ความมีชีวิต ไม่ได้แปลว่าจะต้องอยู่ในตัวของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ทว่าสถาปัตยกรรมก็สามารถเป็นสิ่งที่มีชีวิตได้เช่นกัน จากการข้ามผ่านกาลเวลา ยืนหยัด และปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมภายนอก ทว่าในขณะเดียวกันก็คงความมีจิตวิญญาณ เอกลักษณ์ของบางสิ่งบางอย่างที่สะท้อนออกมาผ่านการออกแบบ ดังเช่น “Spiraling Museum” ที่จะพาทุกคนไปเยี่ยมชมกันในวันนี้
Audemars Piguet บริษัทผู้ผลิตนาฬิกาสุดหรูแห่งสวิตเซอร์แลนด์ได้ประกาศเปิดตัว “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” แห่งใหม่ของบริษัท โดยการออกแบบของ Bjarke Ingels Group (BIG) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 ซึ่งเป็นการนำประวัติศาสตร์และนวัตกรรมมารวมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน โดยโครงสร้างเกลียวที่สร้างจากกระจกทำให้ผู้เยี่ยมชมได้ดื่มด่ำกับคอลเลกชันนาฬิกาและเวิร์กชอปภายในตึกนั้นไปพร้อม ๆ กัน
Ingels และทีมของเขาออกแบบพาวิเลียนกระจกทรงเกลียวเพื่อเป็นส่วนประกอบหนึ่งของตึกเก่าของบริษัท ซึ่งเป็นที่ที่ Jules Louis Audemars และ Edward Auguste Piguet ใช้เป็นสถานที่ทำงานในปี 1875 ซึ่งโครงสร้างเกลียวกระจกมีลักษณะคล้ายผุดขึ้นมาจากพื้น รับกับภูมิทัศน์โดยรอบของหุบเขาที่ห่างไกลในภูเขา Jura โดยตั้งแต่ชั้นล่างสุดของพิพิธภัณฑ์ไปจนถึงเพดานที่แวววาวซึ่งช่วยเสริมสร้างโครงหลังคาเหล็ก ในขณะที่มีตาข่ายทองเหลืองปกคลุมพื้นผิวเพื่อควบคุมแสงและอุณหภูมิ รวมไปถึงดูดซับน้ำอีกด้วย
พื้นด้านในมีการไล่ระดับสีเพื่อให้รับกับพื้นธรรมชาติ โดยกำแพงเกลียวกระจกจะมาบรรจบกันตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของเกลียว และหมุนออกไปสู่ทิศทางตรงกันข้าม โดยที่ Bjarke Ingels กล่าวว่า “การผลิตนาฬิกานั้นเหมือนสถาปัตยกรรม คือการนำศิลปะและวิทยาศาสตร์ของการหลอมแร่ธาตุและโลหะเข้าด้วยกันจากพลังงาน การเคลื่อนไหว สติปัญญา และวัดตวงเพื่อทำให้มันมีชีวิตขึ้นมาเพื่อบอกเวลา”
พิพิธภัณฑ์นี้เป็นทั้งที่ที่ให้ผู้อื่นเข้ามาเยี่ยมชมและเป็นสถานที่ทำงานของช่างฝีมือใน Audemars Piguet การออกแบบจึงผสมผสานเวิร์กชอปเชิงประเพณีซึ่งผู้เข้าเยี่ยมชมจะชมการทำงานของพนักงานที่ผลิตนาฬิกาได้ นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์อันยาวนานของบริษัทถึง 2 ศตวรรษ ทำให้สถานที่แห่งนี้มีนาฬิกามากกว่า 300 เรือนที่นำมาจัดแสดงซึ่งล้วนแล้วแต่คลาสสิก เต็มไปด้วยฟังก์ชันการใช้งาน และการออกแบบที่แปลกใหม่
“พวกเราต้องการให้ผู้เข้าชมได้เห็นถึงมรดกของพวกเรา ความเชี่ยวชาญ ต้นกำเนิดทางวัฒนธรรม และการเปิดกว้างสู่โลกภายนอก ภายในตึกที่จะสะท้อนทั้งรากฐานและจิตวิญญาณที่มองการณ์ไกลของพวกเรา” Jasmine Audemars บอร์ดบริหารของ Audemars Piguet กล่าว “แต่เหนือสิ่งอื่นใด พวกเราต้องการให้ความสำคัญกับพนักงานและช่างฝืมือที่สร้าง Audemars Piguet ให้เป็นอย่างทุกวันนี้ รุ่นแล้วรุ่นเล่า”
สถาปัตยกรรมแต่ละแห่งต่างมีเรื่องราวของตนเองแตกต่างกันไป เกิดเป็นความงดงามอันแสนมีเอกลักษณ์ที่ยากจะหาใครเสมอเหมือน และสอดรับกับภูมิทัศน์โดยรอบทำให้ต่างส่งเสริมความงามซึ่งกันและกัน เกิดเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าจดจำและมีกลิ่นอายสะท้อนตัวตนของผู้ออกแบบและเจ้าของสถานที่ ดั่งเช่น “พิพิภัณฑ์มีชีวิต” แห่งนี้ ที่ย้อนหวนอดีตขึ้นมาในขณะที่ผสานกับปัจจุบันและอนาคตได้อย่างลงตัว
project info:
name: musée atelier audemars piguet
location: route de france 18, CH – 1348 le brassus, switzerland
design architect: bjarke ingels group
local architect: CCHE lausanne SA & CCHE la vallée SA
structural engineer: dr. lüchinger + meyer bauingenieure AG
façade consultant: dr. lüchinger + meyer bauingenieure AG
façade subconsultant: frener & reifer
mechanical engineer: fondation pierre chuard ingénieurs-conseils SA
lighting consultant: belzner holmes light-design
scenography/exhibition design: ATELIER BRÜCKNER GmbH
pavilion’s total surface: 2,500 sqm
exhibition surface: 900 sqm
number of structural glass panes: 108
load weight supported by glass: about 470 tons
structural glass’ maximum thickness: 12 cm
fabrication time for one glass pane: 3 weeks
public opening: june 25, 2020
อ้างอิงข้อมูลจาก