‘ถนนสร้างชาติ’ คำกล่าวนี้คือความเป็นจริง เพราะถนนเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ การเข้าถึงของถนนนั้นได้พาความเจริญเข้าไปสู่ท้องที่ในถิ่นทุรกันดาร นำพาระบบสาธารณปูโภคเข้าไปดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง จึงกล่าวได้ว่า การที่ประเทศเจริญขึ้นมาอย่างทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งนั่นก็เพราะกรมทางหลวงได้บุกบั่นสร้างถนนหนทางไปยังพื้นที่ห่างไกล เข้าป่าถางพง ผจญผู้ก่อการร้าย ต่อสู้กับภัยอันตราย จนสามารถสร้างถนนหนทางอันสะดวกสบายให้กับ ประชาชนได้ใช้กันจนถึงทุกวันนี้
และเมื่อปีพ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดโครงการ ประกวดออกแบบอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของกรมทางหลวง (Department of Highway Head Office) ขึ้น เพื่อเป็นการปรับปรุงและเตรียมพื้นที่ ให้เพียงพอต่อการใช้งาน เนื่องจากสำนักงานเดิมนั้นมีพื้นที่ใช้สอยยู่จำกัด และในปีต่อมาก็ได้มีการประประกาศผลงานที่ชนะเลิศการประกวดออกแบบ ซึ่งได้แก่ผลงาน ‘ถนนสร้างชาติ’ ของบริษัท โอเพ่นสเปซ ดีไซน์ จำกัด
โดยแนวคิดในการออกแบบที่ชนะใจกรรมการนั้น เริ่มจากที่สถาปนิกตั้งใจตั้งใจออกแบบสำนักงานแห่งใหม่ให้เป็นอาคารหลังใหญ่ทั้งหมด ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘ถนนสร้างชาติ’ ซึ่งเป็นการนำเสนอโดยใช้การเข้าถึงของถนนหลักไปยังพื้นที่กิจกรรมต่าง ๆ ภายในโครงการให้ทั่วถึง ด้วยการจำลองรูปแบบการเชื่อมต่อของถนนหลวง จากถนนเส้นใหญ่ ไปถนนเส้นเล็ก และเข้าสู่ซอยย่อยตามลำดับ เพื่อให้การทำงานเชื่อมต่อของคนในองค์กรเกิดประสิทธิภาพ สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน ต่อคนและคนต่อพื้นที่ รวมทั้งยังเชื่อมทางเดินระหว่างถนนสองฝั่ง สำาหรับพนักงานภายในองค์กรและบุคคลทั่วไป
อาคารถูกออกแบบให้มีทางลาดโค้งขนาดใหญ่ ขนานกับแนวอาคารเพื่อเป็นทางสัญจรหลัก สำหรับผู้ใช้สอยอาคาร ที่สะท้อนถึงการทำางานหลักขององค์กร ซึ่งทางลาดดังกล่าวเปรียบเสมือนถนนวงแหวน ซึ่งเป็นถนนสำคัญที่กรมทางหลวงภาคภูมิใจ ทั้งยังทำหน้าที่เชื่อมการสัญจรระหว่างถนนศรีอยุธยาและถนนพระรามหก รวมถึงเป็นทางเดิน Skywalk ที่สร้างความสดชื่นให้แก่ผู้ที่เข้ามาใช้สอยพื้นที่ได้เข้าถึงโครงการอย่างสะดวกง่ายดายอีกด้วย
พื้นที่สวนด้านหน้าโครงการมีลักษณะเป็นวงกลม เปรียบเสมือนล้อรถที่หมุนไป สื่อถึงหน้าที่ของกรมทางหลวงที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง เสริมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่เพื่อลดการสะท้อนความร้อน และยังมีการปลูกต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของทั้งสี่ภาคอีกด้วย เพื่อสื่อถึงการเข้าถึงทุก ๆ พื้นที่ในประเทศ โดยสามารถใช้พื้นที่บริเวณนี้ในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ขององคก์ร ในส่วนของวัสดุปูพื้นที่เลือกใช้นั้นได้นำเอาวัสดุที่ใช้ในการทำถนนคอนกรีตมาเป็นส่วนประกอบ เช่น กรวด หิน ทราย ยางมะตอย และสนามหญ้า
ส่วนผนังกระจกด้านหน้าโครงการนั้น ถูกออกแบบให้บิดเล็กน้อยในมุมองศาที่ต่างกัน เพื่อให้โค้งล้อไปกับโครงสร้างหลักของอาคาร นอกจากตัวโครงการทั้งหมดจะสื่อถึงกรมทางหลวงในแง่ของถนนแล้ว การใช้โครงสร้างที่มีรูปแบบเฉพาะที่ง่ายต่อการจดจำ และสื่อถึงกรมทางหลวงให้ครบถ้วนยังเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย ผู้ออกแบบจึงได้ออกแบบโครงสร้างด้านหน้าที่รับกับมุมมองจากสี่แยกเป็นรูป ‘สัปคับ’ อันเป็นสัญลักษณ์ในตราประจำกรมทางหลวง เพราะสัปคับนั้นคือโครงสร้างที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของผู้โดยารบนหลังช้าง โดยในงานออกแบบกได้มีการลดทอนรูปแบบให้ทันสมัยแต่ยังคงสื่อถึงจิตวิญญาณของกรมทางหลวงอย่างครบถ้วน และนอกจากจะทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญขององคก์รแล้ว โครงสร้างดังกล่าวยังทำหน้าที่รับน้ำหนักจากพื้น ด้านบนและเป็น Landmark ที่สำคัญอีกด้วย
เนื่องจากในส่วนสำนักงานเป็นกระจกโดยรอบ จึงเหมาะกับการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารและชมทศันยีภาพ การออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายในส่วนสำนักงานจึงเน้นให้มีลักษณะแบบเปิดโล่ง (Open Plan) ที่ไม่มีผนังทึบกั้นหรือปิดกั้นให้น้อยที่สุด ทำให้สะดวกในการสื่อสารระหว่างทำงาน เพิ่มปฏิสัมพันธ์ของคนในพื้นที่ทำงานด้วยการสร้างพื้นที่โล่งและกว้างขวาง พร้อมทั้งจัดพื้นที่ริมกระจกสำหรับเป็นพื้นที่พักผ่อนและเปลี่ยนอิริยาบถ โดยให้ห้องของหัวหน้าฝ่ายทั้งหลายอยู่ล้อมรอบและชิดผนัง
กระจกภายนอกเชื่อมต่อด้วยทางเดินหลักภายในอาคารในลักษณะของวงแหวน เพื่อให้การเข้าถึงเข้าใจได้ง่ายและแบ่งสัดส่วนได้อย่างชัดเจน ซึ่งทางเดินภายในพื้นที่สำนักงานเปรียบได้กับถนนซอยย่อยที่จะเข้าสู่พื้นที่การใช้สอยต่าง ๆ และเพื่อให้ทางเดินได้รับแสงสว่างตลอดทั้งวัน จึงได้ออกแบบให้มีการเปิดช่องแสงตรงกลางอาคารตลอดแนว ตั้งแต่ ชั้นบนสุดไปยังชั้นล่าง โดยให้มีพื้นที่สวนหย่อมอยู่ที่ชั้นล่างและล้อมรอบด้วยทางเดิน ด้วยการออกแบบนี้จะทำให้ได้แสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารในช่วงเวลากลางวัน จึงช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง
ส่วนพื้นที่ใช้สอยบริเวณทางลาดนั้นมีทั้งพื้นที่ที่เป็นทางสัญจร สวนหย่อม และนิทรรศการถาวร ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานของเหล่านายช่างผู้เสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งทางลาดนั้นก็จะทอดยาวขึ้นไปถึงสวนชั้นดาดฟ้า เปรียบเสมือนการเดินทางไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะมีทั้งส่วนที่เป็นบริเวณนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจและส่วน Fitness Station ที่เป็นลู่ปั่นจักรยานและลู่วิ่ง
นอกจากนี้โครงการยังได้คำนึงถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการออกแบบเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับสุขภาพและความสบายของผู้ที่อยู่ในอาคารอีกด้วย จากการประเมินการออกแบบในขั้นตอนการประกวดแบบพบว่าโครงการมีความเป็นไปได้ที่จะได้คะแนน TREES-NC 56 คะแนน จากคะแนนเต็ม 85 ซึ่งอยู่ในระดับ Gold และมีความเป็นไปได้ที่จะได้คะแนน LEED-NC 68 คะแนนจากคะแนนเต็ม 110 ซึ่งอยู่ในระดับ Gold เช่นเดียวกัน
นิตยสาร Builder Vol.33 July 2016