เดินทางมาถึงบทความในส่วนสุดท้ายเกี่ยวกับเรื่อง BIM (Building Information Modeling) กันแล้ว ที่ผ่านมาทั้งหมด 3 บทความ เราได้นำเสนอเกี่ยวกับภาพรวมการทำงาน BIM ไปพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำความเข้าใจการจัดเตรียมโครงการ แนวทางการทำงานร่วมกัน การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกัน และระเบียบวิธีการสร้าง BIM Model
ในเนื้อหาส่วนสุดท้ายนี้จะเป็นในเรื่องเกี่ยวกับ ขั้นตอนการทำงานและส่งมอบโครงการ ซึ่งข้อมูลเนื้อหาทั้งหมดนำมาจากหนังสือ Building Information Modeling Guide แนวทางการทำงานแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ฉบับที่ 1 ปี พ.ศ. 2560 ที่จัดทำขึ้นโดยสภาสถาปนิก สภาวิศวกร และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ขั้นตอนการทำงานโครงการ
การทำงานโครงการ จะต้องเริ่มต้นจากข้อมูลโครงการเบื้องต้นไปจนถึงงานออกแบบและก่อสร้างจนถึงการส่งมอบงาน เป็นการประสานงานและร่วมมือเพื่อใช้ข้อมูลบนฐานข้อมูลเดียวตลอดโครงการไม่ว่าจะทำงานในระบบ Design-Bid-Built หรือ Design-Built ก็ตาม ลำดับขั้นตอนและรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
- ขั้นแบบร่างเบื้องต้น (Schematic Design): เริ่มออกแบบตามความต้องการของโครงการด้วยการสร้าง Model ขั้นต้นเป็น Mass ระบุตำแหน่งและลักษณะการวางบนพื้นที่ ให้เห็นรูปทรงพอสังเขป และประสานการทำงานกับหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยการส่งต่อข้อมูล
ส่วนข้อมูล Project Information ลักษณะของโครงการที่บอกรูปร่างสังเขป และขนาดอาคาร แสดงผลของพื้นที่การใช้สอย ตำแหน่งที่ตั้ง และค่าระดับของพื้นที่ก่อสร้างโดยสังเขป หรือที่ความละเอียดขั้นต่ำ LOD. 100
- ขั้นพัฒนาแบบรายละเอียด (Design Development): ออกแบบรายละเอียดขนาด ตำแหน่ง การจัดวาง พื้นที่ รูปทรง ปริมาตร ความสูง ทัศนียภาพที่รับรู้ถึงการใช้วัสดุ การแสดงผลทาง 3 มิติ และ 2 มิติ การทำ Coordination กับหน้าที่อื่น ๆ เพื่อปรับปรุงและวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ
ข้อมูลของเนื้อที่ใช้สอย วัสดุปริมาณ พื้นผิววัสดุ รูปทรง 3 มิติ สามารถรับรู้มิติได้ แสดงภาพเป็น Drawing View ข้อมูลของปริมาณการเบื้องต้น ข้อมูลขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ขัดแย้ง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข หรือที่ความละเอียดขั้นต่ำ LOD. 200
- ขั้นแบบก่อสร้าง (Construction Document): แบบแสดงรายละเอียดใน Model ของงานออกแบบที่มีระยะ ขอบเขต ปริมาณ ความกว้าง ความสูง ข้อกำหนดของชิ้นงาน Material Specification แบบขยาย และการทำ Coordination กับหน้าที่อื่น ๆ ปรับปรุงและวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ เรียบร้อย สามารถนำไปทำงานต่อเนื่องได้
ข้อมูลรายละเอียดของงานออกแบบทั้งหมดแสดงเป็นตาราง Drawing View, Detail View, Material List ผลสรุปของการทำ Coordination ประมาณการของโครงการและ Soft File, Hard Copy หรือที่มีความละเอียดขั้นต่ำ LOD. 300
- ขั้นแบบสำหรับงานก่อสร้าง (Shop Drawing): แบบแสดงรายละเอียดใน Construction Model ของงานก่อสร้างที่มีตำแหน่ง พิกัดของอาคารตามจริง แบบรายละเอียด การจัดวางองค์ประกอบอาคารตามสัดส่วนการก่อสร้าง และติดตั้งองค์ประกอบและอุปกรณ์อาคารตามลักษณะการก่อสร้างที่บอกระยะ ขนาด ปริมาณ และรูปทรงที่รับรู้จริง แก้ปัญหาการทำงานด้วยการทำ Coordination กับผู้รับเหมาย่อยในงานติดตั้งและผู้ควบคุมงาน นำมาปรับปรุงเป็น Shop Drawing เพื่อขออนุมัติ
ข้อมูลวิธีการทำงานติดตั้งอุปกรณ์ หรือนำเสนอข้อขัดแย้งของแบบในรูป 3 มิติให้ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ นำเสนอวิธีการทำงานและขั้นตอนในการก่อสร้างข้อมูลผล Clash เพื่อหาข้อสรุปในการทำงาน และแบบ Shop Drawing หรือที่ความละเอียดขั้นต่ำ LOD. 350
- ขั้นแบบรายละเอียดงานก่อสร้าง (As Built): บันทึกข้อมูลจากงาน Shop Drawing ที่อนุมัติข้อมูลวัสดุ อุปกรณ์ผู้ผลิต และวิธีการใช้งานเพื่อทำ As Built Model สำหรับการส่งมอบอาคาร
As Built Model ที่แสดงผล 3 มิติ และ 2 มิติ Specification และ Manual ประกอบการซ่อมแซมเป็น Soft File และ Hard Copy หรือที่ความละเอียดขั้นต่ำ LOD. 400
การส่งมอบโครงการ
การใช้ BIM สามารถนำข้อมูลของอาคารไปบริหารจัดการต่อเนื่องจากการออกแบบได้ ตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการบริหารอาคารข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้บรรจุอยู่ใน BIM Model ตามรายละเอียดของงานก่อสร้าง ซึ่งกำหนดพัฒนาการทำงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ การส่งมอบโครงการจึงประกอบขึ้นด้วยไฟล์ที่ทำขึ้นจากผู้ออกแบบแต่ละหน้าที่ และผู้รับเหมาที่บรรจุข้อมูลที่ทำการก่อสร้าง ซึ่งงานต่าง ๆ สามารถจำแนกได้ ดังนี้
- 3D Model: จัดทำแบบด้วย BIM Model ในรูปแบบของ 3D มีการจัดทำ Model File พัฒนาการเนื้อหางานออกแบบและงานก่อสร้าง ผ่านการทำ Coordination บรรจุมุมมอง 3 มิติ, แปลน, รูปด้าน, รูปตัด และแบบขยายอื่น ๆ ปรับปรุง Model บันทึกข้อมูลอาคารเรียบร้อยด้วยไฟล์สกุลของ Software ที่กำหนด และไฟล์ หรือไฟล์สกุล IFC.
- ขั้นตอนการออกแบบ ผู้ออกแบบทุกหน้าที่ทำ Design Model นำส่งเป็นไฟล์ของ Software Version ที่ได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ BIM
- ขั้นตอนการก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องส่ง Construction Model ที่บรรจุข้อมูล, Specification และการติดตั้งอุปกรณ์เป็น As Built Model เป็นไฟล์ของ Software Version ที่ได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ BIM
- 2D Drawing: การจัดทำแบบ 2D เพื่อนำไปจัดพิมพ์ต้องทำจาก BIM Model มีองค์ประกอบของ View ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแปลน รูปด้าน รูปตัด แบบขยายอื่น ๆ ข้อมูลและรายการประกอบในแบบที่สามารถทำเป็นตารางประกอบการคำนวณแบบ 2D เช่น ไฟล์ CAD ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของการทำงาน
- ข้อมูลเชิงตัวอักษร (Data): การจัดทำข้อมูลรายการวัสดุและอุปกรณ์ ตารางปริมาณงาน รายการประกอบการดูแลอุปกรณ์และคู่มือการใช้งานในรูปแบบของไฟล์ PDF, Excel