“สัปปายะสภาสถาน” รัฐสภาแห่งที่ 3 ของไทย เป็นอาคารสถาปัตยกรรมรูปทรงใหม่ แทรกด้วยศิลปกรรมไทยตามความเชื่อทางศาสนา “หลักไตรภูมิ” ผสมผสานด้วย “เทคโนโลยีการก่อสร้าง” ที่ทันสมัย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมมีกำหนดเปิดใช้งานวันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 จำต้องเลื่อนกำหนดการอย่างไม่มีกำหนด

วันนี้ BuilderNews รวบรวมข้อมูลและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับรัฐสภาแห่งนี้มาฝากกัน

  1. วงเงินในการก่อสร้างทั้งหมด 22,987 ล้านบาท
  2. วงเงินในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาและอาคารประกอบเดิม 12,280 ล้านบาท
  3. ตามสัญญาเดิมจะใช้เวลาก่อสร้าง 900 วัน
  4. มีการขอขยายสัญญาการก่อสร้าง ออกไป 4 ครั้ง รวม 1,864 วัน ครั้งที่ 1 – 378 วัน, ครั้งที่ 2 – 421 วัน, ครั้งที่ 3 – 678 วัน และ ครั้งที่ 4 – 382 วัน
  5. นับตั้งแต่วันลงเสาเข็มจนถึงวันเปิดใช้งานเต็มรูปแบบจริง (8 มิ.ย. 2556-1 พ.ค. 2564) กินเวลาถึง 2,883 วัน ซึ่งล่าช้ากว่าเดิมถึง 3 เท่าตัว
  6. ชิโน-ไทยฯ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจาก ส.เลขาธิการสภา กรณีส่งมอบพื้นที่ล่าช้าเป็นจำนวน 1,590 ล้านบาท
  7. ค่าปรับต่อวัน ในการก่อสร้างล่าช้า 12 ล้านบาท
  8. ในการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้ไม้สักมากถึง 5,018 ต้น ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ใช้สอยรวมกันคิดเป็นสนามฟุตบอล 39 สนาม
  9. 14 สิงหา 62 วิปรัฐบาล นำโดยชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ควักเงินส่วนตัวซื้อ 5,000 บาท เพื่อซื้อวิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องละ 500 บาท จำนวน 10 เครื่อง วางตามจุดต่าง ๆ ในสภา เพื่อแก้ปัญหา ส.ส. กลับเข้าประชุมไม่ทัน
  10. 1 กันยา 2563 ฝนถล่มหนักทั่วกรุงเทพฯ ส่งผลให้รัฐสภาหลังคารั่ว เป็นเหตุให้น้ำท่วมขังเต็มพื้นที่ชั้น 1 ของอาคารรัฐสภาฝั่ง สว. จนเจ้าหน้าที่ต้องทำลายลูกบิดประตูเพื่อระบายน้ำ
  11. สัปปายะสภาสถาน ความหมายคือ “สบาย, สถานที่ประกอบกรรมแต่กรรมดี” แต่ตลอดเส้นทางการก่อสร้าง กลับเต็มไปด้วยข้อครหาเรื่องความไม่โปร่งใส ทุจริต และล่าช้า ไม่ตรงต่อเวลา
  12. มีข้าราชการไม่ต่ำกว่า 3 ราย ถูกเด้งออกจากตำแหน่งเพราะเหตุทุจริตเกี่ยวกับการก่อสร้าง
  13. มีการเปรียบเทียบการก่อสร้างหน่วยงานราชการในลักษณะเดียวกัน เช่น ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ มีพื้นที่เพียง 449 ไร่ ใช้เวลาราว 8 ปี (พ.ศ.2548-2556) และใช้งบประมาณเพียง 19,000 ล้านบาท
  14. แต่รัฐสภาแห่ง มีพื้นที่เพียง 6 ไร่ งบเดิมตั้งไว้ที่ 12,000 บาท แต่จากความยืดเยื้อบานปลายกว่า 8 ปี ทำให้งบแตะ 2 หมื่นล้าน
  15. มหากาพย์รัฐสภาแห่งใหม่กินเวลายาวนานถึง 5 นายกฯ 6 รัฐบาล ตั้งแต่ยุคนายสมัคร สุนทรเวช, นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และมาสิ้นสุดในยุค พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  16. มหากาพย์รัฐสภาแห่งใหม่ผ่านการเปลี่ยนประธานสภาถึง 4 คน ตั้งแต่นายชัย ชิดชอบ (ผู้เลือกทำเล), นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์, นายพรเพชร วิชิตชลชัย และนายชวน หลีกภัย
  17. นายชวน หลีกภัยเป็นประธานสภาคนแรกที่ได้ทำหน้าที่ในรัฐสภาหมื่นล้านแห่งนี้
  18. 1 พฤษภา 64 เป็นกำหนดการส่งมอบพื้นที่และเปิดใช้งาน 100% แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เลื่อนการส่งมอบออกไปอย่างไม่มีกำหนด

 

ที่มาข้อมูล: BBC Thai, Voice TV, DDproperty, Thaipost, Thairath, กรุงเทพธุรกิจ

Previous article‘all(zone)’ กับงานออกแบบ ‘POWWOWWOW Bangkok’ เปลี่ยนแปลงพื้นที่แฮงเอาท์
ในเมืองป่าคอนกรีต ให้เต็มไปด้วยพื้นที่โอเอซิส
Next article‘เมืองซองโด’ ต้นแบบ ‘สมาร์ทซิตี้’
เมืองใหม่ของเกาหลีใต้ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ