร่างเปลือยเปล่า ฉันรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ แต่เมื่อได้สวมใส่เสื้อผ้า ฉันกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม มันเป็นความฝันที่จะได้ครอบครองทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมนั่นทำจึงทำให้ฉันสวมใส่เครื่องแต่งกายอันเบาสบายนี้’ คำกล่าวของ Lee Oyoung

รูปทรง จีบ และความโปร่งแสงระหว่างเส้นใยผ้าที่ใช้ทำฮันบกสะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเฉลียวฉลาดของคนเกาหลีในยุคสมัยก่อน ผู้ซึ่งให้กำเนิดสิ่งที่เลียนแบบธรรมชาติได้อย่างคล้ายคลึง นอกจากนี้เส้นทางที่ผ่านเข้าไปในพื้นที่ของงานจัดแสดงยังให้ทัศนียภาพความเป็นประวัติศาสตาร์เก่าแก่ของเครื่องแต่งกายอันโดดเด่นนี้อีกด้วย

Source: designboom

 

Previous articleกรมธนารักษ์ เร่งสร้าง “หอชมเมืองกรุงเทพ” คาด 3 ปีเสร็จ
Next articleFlower Pavilion ผลงานตกแต่งสุดเจ๋ง ที่เติมแต่งด้วยพันธุ์ไม้ ใจกลางเมืองลียง