ทุกการเข้าออกไม่ว่าจะเป็นบ้านหรืออาคารขนาดใหญ่เราล้วนแล้วมองหาประตูทั้งสิ้น เพราะประตูเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยป้องกันผู้อาศัยและทรัพย์สินภายในบ้านรวมทั้งเป็นปราการด่านแรกของบ้านตั้งแต่ประตูรั้วจนถึงประตูห้องต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน

และถึงแม้ว่าจะเป็นบ้านหรืออาคารเดียวกันแต่การใช้งานและพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ก็อาจจำเป็นจะต้องเลือกประเภท ชนิดและขนาดของประตูที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ ซึ่งคุณสมบัติของประตูขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ดังนั้นเราจึงควรทำความรู้จักกับวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาประกอบเป็นประตูหนึ่งบานว่ามีอะไรบ้าง

  1. ประตูไม้จริง

วัสดุธรรมชาติที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับรูปแบบบ้านได้หลากหลายสไตล์จากโทนสีของไม้ที่แตกต่างกัน สำหรับไม้ที่นิยมนำมาทำประตูคือ ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้โอ๊ก เนื่องจากเป็นไม้เนื้อแข็งทำให้ประตูบ้านมีความแข็งแรงทนทาน แต่ข้อเสียสำหรับประตูไม้คือหากได้รับความชื้นประตูไม้จะหดและขยายออก หรือหากใช้งานเป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อการเกิดปลวกได้

  1. ประตูไม้ WPC

ประตูไม้ Wood Plastic Composite หรือ WPC ทำมาจากไม้ผสมกับพอลิเมอร์หลายชนิด เป็นการนำคุณสมบัติด้านโครงสร้างเส้นใยที่แข็งแรงของไม้มารวมกับความสามารถในการกันความชื้นและไม่ดูดซึมน้ำของพอลิเมอร์ ข้อดีของการใช้ประตูไม้ชนิดนี้คือหมดปัญหาเรื่องปลวก ทนความชื้นได้ดี ส่วนข้อด้อยคือประตูไม้ WPC จะดัดแปลงและปรับใช้งานได้ยากเนื่องจากรูปแบบของประตูที่ขึ้นรูปมาโดยเฉพาะ

  1. ประตูไม้อัด HDF

ประตูไม้อัด HDF (High Density Fiber) ทำมาจากการนำเศษไม้ขนาดเล็กมาผสมกับเรซินแล้วอัดด้วยความร้อนสูง ทำให้ประตูไม้อัดมีลักษณะเฉพาะตัวคือความเบาแต่ความหนาแน่นของประตูต่ำจึงเกิดความเสียหายจากแรงกระแทกได้ง่าย

  1. ประตูไม้เอนจิเนียร์

สำหรับประตูไม้เอนจิเนียร์ คือประตูที่ทำมาจากการขึ้นโครงสร้างไม้จริงผสมกับไม้อัดแล้วใช้ไม้วีเนียร์ในการฉาบหน้าประตู ไม้วีเนียร์คือเยื่อไม้แผ่นบาง ๆ นิยมนำมาใช้เพื่อสร้างความสวยงาม ข้อดีคือมีความแข็งแรงเท่าไม้จริงและมีลวดลายเฉพาะ

  1. ประตูไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์

ประตูไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์ ทำจากแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมกับเยื่อของต้นไม้และทรายซิลิกา ประตูไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์มีความทนทานต่อความชื้นเนื่องจากแผ่นซีเมนต์บอร์ดมีคุณสมบัติกันความชื้น ข้อดีคือประตูประเภทนี้มีความยืดหยุ่นไม่ยืดหดตัวเมื่อได้รับความชื้นแต่ด้วยความหนาแน่นของแผ่นซีเมนต์บอร์ดต่ำอาจทำให้ประตูแตกหักง่าย

  1. ประตู PVC

ทำจากวัสดุสังเคราะห์ โดยมีโครงสร้างภายในแตกต่างกันตามแต่ละผู้ผลิต แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นเหล็กหรืออะลูมิเนียมเป็นหลักเพราะมีน้ำหนักเบา ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่เพราะโครงสร้างที่กลวงจึงทำให้รับน้ำหนักได้น้อยและไม่ทนต่อความร้อน

  1. ประตู UPVC

ประตูยูพีวีซีเป็นการพัฒนามาจากประตูพีวีซีและมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของโครงสร้าง โดยโครงสร้างของประตูยูพีวีซีสร้างจากไม้ WPC ที่มีความแข็งแรงมากกว่าประตูพีวีซีแต่ยังคงรับแรงกระแทกได้น้อย ซึ่งประตู UPVC มีความสามารถในการเก็บเสียงและป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก ทนต่อสภาพอากาศ กันน้ำและกันชื้นได้ดี

  1. ประตูอะลูมิเนียม

ทำมาจากการขึ้นโครงประตูอะลูมิเนียมและนำกระจกมาติดบริเวณช่องว่างของโครงประตู เหมาะกับบ้านที่ต้องการความโปร่ง โล่งสบายข้อดีคือมีน้ำหนักเบาสามารถทนทานต่อสภาพอากาศ ดูแลรักษาง่าย ข้อเสียคือเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่ายเนื่องจากมีส่วนประกอบเป็นกระจก

empty glass door in living room interior background

ประเภทของประตู

  1. ประตูบานเปิด

ประตูบานเปิดเป็นประตูที่นิยมใช้ทั่วไปสามารถติดตั้งได้เกือบทุกตำแหน่งของบ้านโดยไม่จำเป็นต้องปรับโครงสร้างของบ้าน หากเป็นบ้านหรือห้องภายในอาคารที่มีพื้นที่น้อยไม่ควรติดตั้งประตูบานเปิดเพราะการเปิดประตูต้องใช้พื้นที่ด้านหน้า

  1. ประตูบานเลื่อน

ลักษณะการใช้ประตูเลื่อนคือการเลื่อนไปด้านข้าง ซึ่งจะต้องติดตั้งรางสำหรับเลื่อนไว้ด้านบนหรือด้านล่างบานประตู ประตูบานเลื่อนเหมาะสมกับห้องนอนหรือบ้านที่มีพื้นที่ไม่มากนัก ดังนั้นการเลือกใช้ประตูบานเลื่อนจึงทำให้มีพื้นที่เหลือ

  1. ประตูบานสวิง

ประตูบานสวิงสามารถเปิดเข้าออกได้สองฝั่ง โดยลักษณะการเปิดจะคล้ายกับประตูบานเปิด ประตูบานสวิงเหมาะสมสำหรับห้องหรือพื้นที่ที่ห้องมีการเข้าออกบ่อยครั้ง และเหมาะสำหรับบ้านหรืออาคารที่มีพื้นที่จำนวนมาก

  1. ประตูบานเฟี้ยม

เป็นการเปิดในลักษณะการพับเข้าหากันไปด้านใดด้านหนึ่ง จุดเด่นของประตูบานเฟี้ยมคือการขยายและเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างห้อง ช่วยให้ห้องมีความกว้างมากขึ้น

เทคนิคในการเลือกประตูบ้านให้ตรงตามความต้องการ

สิ่งหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือตำแหน่งที่ตั้งของประตูเพราะจะช่วยให้เราสามารถคำนวณขนาดและวัสดุของประตูได้เหมาะสมต่อการใช้งาน อย่างการเลือกประตูสำหรับภายนอกบ้านหรือนอกอาคารควรเลือกเป็นประตูที่ทนความชื้นและทนทานต่อสภาพอากาศอย่างประตู WPC

ส่วนประตูสำหรับภายในนั้นควรเลือกตามพื้นที่ภายในบ้านหรืออาคาร เช่น หากต้องการประหยัดพื้นที่ภายในบ้านควรเลือกใช้ประตูบานเลื่อน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงห้องต่าง ๆ ด้วยว่าเหมาะกับประตูประเภทใดโดยเราจะเลือกประตูตามประเภทของห้อง เช่น ประตูห้องน้ำ ควรเลือกประตู UPVC หรือประตู PVC เนื่องจากห้องน้ำเป็นพื้นที่ส่วนที่มีความชื้นสูง ประตูห้องนอนควรเลือกประตูที่มีอายุการใช้งานในระยะยาว แข็งแรง ทนทานและสามารถป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้เพื่อให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพ

และในงานสถาปนิก’ 66 นั้นมีแบรนด์ประตูชั้นนำมากมายที่ได้นำผลิตภัณฑ์มาร่วมโชว์ภายในงานนอกจากฟังก์ชันที่ทันสมัยและตอบโจทย์การใช้งานแล้วในเรื่องของงานดีไซน์ก็ล้ำสมัยไม่แพ้กัน ยกตัวอย่างเช่น

  • ALUFRAME

  • ECO-DOOR

  • GLASTEN

  • ISHIMOK

  • KEEREE & KTHWOOD

  • TOSTEM

  • TS-TEAK

  • WINDOS

  • SMART GLASS

  • YKK AP

และเพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ก่อสร้างคุณภาพดีมาแค่ที่เดียวแต่ได้ครบจบทุกเรื่องบ้านจึงกลับมาอีกครั้งกับงานสถาปนิก’67 ที่พร้อมจะขนทัพเทคโนโลยีจากทั้งไทยและต่างประเทศมาไว้ในงานและไม่พลาดกับไฮไลท์สุดพิเศษอีกมากมาย

แล้วพบกันใหม่ปีหน้ากับงาน “สถาปนิก’67” ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567 สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://architectexpo.com/ และทาง FACEBOOK งานสถาปนิก : ASA EXPO

 

Previous articleย้อนรอยงานสถาปนิก’66: เล่าประวัติศาสตร์ผ่านการออกแบบ-ผู้คน-ชุมชน
Next articleThe Pomelo Amphawa: ชมทิวทัศน์และสัมผัสธรรมชาติริมแม่น้ำบนอัฒจันทร์คอนกรีต