ตรุษจีนเพิ่งผ่านมาหมาด ๆ เราเชื่อว่าคนที่กำลังอ่านอยู่น่าจะมีคนที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนอยู่บ้าง หรือต่อให้ไม่ได้เป็นก็คงได้เห็นสีสันของเทศกาลนี้ไม่มากก็น้อย

ถ้าในตารางปฏิทินหยอดสีเฉพาะของแต่ละวันเข้าไปได้ ยังไงวันนี้ (5 ก.พ.) มันต้องเป็นสีแดง เพราะมองไปทางไหนก็เห็นแต่สีแดง ๆ ซึ่งเชื่อว่าเป็นสีมงคล ใครที่จะออกนอกบ้านวันนี้ยังต้องโดนทักเตือนด้วยคำพูดสุดคลีเช่ที่ลอยเข้าหูว่า จะถูกจะแพง ขอแดงไว้ก่อนด้วย

อะไรบ้างที่เป็นสีแดง? แน่นอนว่ามีประทัด อั่งเปา กี่เพ้า ไปจนถึง “ศาลเจ้า” เออ ใช่! ศาลเจ้ามุมนี้เป็นมุมที่หลายคนน่ามองข้าม และอาจจะไม่ได้สนใจนอกจากจะไปไหว้ขอสิ่งให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อวยพรเท่านั้น เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมสีแดงถึงเป็นสีของศาลเจ้าหรือสีแสดงความขลัง ถ้าคุณเคยสงสัยจนเลิกสงสัยเพราะไม่มีใครตอบ ลองมาคลายความสงสัยนี้ไปพร้อมกับเรา 

สีคือความรู้สึกที่ถูกสื่อสาร

จิตวิทยากับสี ส่งผลถึงกัน เรื่องนี้เราเรียนกันมานาน ห้องนอนไม่ควรฉูดฉาดจะได้หลับได้สนิท การตกแต่งถ้ามีสีเขียวจะช่วยให้สบายตา “สีแดง” เองก็สื่อความรู้สึกแบบนี้ได้เช่นเดียวกันแต่เป็นทิศทางตรงกันข้าม โดยจากทำเนียบ Color Psychology หรือสีทางจิตวิทยา สีแดงจะให้ความรู้สึกตื่นเต้น กระชุ่มกระชวย แข็งแกร่งทรงพลัง เปี่ยมด้วยพลังงาน และแพสชัน ดังนั้น สำหรับห้องนอนแม้จะไม่เหมาะ แต่พื้นที่ที่ต้องการพลังงานทางจิตวิญญาณสูงอย่าง “ศาลเจ้า” สีแดงก็จัดเป็นสีที่เหมาะสม ส่วนสีที่เข้ามาแซมเพิ่มอย่างสีดำ ซึ่งบางครั้งเราจะเห็นบริเวณคานหรือพื้นที่ต่าง ๆ ในศาลใช้สีดำ จุดนี้ก็ไม่ต่างกัน เพราะว่าสีดำเข้ามาเสริมความรู้สึกเข้มขลัง เป็นทางการ ความปลอดภัยไว้ได้

อย่างไรก็ตามความร้อนแรงของ สีแดง เวลาที่เรามองผ่านตาเนื้อ พอมันไปผนวกกับความเชื่อของผู้คนเข้า เช่น สีแดงเป็นสีเกี่ยวกับไฟ ธาตุไฟ หมายถึงความอบอุ่น อยู่ในแผนภูมิโป้ยก่วย (八卦) ของจีน หมายถึงแสงสว่าง ความอบอุ่น พละกำลัง และความรุ่งโรจน์ สีแดงจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีและความสุข ความเฮง ผลลัพธ์นี้ก็ทำให้ “สีแดง” กลายเป็นหนึ่งในสีศักดิ์สิทธิ์ จัดอยู่ในลิสต์สีของสถาปัตยกรรมที่แสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ “ศาลเจ้า” ไปทันทีโดยไม่รู้ตัว

คุณสมบัติของการใช้สี และฟังก์ชันที่ศาลเจ้าต้องมี

ย้ายจากเรื่องการสื่อสารมาที่ฟังก์ชันกันบ้าง ความคลาสสิกที่ปรากฏอยู่ในทุกศาลเจ้า ไม่ว่าจะขนาดเล็กใหญ่แค่ไหน คือความรู้สึกโอ่อ่า โปร่ง สมกับเป็นบ้านของเทพเจ้าที่เราต้องมาขอพร ดังนั้น ฟอร์มการออกแบบทั้งภายนอกและภายในจึงดีไซน์ให้ดูโล่ง มีพื้นที่ให้คนได้เดินวนในอาคารได้ทั่วพื้นที่สำหรับสักการะส่วนต่าง ๆ

ส่วนซิกเนเจอร์ศาลเจ้าอย่างส่วนโถงทางเข้ามักออกแบบให้เปลือยหลังคา เพราะให้ความสำคัญกับการจัดช่องแสงเพื่อให้แสงธรรมชาติพาดผ่าน สร้างความรู้สึกโปร่ง ซึบซับบรรยากาศฟ้าดิน ยิ่งช่วงพระจันทร์เต็มดวงที่จัดมหรสพอย่างงิ้ว หรือเทศกาลต่าง ๆ แสงสว่างเหล่านี้ทำให้พื้นที่ใช้สอยมีชีวิตชีวาขึ้นโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

ด้านการเลือกวัสดุมาเพื่อใช้ทำศาลเจ้า สถาปนิกจะเน้นความคงทนเข้าไว้ เห็นการใช้ไม้หนาหนักใหญ่เพื่อทำบานประตู และต้นเสาเพื่อรองรับน้ำหนักอาคาร

ไม้ ทำหน้าที่เป็นพระเอกหลักของศาลเจ้าเก่าแก่ ประเภทไม้ที่คัดมาใช้ส่วนใหญ่เลือกให้เป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะเป็นเนื้อไม้ที่คงทน ป้องกันปลวกและแมลงรบกวน บวกเรื่องคุณสมบัติการต้านทานไฟที่คำนวณเข้าไปด้วยจากการประกอบพิธีกรรม รวมทั้งต้องกันแดดกันฝนได้ เนื่องจากศาลเจ้าหลายแห่งแบ่งพื้นที่บางส่วนให้เปิดโล่ง ไร้หลังคา

Caption : ตัวอย่างของเสาที่มองเห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบนี้ได้ชัดคือ เสาโทริอิ หรือแลนด์มาร์กของญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องไปถ่าย ลักษณะเป็นต้นเสาสีแดงใหญ่เรียงต่อกัน

ส่วน สี ทำหน้าที่พระรอง ที่เด่นไม่น้อยหน้าพระเอกเพราะถูกทาเคลือบวัสดุไว้เพื่อให้ความหมายกับพื้นที่นั้นไว้ สีแดงแห่งความเฮงพอนำมาเสริมด้วยการวาดลวดลายลงไปก็ยิ่งสร้างความขลังกับสตอรี่เล่าขาน เช่น ประตูบานใหญ่ของ ทวารบาล หรือเทพอารักขาประตูอย่าง “หมึงซิ้ง” (门神) และจุดสำคัญอีกอย่างคือมีฟังก์ชันการใช้เพื่องานเสริมความคงทนของวัสดุไว้ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า เทียบวัสดุคือเนื้อหนัง สีจะทำหน้าที่เหมือนโลชั่น เคลือบไว้ ไม่ให้ผิวเนื้อในเสื่อมก่อนกาลเวลา

แร่สำหรับทำ “สีชาด” / Credit photo www.dakotamatrix.com/

“Shuiro” คือสีแดงอมส้ม เป็นสีที่สกัดมาจากแร่ปรอท ใช้เฉพาะสำหรับทางเสาโทริอิและไม้ของศาล ช่วยป้องกันไม่ให้ไม้ผุกร่อน นี่คือตัวอย่างของการเลือกสีที่มีผลกับฟังก์ชันการใช้งาน ขณะที่สีแดงในสถาปัตย์ที่นิยมอีกสีคือ สีชาด ได้จากการสกัดจากแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่บดเป็นผง ผสมเข้ากับรักน้ำเกลี้ยง (ยางไม้จากต้นรัก) นำมาทาลงบนไม้ แร่ทำสีชาดมักมีนำเข้าจากจีน ทำให้คาดเดาได้ว่าความหาง่ายนี่น่าจะเป็นอีกปัจจัยของการเลือกใช้ในสถาปัตย์แบบจีน

จากวันเป็นเดือน เดือนเป็นปี วัสดุก่อสร้างก็ได้รับการพัฒนามากขึ้น เสาโทริอิในปัจจุบันบางแห่งปรับวัสดุจากไม้ล้วนเป็นซีเมนต์ที่คงทนต่อสภาพแวดล้อมมากกว่า ขณะที่เทคโนโลยีของสีเองก็ไม่ได้หยุดนิ่ง ทำให้วันนี้สถาปนิกมีทางเลือกการลงสี ทั้งเรื่องของเฉดสีและฟังก์ชัน ถือเป็นแง่ดีมุมการบูรณะสถานที่สำคัญที่ในวันนี้ เราสามารถเข้าใกล้คำว่า สมบูรณ์แบบ ตามต้นฉบับมากกว่าแต่ก่อน คราฟต์ได้มากขึ้น

สี TOA คือหนึ่งในแบรนด์สีบ้านเราที่เห็นได้ทั้งเทคโนโลยีและความหลากหลายของเฉดสีให้เลือกสรร จะสมัยใหม่หรือไทยโทนก็มีให้เลือก โดยแบ่งออกเป็นรุ่นยอดนิยมต่าง ๆ ดังนี้

  • ซุปเปอร์ชิลด์สีทาภายนอกคุณภาพสูงสุด ทนทาน 15 ปี ฟิล์มสีแข็งแรง ยึดเกาะเยี่ยม สะท้อนร้อน ปกป้องทุกสภาวะ
  • ซุปเปอร์ชิลด์ดูราคลีน เอ พลัส สีทาภายในเพื่อสุขภาพ สร้างอากาศบริสุทธิ์ ขจัดสารพิษ พร้อมใช้งานพื้นที่ทันที
  • โฟร์ซีซั่นส์สีแห่งความทน 18 ฝน 18 หนาวก็ยาว ๆ ใช้ได้ทนทานทุกฤดู
  • ทีโอเอ 201 รูฟซีลปกปิดรอยแตกร้าว ป้องกันน้ำรั่วซึม ดาดฟ้า หลังคา 100% ด้วยอะครีลิคชนิดยืดหยุ่นคุณภาพสูง

“การลงสีคืองานคราฟต์ สีแต่ละแบบมีคุณสมบัติในการดูแลวัสดุแตกต่างกันไป คุณสมบัติในการปกป้องก็เกิดขึ้นในสีเฉพาะสีด้วย เช่นการเอาสีแดงที่ใช้ทาไม้มาทาเหล็กก็ไม่ได้นะ มันมีเคมีของสีบางชนิดที่คุณไม่อาจรู้ว่ามันเหมาะกับอะไรด้วยซ้ำ ดังนั้นเราต้องศึกษาให้ดีก่อน” – อริยะ ทรงประไพ สถาปนิกผู้ควบคุมดูแลการซ่อมบูรณะฯ งานอาคารในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน (นครสีทามาหลาย : คอลัมน์อาคิเต็ก-เจอ The cloud)

สีแดงคือความบริสุทธิ์วัสดุ

อีกมุมหนึ่งที่อยากจะเสริมไว้คือ บางครั้งสถาปนิกในอดีตเวลาออกแบบที่อยู่อาศัย เขาก็ไม่มีสีให้ใช้แต่เพราะวัสดุมันเป็นสีนั้นเองโดยธรรมชาติ ถ้าไปดูเรือนไม้เก่าก่อนรัชกาลที่ 4 แล้วเราเห็นสีแดง นั่นไม่ได้เป็นการฝนแร่มาผสมยางทา (ความนิยมทาสีอาคารเริ่มสมัยรัชกาลที่ 4) แต่เป็นการทาน้ำมันเคลือบผิวไม้ไว้ สีน้ำตาลแดงธรรมชาติที่เห็นจึงมากับพร้อมกับเนื้อไม้

แต่วันนี้ “ไม้” ก็เป็นทรัพยากรที่คนธรรมดา งบไม่มากอย่างเราเข้าถึงไม่ได้ง่าย ๆ แล้ว ใครที่อยากได้บ้านไม้อบอุ่นสักหลัง ถ้าใช้ไม้จริงก็จะจมทุนมากเกินไป วัสดุทดแทนที่น่าสนใจเหมาะให้เราเลือกใช้เพื่อออกแบบสิ่งปลูกสร้างภายนอกให้เป็นสีแดงง่าย ๆ แต่ฟังก์ชันครบทนน้ำทนฝน เก็บลวดลายลึก คงสัมผัสไม้ไว้ อย่าง ไม้ฝา ก็มีหลายเฉดให้เลือกไม้แพ้กัน เป็นทางเลือกที่สะดวกกว่าทั้งใจและกระเป๋า เพราะเป็นสีที่มาพร้อมวัสดุ ไม่จำเป็นต้องลงสีเพิ่ม มีหลายเฉดให้เลือก นับเป็นความบริสุทธิ์ของวัสดุที่ออกแบบมาแล้วให้เลือกเช่นเดียวกัน

ทุกวันนี้สีแดงยังเป็นเฉดยอดฮิตที่คนเลือกใช้ในการออกแบบมากขึ้นในชีวิตประจำวันและพื้นที่สำคัญ ทั้ง ออฟฟิศ พิพิธภัณฑ์ สถานที่ราชการ สถานีรถไฟฟ้า ฯลฯ จากสังคมที่เปิดรับความหลากหลาย สี วัสดุ อุปกรณ์ เลยเป็นสนามเด็กเล่นที่สถาปนิกได้ติดตามและเลือกใช้ตามความเหมาะสม

ใครที่อยากเพิ่มไดนามิกการตกแต่งเพิ่มเลเยอร์ของ พลังข้ามกาลเวลา อาจจะนำแนวคิดและการเลือกสีที่เรานำมาฝากไปเป็นไอเดียกันได้

Previous articleMATTERIAL MATTER: แงะปริศนาความพรีเมี่ยมแง่วัสดุ ตำนานความแพงของเพนต์เฮ้าส์ 98 Wireless สุดหรูยูนิตละ 650 ล้าน
Next articleงานสถาปัตยกรรมด้วยโครงสร้างคานยื่นจาก flat12x