เนื่องจากการระบาดใหญ่ได้ทำให้การติดต่อทางสังคมเป็นเรื่องน่ากังวล และบางส่วนโทษว่าเกิดจากความหนาแน่นของประชากรในเมือง ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และเกิดมุมมองสนับสนุนพื้นที่ชานเมืองว่าเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด ดังที่ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กทวีตข้อความเมื่อปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาว่า นิวยอร์กมีความหนาแน่นของประชากรสูงมาก ซึ่งนั่นคือหายนะ เช่นเดียวกับ Matthew Yglesias นักข่าวด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองซึ่งทวีตหวังว่าการกระจายตัวของประชากรจะช่วยให้รอดพ้นจากวิกฤตนี้ได้

Living in a big city makes you MEAN, study finds | Daily Mail Online

เมื่อความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้เมืองหลวงไม่ปลอดภัย

วิกฤตโควิด-19 ตอกย้ำถึงประเด็นด้านความแตกต่างของวิถีเมืองและชนบทของสหรัฐอเมริกายิ่งขึ้น โดยผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกัน กล่าวพาดพิงชาวเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครต ว่าเป็นสาเหตุการแพร่กระจายของเชื้อ

Sara Jensen Carr ศาสตราจารย์วิชาสถาปัตยกรรมจาก Northeastern University ในบอสตัน และผู้เขียนหนังสือ The Topography of Wellness: Health and the American Urban Landscape มองว่า สหรัฐอเมริกาเต็มไปด้วยปัญหาความหนาแน่นของประชากร การระบาดใหญ่ทำให้คนที่วิพากษ์ในเรื่องนี้มีเหตุผลมาสนับสนุนมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้เกิดกระจายตัวไปสู่ชานเมืองโดยพึ่งพิงรถยนต์ ซึ่งเป็นข้อถกเถียงมากกว่า 100 ปีแล้ว

อย่างไรก็ตามกระจายตัวที่ว่า มีความเสี่ยงเรื่องของการควบคุมการระบาดของโรคอ้วน และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ที่จะแย่ลงกว่าเดิม ในขณะที่เมืองซึ่งมีความหนาแน่นและองค์ประกอบทางกายภาพที่ส่งเสริมให้คนใช้การเดินเท้าและจักรยานในการสัญจรสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้

Sara Jensen Carr เสริมว่าผู้คนมักโทษเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นการเลือกตัดสินใจของบุคคล แต่แท้จริงแล้วสิ่งแวดล้อมต่างหากที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเหล่านั้น นอกจากนี้หลายเมืองที่มีความหนาแน่นสูงในโลก ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเมืองเหล่านั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการกับการแพร่กระจายของไวรัส

หนังสือของ Carr ให้ข้อมูลแผนผังประวัติศาสตร์การต่อสู้ของสังคมเมืองกับวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพของประชาชน โดยเริ่มที่ผลงานของ Frederick Law ภูมิสถาปนิก ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา และผู้ออกแบบสวนสาธารณะเซ็นทรัลปาร์ค ในนิวยอร์ก และสวนต่าง ๆ ของบอสตันที่รู้จักกันในชื่อ Emerald Necklace ชี้ให้เห็นว่าภูมิทัศน์และสุนทรีศิลป์ของธรรมชาติเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพและเป็นพลังให้กับผู้คน หลังจากที่ต้องใช้ชีวิตฝังตัวเองอยู่ในอาคารมาหลายเดือน ผู้คนควรจะกลับมาให้ความสนใจกับคุณค่าของสวนและพื้นที่สีเขียว

Increase in Childhood and Adult Asthma Linked to London's 1952 ...

ไอควัน ภัยร้ายที่แทรกซึมในโครงสร้างมาตั้งแต่ยุคโบราณ ส่งผลต่อการออกแบบในปัจจุบัน

ทฤษฎีด้านสุขภาพของประชาชนช่วงศตวรรษที่ 19 อาจมีการแนะนำที่ผิด ด้วยการอ้างถึงสิ่งชั่วร้ายในรูปแบบของไอควัน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณว่าด้วยความเชื่อที่ว่าโรคภัยไข้เจ็บนั้นมาจากโลกและแพร่กระจายในรูปแบบของไอพิษจากพื้นดิน

Christos Lynteris นักมานุษยวิทยาการแพทย์จาก University of St Andrews และผู้ร่วมเขียนหนังสือ Plague and the City กล่าวว่าทฤษฎีไอพิษนั้นมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อเมือง โดยเฉพาะกับวัสดุก่อสร้าง เห็นได้จากความนิยมในการปูพื้นถนนด้วยแผ่นหิน ซึ่งถูกผลักดันโดยเหตุผลของนักสุขาภิบาล และความต้องการที่จะปิดผนึกไอพิษเหล่านี้

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่าโรคต่าง ๆ สามารถซึมและแพร่กระจายผ่านโครงสร้างทุกรูปแบบที่ยึดติดกับพื้นดิน ทำให้พื้นผิวของผนังและอาคารถูกเคลือบ หุ้ม ปิดทับ และขัดเงาเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นเกราะให้สิ่งที่มองไม่เห็นเจาะผ่านไปได้ ขณะที่รอยร้าวต่าง ๆ นั้นถือเป็นการเตือนภัย ซึ่งไม่ใช่แค่การเสื่อมสภาพของโครงสร้าง แต่ยังหมายถึงโอกาสที่ไอพิษจะถูกปล่อยออกมา

การศึกษาของ Lynteris ถึงการแพร่ระบาดของกาฬโรคครั้งที่ 3 ซึ่งแพร่กระจายไปทั่วโลกหลายทศวรรษและคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 12 ล้านคน เผยให้เห็นว่าโรคต่าง ๆ ก่อให้เกิดการใช้มาตรการอย่างรุนแรงในเมืองได้อย่างไร ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวการเผาทำลายส่วนต่าง ๆ ของเมือง เป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่นิยมมากที่สุด ตัวอย่างเมืองฮอนโนลูลูในปี 1990 ที่เดิมตั้งใจเผาทำลายส่วนที่ติดเชื้อในบริเวณ Chinatown แต่กลายเป็นว่าไฟได้เผาผลาญเมืองส่วนใหญ่ เนื่องจากการเปลี่ยนทิศของลม

ประเทศอื่น ๆ ต่างใช้วิธีการเผาในการตีวงกั้นเพื่อกักโรคระบาดเช่นกัน แต่เมื่อค้นพบว่าหนูเป็นพาหะนำโรค ทำให้เปลี่ยนวิธีการมาเป็นการป้องกันอาคารจากหนูแทน และเกิดคณะกรรมการวิศวกรขึ้นทุกเมืองเพื่อหาหนทางในการป้องกันหนู นอกจากนี้ยังเกิดสิทธิบัตรนับพันรายการช่วงปี 1910 ถึง 1920 ตั้งแต่อุปกรณ์ป้องกันท่อระบายน้ำไปจนถึงแบริเออร์คอนกรีต

Lynteris ยังไม่แน่ใจว่าโควิด-19 จะเปลี่ยนแปลงอะไรมาก โดยให้เหตุผลว่าทั้งโรคระบาดและการระบาดใหญ่ ต่างมีลักษณะชั่วคราว เวลาที่สั้น จากนั้นความวิตกกังวลจะหายไปอย่างรวดเร็วทำให้ผู้คนไม่ค่อยคิดถึงมัน พร้อมยกตัวอย่างกรณีการระบาดของโรคซาร์สในปี 2003 ซึ่งพบว่าตึกที่อยู่อาศัยในฮ่องกงโครงการหนึ่ง กลายเป็นจุดที่เกิดการระบาดของโรคเป็นวงกว้าง เนื่องจากการปนเปื้อนของฝอยละอองจากท่อระบายน้ำสามารถเข้าไปยังห้องน้ำของผู้อาศัยผ่านท่อระบายน้ำทิ้งที่มีลักษณะโค้งงอคล้ายตัว U โดยที่หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการรื้อเปลี่ยนหรือมีการตรวจสอบท่อน้ำทิ้งและระบบระบายอากาศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบเดิมอีกแต่อย่างใด ทำให้ Lynteris สรุปว่าการระบาดใหญ่เพียงครั้งเดียว ไม่ทำให้เกิดผลกระทบอะไรตามมา เว้นแต่จะเกิดเรื่องเดิมซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

COVID-19: U.S. Repatriates 997 Americans Back Home | U.S. Embassy ...

คนสุดท้าย Wouter Vanstiphout ศาสตราจารย์จาก Delft University of Technology ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มองว่าวิกฤตโควิด-19 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทบทวนสมมติฐานซึ่งเกี่ยวกับรากฐานว่าเมืองต่าง ๆ ถูกวางโครงสร้างมาอย่างไร โดยเริ่มจากการตั้งคำถามว่าไวรัสโควิด-19 จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการกระจายศูนย์กลางหรือไม่? เพราะแม้ทุกวันนี้เราจะมีโรงพยาบาลที่ใหญ่โต และผู้คนที่อยู่อาศัยแนวสูง แต่เรายังคงต้องเดินทางข้ามเมืองเป็นระยะทางไกลเพื่อไปถึงที่หมาย การระบาดใหญ่ ทำให้เห็นว่าเราควรกระจายโรงพยาบาลและโรงเรียน เป็นหน่วยย่อย ๆ ไปยังโครงข่ายและพื้นที่ย่อยของเมือง เพื่อเสริมความเข้มแข็งของชุมชน

เมื่อการเดินทางถูกจำกัด ร้านสะดวกซื้อและร้านขายของชำ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดการที่ดีกว่าซูเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนี้การระบาดใหญ่ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนใกล้ตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยยกกรณีเพื่อนของเขาที่อาศัยอยู่ใจกลางกรุงอัมสเตอร์ดัม ซึ่งพบว่าเมื่อการท่องเที่ยวหยุดลง ส่งผลให้ธุรกิจเช่าที่พักของ Airbnb ว่างเปล่า เมื่อไม่มีเพื่อนบ้าน ก็ไม่มีเรื่องของย่านต่าง ๆ ไม่มีเมืองเกิดขึ้น และหากนำนักท่องเที่ยวออกไป จะพบว่าไม่มีอะไรเลย

โควิด-19 ยังได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวและการเดินทางต่อเมืองต่าง ๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่นเดียวกับมหานครเดลีในอินเดีย ที่มีข้อบังคับให้อยู่บ้านนั้น ส่งผลให้แรงงานหลายพันคนต้องเดินกลับถิ่นฐานเป็นระยะทางหลายร้อยไมล์

 

 

อ้างอิงแหล่งข้อมูลจาก

https://www.theguardian.com/artanddesign/2020/apr/13/smart-lifts-lonely-workers-no-towers-architecture-after-covid-19-coronavirus

Previous articleอัปเกรดบ้านของคุณให้กลายเป็นบ้านอัจฉริยะด้วยระบบ “สมาร์ทโฮม” จาก SiMPNiC ให้การควบคุมบ้าน ง่ายดั่งใจนึก
Next articleวิศวกรชาวอังกฤษ เปลี่ยนเนินข้างบ้านเป็นรางรถไฟขนาดย่อม ไอเดียสุดสร้างสรรค์ช่วง Quarantine
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ