สุดยอดสถาปนิกไทย คว้ารางวัลงานดีไซน์ระดับโลก จากการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชน

0
“เอสซีจี” ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง นำโดย คุณอนุวัตร เฉลิมไชย แบรนด์ไดเร็คเตอร์ ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของ 2 สุดยอดสถาปนิกชั้นนำในโอกาสที่คว้ารางวัลด้านงานดีไซน์ระดับโลก จากการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ “A Place We Stand Showcase @บางแสน” ภายใต้โครงการ “A Place We Stand...

12 สุดยอดผลงานสถาปัตยกรรม โดย Alejandro Aravena สถาปนิกรางวัล Pritzker Prize 2016

0
กำลังอยู่ในความสนใจสำหรับแวดวงสถาปัตยกรรมในช่วงนี้ สำหรับการประกาศผลรางวัล Pritzker Prize ประจำปี 2016 ซึ่งสถาปนิกชาวชิลี Alejandro Aravena เป็นผู้ครองตำแหน่งในปีล่าสุด จากผลงานการออกแบบที่โดดเด่นด้านความทันสมัย การเลือก facade ที่มีความสวยงามคงทนในระยะยาว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนายกระดับการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม และใช้งานออกแบบในการแก้ปัญหาความต้องการที่อยู่อาศัย Alejandro Aravena วัย 48 ปี มีผลงานการออกแบบในหลายประเทศ อาทิ ชิลี สหรัฐอเมริกา...

3 วิธีแก้ปัญหา เมื่อถนนสูงกว่าบ้านเรา

0
ปัญหาบ้านเบสิคที่มักเกิดกับตึกแถว หรือบ้านเก่าที่ตั้งอยู่ริมถนน คือปัญหาเสียงรบกวนและฝุ่นควันจากรถราที่ใช้เส้นทาง ถ้าใกล้ถนนสายหลักมีรถใหญ่วิ่งผ่าน บ้านจะสั่นไหวทำให้เกิดปัญหาบ้านร้าวได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อใดที่มีการเทปรับระดับความสูงถนนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๆ ก็ครั้งละประมาณหนึ่งฟุต หรือทำถนนใหม่ขึ้นมา พื้น บ้านชั้นล่างจะมีระดับต่ำกว่าถนนทันที ปัญหาจะเกิดเมื่อฝนตกหนัก น้ำระบายไม่ทัน ก็จะเอ่อไหลเข้าท่วมพื้นบ้านชั้นล่าง แม้บ้านบางหลังเตรียมรับมือปัญหานี้เอาไว้ล่วงหน้าด้วยการหล่อแนวขอบคัน คอนกรีตกั้นน้ำเตรียมไว้ ก็ยังมีน้ำซึมจากพื้นบ้านตามขอบมุมที่พื้นชนผนังและยาแนวกระเบื้องได้ ดังนั้นเมื่อถนนสูงกว่าบ้าน จะมีแนวทาง 3 ประการในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป 1. แก้ปัญหาบ้านโดยการปรับยกระดับพื้นบ้าน บางบ้านอาจทำการยกระดับพื้นบ้านชั้นล่าง ให้มีความสูงอย่างน้อยเท่ากับระดับถนน วิธีแก้ปัญหาบ้านวิธีนี้เหมาะกับระดับความสูงที่ต่างกันไม่มากนัก ประมาณครึ่งถึงหนึ่งฟุต เพราะเมื่อปรับพื้นบ้านสูงขึ้นย่อมทำให้ความสูงโดยรวมภายในห้องลดลง...

พลิกโฉมห้างเก่าแก่สุดของอเมริกา เป็น “micro apartment” ราคาประหยัด 48 ห้อง

0
นักพัฒนาที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก Evan Granoff เล็งเห็นความสวยงามของอาคารสไตล์ Greek Revival และประโยชน์ของโครงสร้างเดิมที่มีอยู่ ของศูนย์การค้าในร่ม Arcade Providence อายุเก่าแก่ที่สุดในอเมริกา ก่อสร้างตั้งแต่ปี 1828 ก่อนถูกปิดตัวลงไปเมื่อปี 2008 ที่ผ่านมา จึงซื้อต่ออาคารและคิดแผนรีโนเวทให้เป็นชุมชนอพาร์ทเม้นท์ขนาดกระทัดรัด จำนวน 48 ยูนิต สำหรับปล่อยเช่าในราคาประหยัด การรีโนเวทครั้งนี้ ได้บริษัทสถาปนิก Northeast Collaborative...

สถาปนิกชิลี “Alejandro Aravena” คว้ารางวัล Pritzker Prize ประจำปี 2016

0
การประกาศผลรางวัลอันทรงเกียรติด้านสถาปัตยกรรม Pritzker Prize ประจำปี 2016 คณะกรรมการคัดเลือกให้ สถาปนิกวัย 48 ปี จากซานติอาโก ประเทศชิลี "Alejandro Aravena" เป็นผู้ครองตำแหน่งในปีนี้ จากผลงานอันโดดเด่น ในความพยายามที่จะพัฒนายกระดับการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม และใช้งานออกแบบในการแก้ปัญหาความต้องการที่อยู่อาศัย Alejandro Aravena มีผลงานการออกแบบในหลายโครงการ ในชิลี สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก สาธารณรัฐประชาชนจีน และสวิตเซอร์แลนด์...

บางมด คว้ารางวัลชนะเลิศ การออกแบบชุมชนริมน้ำ โตนเลสาบ

0
เป็นที่น่ายินดีสำหรับโครงการประกวด ระดับนานาชาติ “ การออกแบบชุมชนริมน้ำ โตนเลสาบ” ณ ประเทศกัมพูชา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) ที่ได้คว้ารางวัลชนะเลิศไปครองสร้างความประทับใจกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นอย่างยิ่ง สำหรับผลงานชนะเลิศโครงการประกวด “การออกแบบชุมชนริมน้ำ โตนเลสาบ” ณ ประเทศกัมพูชาครั้งนี้ เป็นผลงานของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) ประกอบด้วย 1.นายพรเจริญ โอฬารรัตน์มณี...

Cai Guo-Qiang สร้างสรรค์ศิลปะดอกไม้ไฟ “Sky Ladder” ทอดสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า 500 เมตร

0
ศิลปินร่วมสมัยชื่อดังชาวจีน Cai Guo-Qiang ผู้มีชื่อเสียงด้านศิลปะดอกไม้ไฟ สร้างสรรค์ผลงานที่เรียกเสียงฮือฮาจากผู้ชม ด้วยผลงานชื่อว่า “Sky Ladder” เป็นดอกไม้ไฟขั้นบันได สูงทอดขึ้นไปบนฟากฟ้า 500 เมตร ในเวลา 150 วินาที งานศิลปะดอกไม้ไฟ “Sky Ladder” จัดแสดงที่หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ในเมืองฉวนโจว มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ Cai Guo-Qiang...

จุดตายสถาปนิกไทย: LOW FEE

ค่าแบบหรือค่าบริการวิชาชีพของสถาปนิกในประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแห่งที่ถูกที่สุดในโลกซึ่งคงเป็นกรรมเก่าที่ตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของสถาปนิกไทยเรา เหตุผลดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากสังคมไทยไม่ (เคย) เข้าใจและไม่อยากทำความเข้าใจกับบทบาทการทำงานของสถาปนิกมาตั้งแต่แรกเริ่มมีวิชาชีพสถาปนิก ทั้งที่เรามีสมาคมสถาปนิกสยามฯ มาตั้งเกือบ 75 ปีมาแล้ว เมื่อสังคมไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักบทบาทการทำงานของสถาปนิก ประชาชนก็จะไม่รับรู้ความยากลำบากในการทำงานของเราตั้งแต่การคิดแบบ การคิดโปรแกรม Concept และไม่เข้าขั้นตอนและวิธีการออกแบบ จัดทำแบบ เขียนแบบ และงานอื่น ๆ ที่ทำให้ความฝันของลูกค้ากลายเป็นจริงจนก่อสร้างแล้วเสร็จได้ เพราะงานนามธรรมพวกนี้ลูกค้าจะไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากเป็นกระบวนการทางความคิดที่อยู่ในหัวสมองของสถาปนิกเราเป็นหลัก ดังนั้นค่าแบบของสถาปนิกไทยเราจึงมักถูกประเมินผ่านเพียงสิ่งของรูปธรรม หรือเอกสารที่ลูกค้าจับต้องได้ก็คือ แบบบ้าน แบบอาคาร ภาพทัศนียภาพ...

นักจุลชีววิทยาชู “ชีวะคอนกรีต” ซ่อมแซมรอยร้าวเองได้ เพื่ออนาคตวงการก่อสร้าง

0
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ประเภท "คอนกรีต" ที่มีการใช้ในงานก่อสร้างมายาวนานกว่า 2,000 ปี ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ต่างพยายามค้นคว้าหาวิธีที่จะทำให้วัสดุประเภทนี้ มีความคงทนแข็งแรงมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ด้วยการนำความอัศจรรย์ทางธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ศาสตราจารย์ Henk Jonkers นักจุลชีววิทยา จากมหาวิทยาลัย Delft University of Technology ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า "ไม่ว่าการผสมคอนกรีตจะทำด้วยความระมัดระมัดหรือละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอนเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วคอนกรีตก็มักจะแตกร้าว ด้วยสาเหตุต่างๆ...

จุดตายสถาปนิกไทย: กำเนิดแห่งกรรม

สถาปนิกไทย ส่วนใหญ่มักถูกปลูกฝังผ่านหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนให้มีความชอบ และหลงรักในวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม หรือ Project Design มากกว่าวิชาเรียนอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัว ความรู้สึกนี้จะเข้มข้นขึ้นไปตามปีเรียนที่เพิ่มขึ้นจนพัฒนากลายไปเป็นความหลงรักอย่างหัวปักหัวปำ และกินไม่ได้นอนไม่หลับหากไม่ได้คิดแบบกันเลยทีเดียว ดังนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นการเรียนจนถึงการประกอบอาชีพ นักเรียนสถาปนิกและสถาปนิกทั้งหลาย จึงทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำแบบ การ Sketch แบบ ไปจนถึงการคิดแบบร่างให้เป็นแบบจริงกันอยู่ตลอดเวลา และเมื่อเราย้อนดูบรรดาสรรพหลักสูตรของสรรพสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมในบ้านเรา ยิ่งมองเห็นได้ชัดเจนว่า เราต้องการให้นักเรียนสถาปัตย์จบไปเป็นสถาปนิกที่ทำงานด้านออกแบบกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นแล้วไซร้ เนื้อหาหลักสูตรแทบทุกสถาบันจะเน้นหนักและให้ความสำคัญไปที่วิชาการออกแบบ (สถาปัตยกรรม)...

“AS2” เครื่องบินเร็วเหนือเสียงลำแรกของโลก ทดสอบเที่ยวแรก 2019

0
บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลก "Airbus" ร่วมมือกับบริษัทด้านอากาศยานสัญชาติสหรัฐ "Aerion Corporation" ผลิตเครื่องบินเจ็ตความเร็วเหนือเสียง Supersonic ชื่อว่า "AS2" เพื่อย่นระยะเวลาเดินทางให้กับบรรดานักธุรกิจกระเป๋าหนัก ทั้งนี้ บริษัท Airbus จะช่วยสนับสนุนงานทางด้านเทคนิค อาทิ เจ้าหน้าที่วิศวกรรมอาวุโส เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริษัท Aerion ในการสร้างเครื่องบินเร็วเหนือเสียงลำแรกของโลก ในขณะที่ Aerion จะรับผิดชอบการออกแบบด้านกลศาสตร์ สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการสร้างเครื่องบิน "AS2" ประมาณการไว้มากกว่า...

การบริหารจัดการอาคารสถานที่ Facility Management

0
การบริหารจัดการอาคารสถานที่มีความสำคัญอย่างไร? ถือเป็นการทำงานที่ทดแทนการเข้ามาดูแลอาคารสถานที่ในแบบเดิม ซึ่งได้แก่ งานดูแลรักษาอาคาร (Building Operation and Maintenance) งานจัดการอาคาร (Building Management) และยังครอบคลุมไปถึงการควบคุมประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการลงทุน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายในโครงการด้วย ลักษณะงานของการบริหารจัดการสถานที่มีตั้งแต่ การวางแผนควบคุม ประเมินผล รวมทั้งการจัดระบบฐานข้อมูลและการตรวจสอบ ดังนั้นในการบริหารจัดการอาคารจึงต้องมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มาดำเนินการในแต่ละด้าน เพื่อตอบสนองต่อการใช้สอยอาคารให้เกิดประโยชนสูงสุด เหมาะสม และสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรให้มากที่สุด โดยหลักการของ Facility Management ที่เป็นแนวคิดหลัก ๆ คือ...

การศึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ระดับปริญญา

0
“ปัจจุบัน การเรียนการสอนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี มี 4 หลักสูตร 2 สาขาวิชา คือ ด้านบริหารธุรกิจ และด้านวิทยาศาสตร์ ใน 3 มหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชนของประเทศ” ระดับปริญญาตรี จะแบ่งหลักสูตรการศึกษา 2 ลักษณะ คือ ด้านบริหารธุรกิจ และด้านวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ 1. หลักสูตรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี...

ยางแอสฟัลท์ หรือ ยางมะตอย กับคุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง

0
หากกล่าวถึงยางแอสฟัลท์หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าเป็นยางมะตอย ส่วนมากรู้จักดีว่าเป็นยางดำแข็งเหนียวที่เมื่อทำให้ร้อนแล้วจะหลอมละลายเป็นของเหลวนำไปราดบนหินเพื่อทำเป็นผิวทางลาดยาง เมื่อก่อนที่จะมีรถยนต์ เราใช้ม้าหรือรถม้าวิ่งสัญจรกันฝุ่นตลบ ต้องคอยใช้น้ำราดถนน บางทีก็ใช้ส่าน้ำตาลหรือน้ำมันเตาที่เหนียวมาราดบนถนนดินหรือลูกรัง เพื่อมิให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย มาถึงยุคใช้รถยนต์ที่วิ่งได้เร็วกว่า จึงมีการก่อสร้างถนนลาดยางโดยใช้แอสฟัลท์ราดบนหินที่อัดตัวกันแน่น เพื่อให้มีความแข็งแรงและไร้ฝุ่น จึงเป็นที่มาของคำว่าถนนราดยาง ต่อมาวิธีการก่อสร้างผิวทางเปลี่ยนมาเป็นการปูลาดผิวทางด้วยวัสดุแอสฟัลท์คอนกรีต จึงเรียกกันว่าถนนลาดยาง จริงเท็จประการใดคงต้องให้ผู้รู้ภาษาไทยดีมายืนยันอีกทีหนึ่ง ยางแอสฟัลท์ (asphalt) หรือ ไบน์เดอร์ (binder) เป็นศัพท์ที่ชาวอเมริกันใช้เรียกยางมะตอย แต่ชาวอังกฤษจะเรียกว่า บิทูเมน (bitumen) เป็นวัสดุที่เกิดในธรรมชาติและเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน มีแหล่งกำเนิดจาก...

มาตรฐานบันไดหนีไฟตาม พรบ.การควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

0
การสร้างบันไดหรือบันไดหนีไฟในอาคารนั้น ต้องมีมาตรฐานการสร้างบันได ตามพรบ.การควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนด มิเช่นนั้นหากละเลยอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารได้ ในอาคารขนาดใหญ่ อาทิ โรงมหรสพ หอประชุม โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หอสมุด ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ท่าอากาศยาน สถานีขนส่งมวลชน ที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงเกิน 1 ชั้น นอกจากมีบันไดตามปกติแล้ว จำเป็นต้องมีทางหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทาง...