หุ่นยนต์มีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์แต่ในทางเดียวกันก็อาจเป็นเครื่องมือที่สามารถทำลายมนุษย์ได้ ดังนั้นหุ่นยนต์จึงจำเป็นต้องมีบทลงโทษและข้อเน้นย้ำไม่ให้ทำลายหรือไล่ล่ามนุษย์ เพื่อเป็นการป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงมีการร่วมมือกันระหว่างศิลปินและสถาปนิกเพื่อสร้างสรรค์แขนหุ่นยนต์ขึ้นมาไว้เขียนบทลงโทษสำหรับตัวมันเอง

แขนหุ่นยนต์จะเขียนข้อความซ้ำว่าจะไม่ไล่ล่ามนุษย์เน้นย้ำบทลงโทษที่จะเกิดขึ้น ผลงานจากศิลปิน Filipe Vilas-Boas และสถาปนิก Paul Coudamy แขนหุ่นยนต์ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเพิ่มความตระหนักถึงภัยคุกคามที่เห็นได้ชัดจากระบบอัตโนมัติ ให้ผู้คนรู้ถึงความน่ากลัวและความน่าหลงไหลของมัน และผลงานชิ้นนี้จะได้รับการเปิดตัวที่งาน digital festival Futur en Seine เมือง Paris ตั้งแต่วันที่ 8-10 กรกฎาคมคมนี้

หุ่นยนต์ตัวนี้จะถูกวางไว้ที่โต๊ะเรียน จากนั้นแขนอัตโนมัติจะเขียนวลีหนึ่งว่า “ฉันต้องไม่ไล่ล่ามนุษย์” ลงบนหนังสือที่จัดเตรียมไว้ วลีที่ศิลปินท่านนี้เลือกมาเป็นการอ้างอิงถึงนิยายวิทยศาสตร์โดยผู้แต่ง Isaac Asimov เรื่อง ‘Three Laws of Robotics’ ที่เขียนขึ้นมาในปี 1942 และถูกใช้เป็นพ้อยท์ในเรื่องต่าง ๆ ของเขา พวกเขาสร้างกฎให้หุ่นยนต์เพื่อละเว้นจากการทำร้ายมนุษย์ เพื่อปกป้องพวกเขาจากภัยต่าง ๆ และเพื่อให้ปฏิบัติตามคำสั่งของมนุษย์

“บทลงโทษเชิงป้องกันสำหรับการไม่เชื่อฟังของหุ่นยนต์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” Vilas-Boas พิจารณาว่ามันเป็น “เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่รวดเร็ว หุ่นยนต์มีความสะดุดตาและเป็นปัญญาประดิษฐ์” “ถ้าเป็นอย่างตรรกะที่ว่ามาเราสามารถสร้างจินตนาการได้มากขึ้นและหุ่นยนต์จะสามารถทำความเข้าใจและสื่อสารกับเราได้อย่างง่ายดาย” กล่าวโดย Vilas-Boas
“หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะมีบทบาทสำคัญในอนาคตนี้” “และจะเป็นไปในทางที่ดี ช่วยลดจำนวนงานอันมหาศาลของมนุษย์ และสร้างประโยชน์อื่น ๆ ให้กับสังคม” “หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะมีบทบาทสำคัญในอนาคตนี้” เสริมโดย Vilas-Boas “และจะเป็นไปในทางที่ดี ช่วยลดจำนวนงานอันมหาศาลของมนุษย์ และสร้างประโยชน์อื่น ๆ ให้กับสังคม” “แต่บทบาทนี้ก็เป็นการบอกให้เรารู้ว่าจะมีการติดต่อทางสังคมในรูปแบบใหม่ที่แน่นอนอยู่แล้วว่าอาจจะมีการปะทะกันกับสังคมขนาดใหญ่ แต่ถ้ามันไม่เกิดขึ้น เราจะเห็นถึงการแผ่ขยายกว้างของความไม่แน่นอนในสังคมเราได้”


ศิลปินท่านนี้ได้ร่วมมือกับ Coudamy ผู้ที่ใช้แขนอุตสาหกรรมเพื่อที่จะคิดค้นการสร้างระบบดิจิตัลและวิธีที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้ในงานสถาปัตยกรรม ในการสรรค์สร้างคำสั่งการสำหรับเครื่องจักร ทั้งสองคนได้ออกแบบข้อความที่ใช้เป็นตัวนำทิศทางและสร้างเป็นแบบสามมิติโดยการใช้โปรแกรมเสมือนจริงและซอฟต์แวร์ 3D จำลอง ดังนั้นหุ่นยนต์สามารถเลียนแบบสไตล์การเขียนของมนุษย์ได้ และทั้งคู่ยังสร้างให้เจ้าหุ่นยนต์เล่นไพ่นกกระจอกได้เพื่อให้หุ่นยนต์มีความเป็นเด็กมากขึ้น

ปัจจุบันศิลปินท่านนี้อาศัยอยู่ที่เมือง Paris และยังทำงานในตำแหน่ง interactive designer ผลงานของเขามักเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์บางอย่างกับผู้ชม และเพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับบทบาทของเครื่องจักรที่มีต่อสังคมในอนาคต

Source: dezeen

Previous articleร่วมสัมผัสกับสโตร์แกรนด์โฮมมาร์ทแห่งใหม่ (บางนา) พร้อมข้อเสนอพิเศษกับงาน GRANDHOME EXPO 2017 จนถึง 18 มิ.ย. นี้
Next articleสวนธรรมชาติสไตล์ญี่ปุ่นที่หาได้ในประเทศไทย สรรค์สร้างโดย Iintegrated Field co architects