เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เป็นธรรมดาที่ระบบไฟฟ้าภายในอาคารนั้นจะถูกตัดไม่ให้ใช้งานได้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอีก แต่ถ้าอย่างนั้นจะระงับการแพร่กระจายของเปลวไฟภายในอาคารได้อย่างไร? ม่านกันไฟเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้
สำหรับม่านกันไฟ KENT ที่ประกอบไปด้วยส่วนผ้าม่านไฟเบอร์กลาสและกล่องเก็บผ้าม่านที่ทำหน้าที่ซ่อนผ้าม่านเอาไว้ไม่ให้เห็นในยามปกติ ระบบจะทำงานเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นหรือมีผู้กดปุ่มปล่อยม่านลงมาตามแรงโน้มถ่วงโลก ม่านกันไฟจึงเป็นระบบที่สามารถใช้งานได้แม้ในยามที่กระแสไฟในอาคารถูกตัดจนหมด
การใช้งานม่านกันไฟในอาคาร สามารถติดตั้งในบริเวณเส้นทางหลบหนีของผู้อยู่ในอาคารหรืออาจใช้ปิดช่องเพื่อป้องกันไม่ให้เปลวไฟพุ่งผ่านก็ได้ เช่น ช่องลิฟต์ หรือประตูต่าง ๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่เสี่ยงเป็นต้นตอเพลิงไหม้ เช่น ในห้องครับหรือห้องเครื่องยนต์ เป็นต้น
คุณภาพของม่านกันไฟ สามารถดูได้จากมาตรฐานต่าง ๆ เช่นสำหรับม่านกันไฟ KENT มีการทดสอบตามมาตรฐาน BS EN 1634 Parts 1 และ 3 มีค่ากันไฟอยู่ที่ E180 and E240 นาที มีมาตรฐานการกันไฟ BS EN 1634-1:2014 มีมาตรฐานการกันควัน BS EN 1634-3:2014 และตัวผ้าม่านทดสอบตามมาตรฐาน BS 476 Pt 6 and Pt 7, EN 13501-1 เป็นต้น
Sources