สุดยอดสถาปนิกไทย คว้ารางวัลงานดีไซน์ระดับโลก จากการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชน
“เอสซีจี” ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง นำโดย คุณอนุวัตร เฉลิมไชย แบรนด์ไดเร็คเตอร์ ธุรกิจ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของ 2 สุดยอดสถาปนิกชั้นนำในโอกาสที่คว้ารางวัลด้านงานดีไซน์ระดับโลก จากการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ “A Place We Stand Showcase @บางแสน” ภายใต้โครงการ “A Place We Stand สร้างเพื่อให้” ซึ่งเป็นโครงการที่เอสซีจีได้นำผลงานการออกแบบของสถาปนิกชื่อดังมาสร้างจริงภายใต้แนวคิด “การสร้างสรรค์ให้ทุกดีไซน์ ทุกความต้องการด้านที่อยู่อาศัยเป็นจริงได้ ด้วยการนำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างมาใช้อย่างไร้ขีดจำกัด” โดยใช้วัสดุก่อสร้างเอสซีจีทั้งอาคาร และได้ส่งมอบให้กับชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุข ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี...
12 สุดยอดผลงานสถาปัตยกรรม โดย Alejandro Aravena สถาปนิกรางวัล Pritzker Prize 2016
กำลังอยู่ในความสนใจสำหรับแวดวงสถาปัตยกรรมในช่วงนี้ สำหรับการประกาศผลรางวัล Pritzker Prize ประจำปี 2016 ซึ่งสถาปนิกชาวชิลี Alejandro Aravena เป็นผู้ครองตำแหน่งในปีล่าสุด จากผลงานการออกแบบที่โดดเด่นด้านความทันสมัย การเลือก facade ที่มีความสวยงามคงทนในระยะยาว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนายกระดับการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม และใช้งานออกแบบในการแก้ปัญหาความต้องการที่อยู่อาศัย
Alejandro Aravena วัย 48 ปี มีผลงานการออกแบบในหลายประเทศ อาทิ ชิลี สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก สาธารณรัฐประชาชนจีน และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น โดยเว็บไซต์ inhabitat ได้รวบรวม 12 โครงการออกแบบ ที่ถือเป็นสุดยอดผลงาน...
3 วิธีแก้ปัญหา เมื่อถนนสูงกว่าบ้านเรา
ปัญหาบ้านเบสิคที่มักเกิดกับตึกแถว หรือบ้านเก่าที่ตั้งอยู่ริมถนน คือปัญหาเสียงรบกวนและฝุ่นควันจากรถราที่ใช้เส้นทาง ถ้าใกล้ถนนสายหลักมีรถใหญ่วิ่งผ่าน บ้านจะสั่นไหวทำให้เกิดปัญหาบ้านร้าวได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อใดที่มีการเทปรับระดับความสูงถนนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๆ ก็ครั้งละประมาณหนึ่งฟุต หรือทำถนนใหม่ขึ้นมา พื้น บ้านชั้นล่างจะมีระดับต่ำกว่าถนนทันที
ปัญหาจะเกิดเมื่อฝนตกหนัก น้ำระบายไม่ทัน ก็จะเอ่อไหลเข้าท่วมพื้นบ้านชั้นล่าง แม้บ้านบางหลังเตรียมรับมือปัญหานี้เอาไว้ล่วงหน้าด้วยการหล่อแนวขอบคัน คอนกรีตกั้นน้ำเตรียมไว้ ก็ยังมีน้ำซึมจากพื้นบ้านตามขอบมุมที่พื้นชนผนังและยาแนวกระเบื้องได้
ดังนั้นเมื่อถนนสูงกว่าบ้าน จะมีแนวทาง 3 ประการในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
1. แก้ปัญหาบ้านโดยการปรับยกระดับพื้นบ้าน
บางบ้านอาจทำการยกระดับพื้นบ้านชั้นล่าง ให้มีความสูงอย่างน้อยเท่ากับระดับถนน วิธีแก้ปัญหาบ้านวิธีนี้เหมาะกับระดับความสูงที่ต่างกันไม่มากนัก ประมาณครึ่งถึงหนึ่งฟุต เพราะเมื่อปรับพื้นบ้านสูงขึ้นย่อมทำให้ความสูงโดยรวมภายในห้องลดลง ปัญหาที่จะตามมาคือ
- เพดานที่ดูเตี้ยลงจะทำให้รู้สึกอึดอัด
- หน้าต่างเตี้ยลงทำให้คนภายนอกมองเห็นภายในบ้านได้มากขึ้นและน่าเป็นห่วง เรื่องความปลอดภัย อาจจะต้องถอดบานประตูออกมาตัดช่วงล่างออกให้พอดีกับความสูงของพื้นที่เพิ่ม ขึ้น
- ปลั๊กไฟที่เคยสูงกว่าพื้นเล็กน้อยก็จำเป็นจะต้องย้ายมาติดตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้น
- บันไดขึ้นชั้นบนจะหายไปทันทีหนึ่งถึงสองขั้น
- ความต่างระดับของพื้นบ้านกับพื้นห้องน้ำก็จะทำให้ใช้งานสะดวกน้อยลง
สำหรับเจ้าของบ้านเดี่ยวที่พอจะมีงบประมาณมากหน่อยอาจเลือกใช้วิธีดีดยกบ้านทั้งหลังทีเดียว เป็นการตัดโครงสร้างช่วงเสาตอม่อแยกตัวบ้านออกจากฐานราก...
พลิกโฉมห้างเก่าแก่สุดของอเมริกา เป็น “micro apartment” ราคาประหยัด 48 ห้อง
นักพัฒนาที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก Evan Granoff เล็งเห็นความสวยงามของอาคารสไตล์ Greek Revival และประโยชน์ของโครงสร้างเดิมที่มีอยู่ ของศูนย์การค้าในร่ม Arcade Providence อายุเก่าแก่ที่สุดในอเมริกา ก่อสร้างตั้งแต่ปี 1828 ก่อนถูกปิดตัวลงไปเมื่อปี 2008 ที่ผ่านมา จึงซื้อต่ออาคารและคิดแผนรีโนเวทให้เป็นชุมชนอพาร์ทเม้นท์ขนาดกระทัดรัด จำนวน 48 ยูนิต สำหรับปล่อยเช่าในราคาประหยัด
การรีโนเวทครั้งนี้ ได้บริษัทสถาปนิก Northeast Collaborative Architects (NCA) มาเป็นผู้พลิกโฉมครั้งใหญ่ โดยจะปรับปรุงให้มีความทันสมัยขึ้น แต่ยังคงความสวยงามของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก (Greek Revival) ของยุคปลายคริสต์ศวรรษที่ 18 ไว้
ศูนย์การค้า...
สถาปนิกชิลี “Alejandro Aravena” คว้ารางวัล Pritzker Prize ประจำปี 2016
การประกาศผลรางวัลอันทรงเกียรติด้านสถาปัตยกรรม Pritzker Prize ประจำปี 2016 คณะกรรมการคัดเลือกให้ สถาปนิกวัย 48 ปี จากซานติอาโก ประเทศชิลี "Alejandro Aravena" เป็นผู้ครองตำแหน่งในปีนี้ จากผลงานอันโดดเด่น ในความพยายามที่จะพัฒนายกระดับการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม และใช้งานออกแบบในการแก้ปัญหาความต้องการที่อยู่อาศัย
Alejandro Aravena มีผลงานการออกแบบในหลายโครงการ ในชิลี สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก สาธารณรัฐประชาชนจีน และสวิตเซอร์แลนด์ โดยเฉพาะการออกแบบที่อยู่อาศัย พื้นที่สาธารณะ สถาบันการศึกษาแต่ที่โดดเด่นมากที่สุด คือโครงการออกแบบพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อสังคม ขนาด 2,500 ยูนิต เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล ในการยกระดับชุมชนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
ในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน Alejandro...
บางมด คว้ารางวัลชนะเลิศ การออกแบบชุมชนริมน้ำ โตนเลสาบ
เป็นที่น่ายินดีสำหรับโครงการประกวด ระดับนานาชาติ “ การออกแบบชุมชนริมน้ำ โตนเลสาบ” ณ ประเทศกัมพูชา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) ที่ได้คว้ารางวัลชนะเลิศไปครองสร้างความประทับใจกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นอย่างยิ่ง
สำหรับผลงานชนะเลิศโครงการประกวด “การออกแบบชุมชนริมน้ำ โตนเลสาบ” ณ ประเทศกัมพูชาครั้งนี้ เป็นผลงานของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) ประกอบด้วย 1.นายพรเจริญ โอฬารรัตน์มณี (ท๊อป) 2.นายณัฐพล พงศ์พลาญชัย (ณัฐ) 3.นายปรัชญา เลิศรักษาดี (ตี๋) และ 4.นางสาวพาณิน จันทะเลิศ...
Cai Guo-Qiang สร้างสรรค์ศิลปะดอกไม้ไฟ “Sky Ladder” ทอดสูงขึ้นไปบนท้องฟ้า 500 เมตร
ศิลปินร่วมสมัยชื่อดังชาวจีน Cai Guo-Qiang ผู้มีชื่อเสียงด้านศิลปะดอกไม้ไฟ สร้างสรรค์ผลงานที่เรียกเสียงฮือฮาจากผู้ชม ด้วยผลงานชื่อว่า “Sky Ladder” เป็นดอกไม้ไฟขั้นบันได สูงทอดขึ้นไปบนฟากฟ้า 500 เมตร ในเวลา 150 วินาที
งานศิลปะดอกไม้ไฟ “Sky Ladder” จัดแสดงที่หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ในเมืองฉวนโจว มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ Cai Guo-Qiang โดยการแสดงดอกไม้ไฟนี้ ศิลปินดังตั้งใจทำขึ้นเพื่อเป็นของขวัญสุดพิเศษแด่ครอบครัว โดยเฉพาะคุณคุณย่าวัย 100 ปี พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ผองเพื่อน และชุมชนบ้านเกิดของเขาเอง
การแสดงผลงาน “Sky...
จุดตายสถาปนิกไทย: LOW FEE
ค่าแบบหรือค่าบริการวิชาชีพของสถาปนิกในประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแห่งที่ถูกที่สุดในโลกซึ่งคงเป็นกรรมเก่าที่ตกทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษของสถาปนิกไทยเรา เหตุผลดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากสังคมไทยไม่ (เคย) เข้าใจและไม่อยากทำความเข้าใจกับบทบาทการทำงานของสถาปนิกมาตั้งแต่แรกเริ่มมีวิชาชีพสถาปนิก ทั้งที่เรามีสมาคมสถาปนิกสยามฯ มาตั้งเกือบ 75 ปีมาแล้ว
เมื่อสังคมไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักบทบาทการทำงานของสถาปนิก ประชาชนก็จะไม่รับรู้ความยากลำบากในการทำงานของเราตั้งแต่การคิดแบบ การคิดโปรแกรม Concept และไม่เข้าขั้นตอนและวิธีการออกแบบ จัดทำแบบ เขียนแบบ และงานอื่น ๆ ที่ทำให้ความฝันของลูกค้ากลายเป็นจริงจนก่อสร้างแล้วเสร็จได้ เพราะงานนามธรรมพวกนี้ลูกค้าจะไม่สามารถมองเห็นได้ เนื่องจากเป็นกระบวนการทางความคิดที่อยู่ในหัวสมองของสถาปนิกเราเป็นหลัก
ดังนั้นค่าแบบของสถาปนิกไทยเราจึงมักถูกประเมินผ่านเพียงสิ่งของรูปธรรม หรือเอกสารที่ลูกค้าจับต้องได้ก็คือ แบบบ้าน แบบอาคาร ภาพทัศนียภาพ หรือหุ่นจำลองก็ตาม ซึ่งเมื่อตีมูลค่าของการออกแบบผ่านกระดาษและแบบพิมพ์เขียว ไปจนถึงเอกสารประกอบแบบทั้งหลาย ก็จะดูแปรเป็นตัวเงินได้ไม่มากมายเท่าใดนัก หรือบางทีก็นับแผ่นแบบอาคารที่ทำให้ลูกค้าคูณออกมาเป็นค่าแบบของสถาปนิกเราเองเลยก็มีไม่น้อย เหตุเพราะลูกค้ามองว่ามันคือกระดาษธรรมดา ชั่งกิโลขายได้ไม่กี่สตางค์เท่านั้นเอง คำถามที่น่าเศร้าในประเด็นนี้ก็คือ "สถาปนิกอย่างเราเป็นแค่คนขายกระดาษจริงหรือ???"
เมื่อย้อนกลับมาดูการคิดค่าแบบของสถาปนิกตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่เราคุ้นเคยกัน...
นักจุลชีววิทยาชู “ชีวะคอนกรีต” ซ่อมแซมรอยร้าวเองได้ เพื่ออนาคตวงการก่อสร้าง
สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ประเภท "คอนกรีต" ที่มีการใช้ในงานก่อสร้างมายาวนานกว่า 2,000 ปี ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย ต่างพยายามค้นคว้าหาวิธีที่จะทำให้วัสดุประเภทนี้ มีความคงทนแข็งแรงมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ด้วยการนำความอัศจรรย์ทางธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง
ศาสตราจารย์ Henk Jonkers นักจุลชีววิทยา จากมหาวิทยาลัย Delft University of Technology ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า "ไม่ว่าการผสมคอนกรีตจะทำด้วยความระมัดระมัดหรือละเอียดรอบคอบในทุกขั้นตอนเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วคอนกรีตก็มักจะแตกร้าว ด้วยสาเหตุต่างๆ ทั้งสภาพอากาศ หรือปัจจัยอื่นๆ อยู่ดี ซึ่งการแตกร้าวนี้ อาจนำไปสู่ปัญหาสิ่งก่อสร้างหรืออาคารถล่มได้"
"เนื่องจากเมื่อคอนกรีตมีรอยแตกร้าว น้ำมักจะแทรกไปยังโครงสร้างรากฐาน จากนั้นน้ำก็จะซึมไปยังโครงสร้างเหล็ก เนื่องจากโครงสร้างคอนกรีตล้วนมีเหล็กเส้นยึดอยู่ด้านใน ซึ่งเมื่อน้ำทำให้เหล็กสึกกร่อนแล้ว แน่นอนว่าโครงสร้างต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน...
จุดตายสถาปนิกไทย: กำเนิดแห่งกรรม
สถาปนิกไทย ส่วนใหญ่มักถูกปลูกฝังผ่านหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนให้มีความชอบ และหลงรักในวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม หรือ Project Design มากกว่าวิชาเรียนอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัว ความรู้สึกนี้จะเข้มข้นขึ้นไปตามปีเรียนที่เพิ่มขึ้นจนพัฒนากลายไปเป็นความหลงรักอย่างหัวปักหัวปำ และกินไม่ได้นอนไม่หลับหากไม่ได้คิดแบบกันเลยทีเดียว ดังนั้น ตั้งแต่เริ่มต้นการเรียนจนถึงการประกอบอาชีพ นักเรียนสถาปนิกและสถาปนิกทั้งหลาย จึงทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำแบบ การ Sketch แบบ ไปจนถึงการคิดแบบร่างให้เป็นแบบจริงกันอยู่ตลอดเวลา
และเมื่อเราย้อนดูบรรดาสรรพหลักสูตรของสรรพสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรมในบ้านเรา ยิ่งมองเห็นได้ชัดเจนว่า เราต้องการให้นักเรียนสถาปัตย์จบไปเป็นสถาปนิกที่ทำงานด้านออกแบบกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นแล้วไซร้ เนื้อหาหลักสูตรแทบทุกสถาบันจะเน้นหนักและให้ความสำคัญไปที่วิชาการออกแบบ (สถาปัตยกรรม) รวมไปจนถึงโครงสร้างหลักสูตรและวิชาเรียนที่เกี่ยวข้องจะจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนวิชาออกแบบกันอย่างออกหน้าออกตาเลยทีเดียว
ดังนั้น เราจะเห็นได้จากจำนวนหน่วยกิตของวิชาออกแบบที่มีมากกว่าวิชาอื่นๆ หรือเวลาเรียนต่อสัปดาห์ที่ต้องเรียนมากกว่า และยังไม่นับรวมเวลาที่นักเรียนสถาปัตย์จะเอาแบบมานั่งคิดในชั่วโมงเรียนอื่น หรือโดดเรียนไปทำงานแบบอีกนับไม่ถ้วนจาก (เวร) กรรมดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า นักเรียนสถาปนิกและสถาปนิกจึงอยากทำแต่งานออกแบบกันโดยไม่ใส่ใจใฝ่รู้ในวิชาความรู้ด้านต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นวิธีการและพิธีกรรมให้เกิดตัวอาคารสถาปัตยกรรมจริงๆ...
“AS2” เครื่องบินเร็วเหนือเสียงลำแรกของโลก ทดสอบเที่ยวแรก 2019
บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลก "Airbus" ร่วมมือกับบริษัทด้านอากาศยานสัญชาติสหรัฐ "Aerion Corporation" ผลิตเครื่องบินเจ็ตความเร็วเหนือเสียง Supersonic ชื่อว่า "AS2" เพื่อย่นระยะเวลาเดินทางให้กับบรรดานักธุรกิจกระเป๋าหนัก
ทั้งนี้ บริษัท Airbus จะช่วยสนับสนุนงานทางด้านเทคนิค อาทิ เจ้าหน้าที่วิศวกรรมอาวุโส เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริษัท Aerion ในการสร้างเครื่องบินเร็วเหนือเสียงลำแรกของโลก ในขณะที่ Aerion จะรับผิดชอบการออกแบบด้านกลศาสตร์ สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการสร้างเครื่องบิน "AS2" ประมาณการไว้มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 3,000 ล้านบาท) และคาดว่าจะสามารถทดสอบเที่ยวบินแรกภายในปี 2019 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ในปี 2021
เครื่องบินเร็วเหนือเสียงนี้ จะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางได้พอสมควร...
การบริหารจัดการอาคารสถานที่ Facility Management
การบริหารจัดการอาคารสถานที่มีความสำคัญอย่างไร?
ถือเป็นการทำงานที่ทดแทนการเข้ามาดูแลอาคารสถานที่ในแบบเดิม ซึ่งได้แก่ งานดูแลรักษาอาคาร (Building Operation and Maintenance) งานจัดการอาคาร (Building Management) และยังครอบคลุมไปถึงการควบคุมประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการลงทุน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมภายในโครงการด้วย
ลักษณะงานของการบริหารจัดการสถานที่มีตั้งแต่ การวางแผนควบคุม ประเมินผล รวมทั้งการจัดระบบฐานข้อมูลและการตรวจสอบ ดังนั้นในการบริหารจัดการอาคารจึงต้องมีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มาดำเนินการในแต่ละด้าน เพื่อตอบสนองต่อการใช้สอยอาคารให้เกิดประโยชนสูงสุด เหมาะสม และสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรให้มากที่สุด
โดยหลักการของ Facility Management ที่เป็นแนวคิดหลัก ๆ คือ การเปลี่ยนปัญหาให้เป็นความพอใจใช้การบริหารจัดการอาคารแบบครบวงจร (Total Facility Management) การบริหารอาคารแบบครบวงจร การบริหารทรัพยากรกายภาพสำหรับโครงการ การนำระบบบริหารงบประมาณมาใช้ในการบริหารจัดการอาคาร การใช้ระบบ Facility Management...
การศึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ระดับปริญญา
“ปัจจุบัน การเรียนการสอนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี มี 4 หลักสูตร 2 สาขาวิชา คือ ด้านบริหารธุรกิจ และด้านวิทยาศาสตร์ ใน 3 มหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชนของประเทศ”
ระดับปริญญาตรี จะแบ่งหลักสูตรการศึกษา 2 ลักษณะ คือ ด้านบริหารธุรกิจ และด้านวิทยาศาสตร์ อันได้แก่
1. หลักสูตรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เน้นองค์ความรู้ในการสร้างนักปฏิบัติการด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่เชี่ยวชาญเชิงบริหารธุรกิจ มีหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิต สถานะปริญญาบัตรเป็นบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) เริ่มรับนักศึกษาในปี 2540
2....
ยางแอสฟัลท์ หรือ ยางมะตอย กับคุณประโยชน์ที่คาดไม่ถึง
หากกล่าวถึงยางแอสฟัลท์หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าเป็นยางมะตอย ส่วนมากรู้จักดีว่าเป็นยางดำแข็งเหนียวที่เมื่อทำให้ร้อนแล้วจะหลอมละลายเป็นของเหลวนำไปราดบนหินเพื่อทำเป็นผิวทางลาดยาง
เมื่อก่อนที่จะมีรถยนต์ เราใช้ม้าหรือรถม้าวิ่งสัญจรกันฝุ่นตลบ ต้องคอยใช้น้ำราดถนน บางทีก็ใช้ส่าน้ำตาลหรือน้ำมันเตาที่เหนียวมาราดบนถนนดินหรือลูกรัง เพื่อมิให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย มาถึงยุคใช้รถยนต์ที่วิ่งได้เร็วกว่า จึงมีการก่อสร้างถนนลาดยางโดยใช้แอสฟัลท์ราดบนหินที่อัดตัวกันแน่น เพื่อให้มีความแข็งแรงและไร้ฝุ่น จึงเป็นที่มาของคำว่าถนนราดยาง ต่อมาวิธีการก่อสร้างผิวทางเปลี่ยนมาเป็นการปูลาดผิวทางด้วยวัสดุแอสฟัลท์คอนกรีต จึงเรียกกันว่าถนนลาดยาง จริงเท็จประการใดคงต้องให้ผู้รู้ภาษาไทยดีมายืนยันอีกทีหนึ่ง
ยางแอสฟัลท์ (asphalt) หรือ ไบน์เดอร์ (binder) เป็นศัพท์ที่ชาวอเมริกันใช้เรียกยางมะตอย แต่ชาวอังกฤษจะเรียกว่า บิทูเมน (bitumen) เป็นวัสดุที่เกิดในธรรมชาติและเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมัน มีแหล่งกำเนิดจาก 3 แหล่งใหญ่ๆ คือ ในธรรมชาติเป็นหินแอสฟัลท์ (rock asphalt) ที่นำมาเผาเอาแอสฟัลท์ออกมาจากแหล่งใต้ดินที่เป็นบ่อแอสฟัลท์อยู่ลึกลงไปในดิน lake asphalt มีมากใน...
มาตรฐานบันไดหนีไฟตาม พรบ.การควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
การสร้างบันไดหรือบันไดหนีไฟในอาคารนั้น ต้องมีมาตรฐานการสร้างบันได ตามพรบ.การควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนด มิเช่นนั้นหากละเลยอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารได้ ในอาคารขนาดใหญ่ อาทิ โรงมหรสพ หอประชุม โรงงาน โรงแรม โรงพยาบาล หอสมุด ห้างสรรพสินค้า ตลาด สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ท่าอากาศยาน สถานีขนส่งมวลชน ที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงเกิน 1 ชั้น นอกจากมีบันไดตามปกติแล้ว จำเป็นต้องมีทางหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทาง และต้องมีทางเดินไปยังทางหนีไฟนั้นได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
สำหรับอาคารสาธารณะที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 1 ชั้น ขึ้นไป นอกจากมีบันไดตามปกติแล้ว จะต้องมีทางหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทางด้วย อาคารที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ซึ่งสำหรับบันไดหนีไฟนั้นต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและถาวร...