old senior asian friends retired people hapiness positive laugh smile conversation together at living room at nursing home Seniors participating in Group Activities in Adult Daycare Center

สถานการณ์โลกในปัจจุบันทุกคนเริ่มหันมาสนใจและเริ่มปรับตัวเพื่อรับมือกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทั้งการวางแผนด้านการเงิน การดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับการใช้ แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในบ้านนั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกสบายเป็นหลัก

นวัตกรรมเพื่อรับมือสังคมผู้สูงอายุจากงานสถาปนิก’66

แม้จะผ่านไปแล้วกับงานสถาปนิก’66 แต่ Builder News ขอนำภาพบรรยากาศและเทคโนโลยีภายในงานมาให้ทุกคนได้ชมว่ามีอะไรน่าสนใจและตอบโจทย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นอกจากจะชวนให้หายคิดถึงกันแล้วยังได้ไอเดียใหม่ ๆ ไว้ใช้รีโนเวทบ้านให้พร้อมรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ  แต่ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นที่ต่าง ๆ ของบ้าน เมื่อเรารู้แล้วว่าควรปรับปรุงพื้นที่ส่วนไหนของตัวบ้านต่อไปเราจะพาทุกคนมาย้อนรอยตามหาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์จากงานสถาปนิก’66 กัน

มาดูกันว่ามีนวัตกรรมอะไรน่าสนใจบ้าง

เปิดประตูสู่ความปลอดภัย

empty glass door in living room interior background

เริ่มจากประตูที่เหมาะกับกับบ้านที่มีผู้สูงอายุควรเป็นประตูบานเลื่อนแบบไม่มีธรณีประตูและควรมีความกว้างประมาณ 90 – 120 ซม. หากเป็นประตูกระจกไม่ควรติดตั้งทางทิศตะวันตกเพราะในช่วงเวลาบ่ายอาจทำให้แสงส่องเข้าบ้านและทำให้อุณหภูมิในบ้านสูงขึ้น รวมทั้งประตูคือด่านแรกในการรักษาความปลอดภัยของบ้านจะต้องกรองทั้งแสงและฝุ่นได้ดี

นวัตกรรมประตูภายในงานสถาปนิก’66

  • TOSTEM: Grants series –Corner Sliding Door ประตูบานเลื่อนเข้ามุมที่ดีไซน์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เชื่อมต่อกับธรรมชาติได้อย่างอิสระ ไร้สิ่งกีดขวาง

  • GLASTEN: GLASTEN SLIDING DOOR (GS95) ระบบประตูบานเลื่อน ลูกล้อโครงสร้างสเตนเลสและโพลิเมอร์

  • MODERNGLASS: Slim Sliding Doors กันเสียง ป้องกันความร้อนและรังสีอัลตราไวโอเลต รางด้านล่างออกแบบเป็นรูปทรงลาดเอียง ไร้ซึ่งสิ่งกีดขวาง

ปูพื้นด้วยวัสดุที่เหมาะสม

Render of 3D contemporary Living Room Interior and modern furniture

ส่วนพื้นของบ้าน ควรเรียบเสมอกันไม่มีรอยต่อของวัสดุที่โดดออกมาซึ่งอาจทำให้เกิดการสะดุดระหว่างการเดินได้ หลีกเลี่ยงวัสดุปูพื้นที่มีความลื่นเพราะจะทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มภายในบ้านได้ หากในกรณีที่มีผู้บกพร่องทางการมองเห็นควรเพิ่มฟังก์ชันปุ่มพื้นผิวต่างสัมผัสเพื่อเป็นสัญลักษณ์เตือนอันตรายจากทางต่างระดับ

วัสดุปูพื้นที่มาพร้อมเทคโนโลยีทันสมัยในงานสถาปนิก’66

  • MINIMA HOUSE: พื้นไม้เทียม กันน้ำ กันรอย ทำความสะอาดง่าย

  • THAI-GERMAN: COREPEL แก้ไขปัญหาพื้นเปียก พื้นเป็นรอยและ มีผิวสัมผัสไม่แข็งจนเกินไปเหมาะกับผู้สูงอายุ

  • UNI DESIGN: นำเข้าและผลิตแผ่นทางเดินผู้พิการทางสายตาประเภทแผ่นยาง, แผ่นสเตนเลสและแผ่นทางเดินหินแกรนิต

ปรับห้องน้ำลดอุบัติเหตุ

ในส่วนของห้องน้ำเป็นสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ดังนั้นการออกแบบภายในห้องน้ำควรคำนึงถึงพื้นที่ที่ไม่เล็กแคบจนเกินไปเพื่อรองรับในกรณีที่ต้องใช้วีลแชร์หรือการติดตั้งอุปกรณ์เสริม อาทิเช่น ราวจับ และควรมีการแบ่งสัดส่วนระหว่างพื้นที่เปียกน้ำและแห้งอย่างชัดเจน พื้นที่สำหรับอาบน้ำควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1.1 เมตร และควรมีที่นั่งสำหรับอาบน้ำสูงไม่เกิน 45 -50 ซม. หรือราวจับพยุงอยู่สูงจากพื้น 65- 70 ซม. และควรเลือกโถสุขภัณฑ์สูงไม่เกิน 45-50 ซม. และควรเลือกวัสดุปูพื้นในห้องน้ำที่มีค่าความเสียดทานที่เหมาะสม

สุขภัณฑ์ดีไซน์ทันสมัยใช้งานง่ายในงานสถาปนิก’66

  • KARAT: ECT-02-120-11 “VULCAN”โถสุขภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ ปรับแรงดันน้ำได้ 4 ระดับ ฟังก์ชัน One-Touch ครบจบทุกการใช้งาน

  • COTTO: VIZIO สุขภัณฑ์อัตโนมัติที่ครบครันด้วยฟังก์ชันการใช้งานเพื่อความสะอาด สะดวก สบาย ด้วยระบบชำระล้างเป็นแบบ V-Silent (วีไซเลนท์) ไร้เสียงรบกวน

  • CRISTINA: อ่างอาบน้ำรุ่น BELLA 12072 เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย ตอบสนองการใช้งานโดยคำนึงถึงความสะดวก และความปลอดภัย

เปลี่ยนสภาพแวดล้อม เพิ่มความปลอดภัยในห้องนอน

ห้องนอนเป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อน สำหรับผู้สูงอายุภายในห้องนอนควรออกแบบให้มีแสงสว่างที่เพียงพอไม่จ้าจนเกินไป หากติดตั้งไฟแบบ SMART LIGHT ที่สามารถเปิดปิดไฟได้อัตโนมัติได้จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ติดตั้งหน้าต่างในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดีหรือควรเพิ่มเครื่องฟอกอากาศเพื่อเพิ่มอากาศที่บริสุทธิ์

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์แสงสว่างและระบบระบายอากาศในงานสถาปนิก’66

  • LEDONHOME: ถนอมสายตา ไม่มีรังสี UV ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

  • KARISMA LIGHTING: นวัตกรรมไฟที่ตอบโจทย์ทั้งคุณภาพและดีไซน์ สามารถผลิตและออกแบบได้ตามที่คุณต้องการซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาด้าน Lighting โดยเฉพาะ

  • L&E: ICON LINK ระบบ SMART LIGHT ที่จะช่วยให้ควบคุมแสงสว่างด้วยระบบไร้สายเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัย

  • SCG: SCG Active AIR Quality โซลูชั่นที่จะช่วยในเรื่องของการกรองฝุ่นและกำจัดฝุ่น PM 2.5 และป้องกันเชื้อโรคภายในบ้าน

ในส่วนของเตียงนอนและเฟอร์นิเจอร์ ควรวางเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นระเบียบ ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งยื่นออกมาให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้พื้นที่ ควรมีสีที่ตัดกับสภาพแวดล้อมภายนอก ไม่ควรต่ำและนิ่มจนเกินไปเพราะทำให้ต้องใช้แรงในการพยุงร่างกายอาจทำให้ร่างกายได้รับการบาดเจ็บได้

เฟอร์นิเจอร์น่าใช้ในงานสถาปนิก’66       

  • ZEDER: เตียงรุ่น MESSETO หัวเตียงปรับองศาได้สูงสุด 90 องศาเพื่อรองรับสรีระในตำแหน่งที่เหมาะสม

  • GRATIA: เฟอร์นิเจอร์ Built – In ยกระดับคุณภาพชีวิตที่จะสร้างความสะดวกสบายที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ SMART HOME ช่วยควบคุมระบบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

  • MR.BIG: แผ่นรองนอนที่จะมาช่วยแก้ปัญหาแข็งไปหรือนุ่มไปของที่นอน ปรับผิวหน้าที่ให้รับกับร่างกาย หมดปัญหาเรื่องปวดหลัง

เปลี่ยนการขึ้นลง ลดอันตรายภายในบ้าน

ในกรณีที่ที่อยู่อาศัยมีมากกว่าหนึ่งชั้นการใช้บันไดอาจไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุอีกต่อไป
บางครอบครัวเลือกที่จะสร้างห้องสำหรับผู้สูงวัยไว้ชั้นแรกของตัวบ้านเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการขึ้นลง แต่บางครอบครัวอาจเลือกติดตั้งลิฟต์บ้านเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานของผู้สูงอายุหรือผู้ที่จำเป็นต้องใช้วีลแชร์

ลิฟต์บ้านทันสมัยในงานสถาปนิก’66

  • ARITCO: ลิฟต์บ้านดีไซน์ทันสมัยที่มาพร้อมลูกเล่นใหม่อย่างการออกแบบวอลเปเปอร์และการเล่นแสงด้วยระบบ Interactive Lighting เพิ่มความสวยงามให้ตัวบ้าน

  • CIBES: ลิฟต์บ้านที่เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนพร้อมดีไซน์สุดหรูเหนือระดับที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้าน

  • ELE-MART: ลิฟต์บ้านที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตภายในบ้านสะดวกขึ้นและมอบที่ดีไซน์ที่เข้ากับตัวบ้าน

นอกจากนี้ภายในงานยังมีนวัตกรรม DoCare จาก SCG ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์และบริการพร้อมระบบเชื่อมต่อทางไกลที่จะมาช่วยดูแลในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัยของผู้สูงอายุในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหกล้มระบบเซนเซอร์จะทำการส่งสัญญาณแจ้งเตือนทันทีและยังมีระบบเซนเซอร์ตรวจจับขโมยอีกด้วย

 

ใครที่ไม่ได้มางานสถาปนิก’66 อย่าเพิ่งเสียใจ

สำหรับงานในปี 2567 นั้นบอกเลยว่าเราจะกลับมาอีกครั้งพร้อมกับไฮไลท์พิเศษอีกมากมายและคอนเซปต์ใหม่ที่อยากให้ทุกคนได้รอติดตามชม บอกเลยว่าดีงามไม่แพ้ปีนี้อย่างแน่นอน แล้วพบกันใหม่ปีหน้ากับงาน “สถาปนิก’67” ในวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567

สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://architectexpo.com/ และทาง FACEBOOK งานสถาปนิก : ASA EXPO

Previous articleSCG HOME Experience Open House 2023 เปิดตัวดรีมทีมสถาปนิกใหม่ พร้อมประกวดแบบบ้านเพื่อการอยู่อาศัยจริงจาก Young Designer
Next articleย้อนรอยงานสถาปนิก’66 : ผลิตภัณฑ์เอาใจพ่อบ้าน-แม่บ้านแห่งศตวรรษที่ 21