ก้าวเข้าไตรมาสที่ 3/65 กันแล้วในเดือนกันยายน 2565 BuilderNews ชวนทุกคนมาอัปเดตความเปลี่ยนแปลงสำหรับแวดวงธุรกิจก่อสร้าง-อสังหาริมทรัพย์กันหน่อย มีอะไรที่น่าจับตามองและมีอะไรที่น่าสนใจบ้างในช่วงนี้

ฝน: เรื่องธรรมชาติที่อาจส่งผลกว่าที่คุณคิด

เมื่อลงทุนก่อสร้างโครงการต่าง ๆ สิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือการควบคุมระยะเวลาให้เสร็จตามที่ตั้งไว้ สำหรับปีนี้ที่ฝนตกไวขึ้นและนานขึ้น นายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เห็นว่าจะทำให้เกิดความไม่ราบรื่นจนงานก่อสร้างช้าลงบ้างในช่วงที่ผ่านมา ก็ต้องมีการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้ส่งมอบโครงการได้ตามแผนงาน

“วิกฤติซ้อนวิกฤติ” ยังเป็นเรื่องต้องจับตา

ปรับกลยุทธ์การจัดการต้นทุนกันให้ดี เพราะสถานการณ์วิกฤติซ้อนวิกฤติที่เริ่มมาได้ช่วงใหญ่แล้วนับแต่สงครามรัสเซีย – ยูเครน เกิดขึ้นสมทบวิกฤติโรคโควิด-19 ระบาด ยังคงส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัสดุและการดำเนินงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก คอนกรีต และน้ำมัน นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL ยังเสริมว่าปัญหาที่เกิดขึ้นยังมีเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ภาวะเงินเฟ้อ และค่าแรงก่อสร้างที่มีแนวโน้มปรับตัวอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม ‘วิกฤติซ้อนวิกฤติ’ ของธุรกิจก่อสร้าง – อสังหาฯ: ที่มาและทางออก? https://www.buildernews.in.th/happening-cat/46431

 

รัฐ: โครงการและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

ย้อนกลับไปในไตรมาสที่ 2 การขับเคลื่อนลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐส่งผลให้ผลประกอบการของทางบริษัท สมาร์ทคอนกรีต จำกัด ปรับตัวดีขึ้น ดังที่นายรังสี ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาร์ทคอนกรีต จำกัด (มหาชน) (SMART) ได้เปิดเผยไว้ ด้วยโครงการอย่าง โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานของหน่วยงานราชการ อาคารสำนักงานศาลยุติธรรม อาคารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ งานโครงการรถไฟฟ้า งานอาคารโรงพยาบาล และที่สำคัญคือโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เช่นนิคมอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัยโดยรอบ และการสร้างบรรยากาศและภูมิทัศน์ภายในพื้นที่โครงการ ไตรมาสที่ 3 นี้ โครงการก่อสร้างต่าง ๆ จึงยังเป็นปัจจัยสำคัญอยู่ คือในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่มีการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารที่พักอาศัยเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยจากภาครัฐคือนโยบายการเปิดประเทศ ที่กระตุ้นให้ธุรกิจภาคบริการ การท่องเที่ยวเร่งปรับปรุง-ต่อเติม เช่นโรงแรม รีสอร์ต ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และห้างสรรพสินค้า

Source

Previous articleย้อนไทม์ไลน์! รุกป่าสงวนฯ ม่อนแจ่ม สู่การจัดระเบียบและรื้อถอน บทเรียนที่ไร้การจดบันทึก?
Next articleเปิดตัว Harmony Wazzadu กลุ่มเครือข่ายพันธมิตร 7 บริษัทชั้นนำด้านวัสดุก่อสร้าง ผนึกกำลังพลิกโฉมวงการก่อสร้างในไทย