ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นได้เกิดภัยพิบัติขึ้นในหลากหลายรูปแบบทั้งอุทกภัย แผ่นดินไหว ดินถล่ม สึนามิ วาตภัย สะท้อนให้เห็นถึงอิมแพคของปรากฏการณ์โลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการเกิดภัยพิบัติในแต่ละครั้ง ส่งผลทำให้บ้านเรือนของประชาชนเกิดความเสียหายพังทลายลงมา ผู้ประสบภัยจึงไม่มีที่พักอาศัย ทำให้เหล่าสถาปนิกเกิดไอเดียในการออกแบบที่พักอาศัยชั่วคราวขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือเหล่าผู้ประสบภัย
โปรเจกต์การออกแบบ Fold and Float จึงถือกำเนิดขึ้นโดย SO? บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมสัญชาติตุรกี ที่เน้นการออกแบบสถาปัตยกรรมผ่านวิถีชีวิต ได้ดีไซน์ Fold and Float โปรเจกต์บ้านลอยน้ำ อันเป็นต้นแบบบ้านลอยน้ำสำหรับใช้เป็นที่พักอาศัยฉุกเฉินสำหรับผู้ประสบภัย เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอิสตันบูล อันเนื่องมาจากสาเหตุที่ประเทศตุรกีเป็นประเทศที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง
ผ่านการดีไซน์ให้เป็นโครงสร้างแบบพับได้ สามารถพักอาศัยได้ถึง 6 คน ทำจากเหล็กน้ำหนักเบาที่สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโครงสร้างภายในแบ่งเป็นพื้นที่ 2 ชั้นสำหรับใช้พักอาศัย โดยด้านบนเป็นพื้นที่ของห้องนอนที่ประกอบด้วยเฟอร์นิเจอร์เตียงจากไม้อัดสนและบันไดสำหรับใช้งานขึ้นลงภายในบ้านและพื้นด้านล่างจะแบ่งเป็นพื้นที่ห้องน้ำและอ่างล้างหน้า สำหรับให้ผู้อาศัยสามารถใช้งานได้อย่างครบครัน
นอกจากนี้ในส่วนของฐานของบ้านลอยน้ำทำจากคอนกรีตแบบเบา สำหรับใช้เป็นทุ่นลอยน้ำ เพื่อรองรับน้ำหนักและผูกยึดกับบ้านลอยน้ำ ปัจจุบันโปรเจกต์ Fold and Float ได้รับการพัฒนาสำหรับโครงการ Hope On Water ที่งาน Istanbul Design Biennial in 2018 และสร้างขึ้นด้วยข้อมูลจากนักศึกษาวิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรมและสังคมวิทยา โดยมีการติดตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Rahmi M. Koç ของเมือง
โปรเจกต์การออกแบบบ้านลอยน้ำ Fold and Float ถือได้ว่าเป็นบ้านลอยน้ำที่ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้ประสบภัยพิบัติ ใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อรอการฟื้นฟูบ้านเรือนขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการก่อสร้างพอสมควร
Source
https://www.urdesignmag.com/architecture/2019/01/09/so-prototype-floating-shelter- https://archello.com/project/fold-float