Hawaii ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เริ่มพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก เหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะมีความเป็นเกาะที่โดดเดี่ยวกลางทะเล จึงต้องพึ่งการนำพลังงานฟอสซิลเข้ามาใช้งาน และท่ามกลางแหล่งธรรมชาติของพลังงานธรรมชาติอย่างภูเขาไฟและพลังงานความร้อน ที่สะสมอยู่ในมหาสมุทร
Hawaii ได้เริ่มวิสัยทัศน์เรื่องพลังงานโดยตั้งเป้าที่จะเป็นเกาะที่ใช้พลังงานทดแทน 100% ภายในปี 2045 รวมทั้งได้ดำเนินการติดตั้งระบบพลังงานจากลม ร่วมกับระบบ Grid ให้บริการพลังงานระบบ Solar Cell บนหลังคาบ้าน และระบบใหม่ล่าสุด ได้แก่ ระบบการถ่ายทอดพลังงานความร้อนของมหาสมุทรแบบปิด “First Fully Closed-Cycle Ocean Thermal Energy Conversion” หรือ OTEC แห่งแรกในสหรัฐอเมริกา
โดยหลักการของ OTEC ได้แก่ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากความแตกต่างของอุณหภูมิที่ระดับผิวหน้าของมหาสมุทรและก้นมหาสมุทร โดยเจ้าเครื่องมือที่ว่าพึ่งติดตั้งเสร็จ จะทำหน้าที่ปั๊มน้ำที่มีอุณหภูมิอุ่นกว่า และขณะเดียวกันปั๊มน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าน้ำกับมหาสมุทรจะทำงาน โดยผลที่ได้ก็คือไอน้ำที่จะไปหมุน Turbine ที่จะไปปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ โดยเจ้า OTEC นี้มีกำลังผลิตที่ 105 kW เทียบได้กับกำลังไฟฟ้าสำหรับบ้านเรือน 120 หลังคาเรือน ที่จะใช้ภายในระยะเวลา 1 ปี
ดูเหมือนจะเป็นกำลังผลิตที่ไม่มาก แต่ก็นับว่าเป็นแนวคิดหลักสำหรับพลังงานในประเภทเดียวกัน โดยพลังงานดังกล่าว จะนำไปใช้ในศูนย์วิจัยทางสมุทรศาสตร์ เพื่อเป็นตัวแทนสำหรับเกาะอื่น ๆ เช่น โอกินาว่า และกวม ต่อมา Makai ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตได้ลงนามในการพัฒนาอุปกรณ์ Plant 1 MW บนเกาะคิวชู ในประเทศญี่ปุ่นและกำลังร่วมมือกับ Lockheed Martin ในการพัฒนาระบบขนาด 100 MW ในฮาวายและกวม ซึ่งจะมีกำลังผลิตเทียบเท่ากับบ้านเรือน 100,000 หลังคาเรือน ในราคาค่าไฟฟ้าที่ถูกมาก โดยคาดว่าจะมีราคาแค่ 20 เซ็นต์ต่อ kWh หรือประมาณ 7.15 บาทต่อ kWh
ซึ่งเทคโนโลยีนี้นับว่าปลอดภัยกว่าชนิดอื่นๆ ที่พยายามใช้พลังงานจากมหาสมุทร ทั้งในแง่ความมั่นคงทางพลังงาน เพราะสามารถผลิตพลังงานได้ในทุกสภาวะอากาศทั้งกลางวัน-กลางคืน