‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ นิทรรศการที่จะพาไปเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมจากสิ่งรอบตัว ที่นำมารวมร่าง ประกอบได้มาเป็นสถาปัตยกรรมที่สามารถใช้งานได้จริงในรูปแบบภาพวาดขนาดเล็กจำนวน 365 รูป จากริมทางท้องถนนในประเทศไทย จึงเป็นที่มาที่ Everyday Architect Design Studio ผู้จัดนิทรรศการจำกัดคำนิยามไว้ว่า “สถาปัตกรรมคณะเรี่ยราด” สะท้อนภาพลักษณ์ที่สะเปะสะปะ เรี่ยราด ตามข้างทาง และย้อนไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่า สถาปัตกรรมประเภทนี้ไม่ได้รับการยกย่องหรือเป็นที่สังเกตจากคนในสังคมนัก แต่ในทางกลับกัน สถาปัตยกรรมในรูปแบบนี้กลับสะท้อนถึงรูปแบบผังเมือง ไปจนถึงปัญหาเมือง
เมื่อย้อนกลับมาดูสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด จะสังเกตเห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่แฝงมากับรูปลักษณ์ที่โดดเด่น พื้นที่นิทรรศการบอกเล่าที่มาโครงการ และเชิญชวนผู้เข้าชมร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “คณะเรี่ยราด” ด้วยการเลือกรูปภาพขนาดเล็กภายในงานจำนวน 3 รูป ซึ่งสเก็ตซ์มาจากรูปภาพสถาปัตกรรมจริง ก่อนนำไปรัดติดเสื้อผ้า ไม่ว่าจะเป็น เสื้อเชิ้ต เสื้อยืด กระเป๋า ตามแต่ไอเดีย เพียงเท่านี้ครอบครัวคณะเรี่ยราดก็จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้น ภายในนิทรรศการจะพูดถึง “สถาปัตยกรรม” ตามท้องถนน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสถาปัตยกรรมที่กล่าวต่อไปนี้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภายในพื้นที่ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาในการวางผังเมือง หรือปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถคาดคะเนได้
Sunshade
สถาปัตยกรรมที่สร้างมาเพื่อหลบแสงแดด อย่างที่ทราบกันดีว่าแดดประเทศไทยไม่เคยปราณีใคร ส่วนใหญ่สไตล์ของที่กำบังเหล่านี้จะทำมาจากผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าใบ สแลน หรือแม้แต่การนำเอาร่มขนาดใหญ่หรือที่เรียกกันว่าร่มแม่ค้ามาจัดวางในองศาที่แสงแดดส่องกระทบ
Dryer
เมื่อกล่าวถึงข้อเสียของแสงแดดในเมืองไทยไปแล้ว ก็จะขาดข้อดีของแสงแดดไปไม่ได้ นั่นคือความร้อนนั่นเอง โดยผู้คนในสังคมไทยนำเอาข้อดีในส่วนนี้ไปใช้ในส่วนของวิธีการตาก เช่นตากผ้า หรือในตามต่างจังหวัดก็ใช้ในกรรมวิถีการถนอมอาหารด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่าเมื่อพื้นที่ใช้สอยไม่อำนวยความสะดวก จึงเกิดเป็นการสร้างราวแขวนที่หยิบยืมโครงสร้างหรือวัสดุที่มีอยู่เดิมของอาคารมาใช้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องธรรมดาในสายตาสังคมไปแล้วนั้น แต่การสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อการตากเช่นนี้ ก็สะท้อนปัญหาที่แสดงให้เห็นถึงความแออัดหนาแน่นของชุมชนที่อยู่อาศัยได้
นอกจากสถาปัตยกรรมที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น นิทรรศการนี้ต่อยอดในรูปแบบหนังสืภายใต้ชื่อเดียวกันเพื่อบอกเล่าที่มาของโปรเจ็กต์ และอธิบายสถาปัตยกรรมตามท้องถนน ที่ต่อมาพัฒนาเป็นนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ โดยนิทรรศการ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ จัดแสดง ณ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (TCDC) เขตบางรัก บริเวณชั้น 5 ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม -25 กันยายน 2567
ที่มารูปภาพ: https://everydayarchitectdesignstudio.com/365-thaiurbanmess-arch/?fbclid=IwY2xjawEoE31leHRuA2FlbQIxMAABHS3RP2YpfNTppdMpp_1lcyxniWdiE-BAPiqaum6YUcdSiGb1z_lhvN22RA_aem_rFTxz3uSquUWmLiVoSoFnQ