ในเรื่องของการออกแบบงานสถาปัตยกรรมหรือแม้กระทั่งงานดีไซน์อินทีเรีย ปัจจุบันนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นยุคแห่งความมินิมอลลิสม์ ก็เพราะเป็นอิทธิพลมาจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีหลักพื้นฐานของการออกแบบในสไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าจับตามองและยอมรับของคนทั่วโลกว่าการดีไซน์น้อยแต่มาก มีความสร้างสรรค์ และยังมีความสวยงาม
แต่เทรนด์ดีไซน์ที่ไม่เคยหยุดนิ่งบวกกับในพ.ศ.นี้ ไม่ว่าประเทศไหน ๆ ในโลกก็ต่างประสบกับผลกระทบจากโรคระบาด โควิด-19 ต่อการใช้ชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย และเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อวิถีชีวิตเข้าสู่ New Normal ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านมากขึ้น ทำให้ช่วงนี้จะเห็นได้ว่าการแต่งบ้านสไตล์เรียบง่าย เน้นเฟอร์นิเจอร์สีอ่อนอย่าง Japandi กลายเป็นเทรนด์ดีไซน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนี้
What is design? : ตะวันออกพบตะวันตก
การออกแบบในสไตล์ Japandi เป็นการรวมระหว่างรูปแบบของสแกนดิเนเวียกับความมินิมอลลิสม์ของญี่ปุ่นเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดูมีศิลปะ ธรรมชาติ และเรียบง่าย สอดคล้องกับคำพูดของเลนี คาลาส์ แห่ง Ward 5 Design สตูดิโอออกแบบภายในจากนิวยอร์ก ได้อธิบายไว้ว่า Japandi เป็นการผสมผสานที่เพอร์เฟ็กต์ระหว่างสแกนดิเนเวียและมินิมอลแบบญี่ปุ่นนำมา สู่ฟังก์ชันและฟอร์ม การเน้นเส้นสายที่เรียบง่าย พื้นที่ที่สว่าง และสีที่อ่อนละมุน
Japandi เน้นดีไซน์ที่เรียบง่ายและแนวคิดแบบมินิมอลลิสม์ ซึ่งนอกจากดูสวยงามลงตัวแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ใช้สอย การเริ่มต้นแต่งบ้านแบบ Japandi นั้น คาลาส์แนะนำให้หาวัสดุที่เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด มีโทนสีที่ไม่โดดเด่น และเส้นสายของเฟอร์นิเจอร์ต้องดูเรียบร้อย เกลี้ยงเกลา มีความมินิมอลลิสม์ แต่ต้องไม่ลืมว่าความประณีตละเอียดลออของ Japandi
What are the elements of Japandi ? : หยิบจับอะไรบ้างนะ ถึงจะเป็น Japandi
หัวใจสำคัญของความเป็น Japandi สิ่งสำคัญคือความน้อยแต่มาก จนกลายเป็น Key หลักของการออกแบบ จนผู้คนติดภาพจำที่ว่าเป็นการออกแบบที่น้อยจนบางเบา แต่ทว่ามันกลับไม่ใช่แบบนั้นน่ะสิเพราะ Japandi เป็นการออกแบบที่จงใจให้เห็นว่าเป็นการออกแบบที่จงใจให้เห็นว่าน้อย เน้นความเรียบง่าย ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น แต่มีประโยชน์ใช้สอย มีการจัดวางอย่างมีระเบียบเรียบร้อย แต่ถ้าหากยังไม่เข้าใจกัน ต่อไปนี้คือองค์ประกอบที่จะทำให้เข้าใจกับการดีไซน์มากยิ่งขึ้น
ใช้สีให้คอนทราสต์กัน
หัวใจหลักของความคอนทราสต์ คือการเลือกสีที่ตัดกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เสริมให้การออกแบบภายในมีความน่าสนใจ โดยอาจจะปรึกษานักออกแบบมืออาชีพ เพื่อให้มั่นใจว่าได้เฉดสีตามที่ต้องการ เพราะเป็นหนึ่งในวิธีสร้างสไตล์ Japandi ด้วยเช่นกัน
ก่อนอื่นต้องหาโทนสีกลางที่สองสไตล์นี้จะสามารถมารวมตัวกันให้ได้เสียก่อน โดยฝั่งสแกนดิเนเวียมักจะใช้โทนสีที่สว่าง สีไม้ธรรมชาติ และสีพาสเทล ขณะที่ฝั่งญี่ปุ่นนิยมใช้โทนสีที่เข้มกว่า ทำให้สีหลักของสไตล์ Japandi ควรมีโทนสีที่อ่อนแบบสแกนดิเนเวีย อย่างเช่น เทาอ่อน ชมพูอ่อน ฟ้าซีด และเขียวพาสเทล เพื่อให้เกิดการตัดกันของสี จากนั้นลองเติมโทนสีที่เข้มขึ้นอย่างเทาเข้ม น้ำเงินหม่น เขียวเข้ม หรือแม้แต่สีดำ
พิถีพิถันในการเลือกแอ็กเซสเซอรี
ในการตกแต่งบ้านอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยจริง ๆ นั่นก็คือแอ็กเซสเซอรีที่ควรหยอดเอาเข้ามาไว้ในการตกแต่งบ้านสไตล์นี้บ้าง แต่ก็อย่าให้มากเกินไป แล้วแอ็กเซสเซอรีแบบไหนที่จะเหมาะหล่ะ?
แอ็กเซสเซอรีที่เหมาะในแบบสไตล์สแกนดิเนเวียมักจะเน้นความสบาย อย่างพรมขนนุ่ม โซฟาตัวใหญ่ หรือผ้าคลุมแบบถัก เพื่อเติมความอบอุ่นให้กับห้อง ส่วนแอ็กเซสเซอรีแบบญี่ปุ่นมักจะเน้นพวกข้าวของเครื่องใช้ที่ใช้งานได้จริง อย่างเช่น แจกัน ถ้วยชาม ถาดใส่ของ ที่มีรูปแบบเรียบง่ายสบายตา
เรียบง่ายเกลี้ยงเกลา
อย่างที่ได้ย้ำแล้วย้ำหนาว่าการตกแต่งสไตล์ Japandi เน้นความมินิมอลลิสม์ น้อยและเรียบง่าย การตกแต่งจึงต้องออกมาเป็นระเบียบ มีพื้นที่โล่ง ดูสบายตา และไม่ควรมีแอ็กเซสเซอรีหรือของตกแต่งมากเกินไป ที่สำคัญควรเลือกชิ้นที่ดูดีมีคุณภาพมากกว่าจำนวนชิ้นที่เยอะ เพราะจะทำให้ดูรก
คละเฟอร์นิเจอร์ทั้งสองสไตล์
ต้องเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีทั้งสไตล์สแกนดิเนเวียและสไตล์ญี่ปุ่น แม้สองสไตล์นี้จะค่อนข้างใกล้เคียงกัน คือดูเรียบง่ายสบายตา แต่ความแตกต่างเล็กน้อยอยู่ตรงที่เฟอร์นิเจอร์สไตล์สแกนดิเนเวียจะมีสีที่ค่อนข้างสว่าง ส่วนเฟอร์นิเจอร์สไตล์ญี่ปุ่นนั้นจะมีโทนสีที่เข้มกว่าและมีรูปทรงที่โก้หรู อย่ากลัวที่จะวางเฟอร์นิเจอร์ไม้คนละเฉดสีไว้ด้วยกัน เช่นเดียวกับการผสมผสานเฟอร์นิเจอร์ที่มีเส้นโค้งมนเข้ากับเส้นตรง ก็จะช่วยสร้างมิติและความหลากหลายได้
วางต่ำเข้าไว้และปล่อยพื้นที่โล่ง
เฟอร์นิเจอร์แบบญี่ปุ่นเน้นการวางตามแนวราบ เพื่อสร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับพื้น เฉกเช่นวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นที่นิยมนั่งหรือนอนบนพื้น การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ในลักษณะต่ำจะช่วยให้เปิดผนังห้องให้โล่งและสร้างความรู้สึกสงบ การใช้เฟอร์นิเจอร์ทรงเตี้ยและจัดวางในแนวราบเหมาะกับสไตล์ของ Japandi แทนที่จะใช้ตู้เก็บของสูง ๆ
เน้นวัสดุธรรมชาติ
แน่นอนว่าไม้เป็นวัสดุสำคัญในสไตล์ Japandi การเลือกผสมผสานไม้สีเข้มและไม้สีอ่อนเข้าด้วยกันก็เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยสร้างความคอนทราสต์ดังที่กล่าวไปแล้ว และควรเติมวัสดุอื่น ๆ ที่มาจากธรรมชาติ อย่างเช่น ไม้ไผ่ หวาย ผ้าลินิน ผ้าวูล และกระดาษ หรือหยิบจับแจกันหรือกระถางเล็ก ๆ ใส่ไม้ประดับไว้ในห้องจะลดความแข็งกระด้างและเติมสีสันให้กับความมินิมอลลิสม์
อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้การตกแต่งห้องออกมาสมบูรณ์แบบก็คือ บันได ที่เปรียบเสมือนหัวใจของบ้าน เนื่องจากเป็นแก่นแท้ของบ้านที่ผู้คนไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน แต่บันไดบ้านนั้นมีหลายชนิดให้เราได้เลือก ไม่ว่าจะเป็นบันไดคอนกรีต บันไดเหล็ก หรือบันไดไม้ ซึ่งหากคุณต้องการสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นดูเป็นธรรมชาติล่ะก็ บันไดไม้เอ็นจิเนียร์ จาก DDC นับได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุด เพราะไม่เพียงแต่มีลวดลายที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แต่ยังผลิตด้วยวัสดุ Wood Cement Board ที่มีความหนาแน่นสูง กันปลวกและเชื้อราได้อย่างดีเยี่ยม คลายกังวลในเรื่องของการบวม โก่งงอ แตกหัก หรือการแอ่นออกมาของไม้ สามารถใช้งานร่วมกับการออกแบบดีไซน์มินิมอลลิสม์ นอร์ดิก และ Japandi หรือสไตล์อื่น ๆ ที่เต็มไปด้วยเสน่ห์และกลิ่นอายที่งดงาม โดยไม่ต้องใช้วัสดุจริงจากธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษในด้านผิวสัมผัสแบบ Deep Embossed เสมือนพื้นไม้ธรรมชาติ ไม่ลื่น สามารถกันน้ำได้ 100 % นอกจากนี้ชั้นผิวหน้ายังกันรอยขีดข่วนได้อีกด้วย ป้องกันไฟลุกลาม เพราะเป็นวัสดุประเภท O หรือ Virtually non-combustible นอกจากนี้ตัวบันไดไม้เอ็นจิเนียร์ยังปลอดสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสารใยหินหรือกาวยูเรียฟอมัลดีไฮน์ที่พบในวัสดุก่อสร้างอื่น
ดีไซน์ของสีและลายไม้นั้นมีให้โดยสามารถเลือกแบบ Colour Match กับสีพื้นไม้หรือพื้นไวนิลได้ หรือเลือกลายให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับพื้นไม้ ส่วนการติดตั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลดระยะเวลาในการผลิตและติดตั้งง่าย รวดเร็ว ไม่เลอะเทอะ ด้วยระบบแห้งโดยใช้กาว PU หรือ กาวตะปู ทั้งยังสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการที่ใช้กับไม้ทั่วไปได้ จึงทำให้ต้นทุนลดลงทั้งวัสดุและเวลาที่ใช้ในการติดตั้งได้นั่นเอง
สำหรับผู้ที่สนใจดูข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/DDCProfiles
Source
https://www.thespruce.com/japandi-design-4782478
https://www.housebeautiful.com/uk/decorate/looks/g35738612/japandi/