หนึ่งในวาระที่สำคัญที่สุดสำหรับมนุษยชาติคือการจัดการปัญหาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ บ้านทานตะวัน “the New European Bauhaus” จึงถือกำเนิดขึ้น เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบตามฟังก์ชันแบบ “Form Follows Function” มาเป็น “Form Follows Nature” หรือการให้ธรรมชาติเป็นฝ่ายนำรูปแบบการดีไซน์

“บ้านทานตะวัน” หรือ Sunflower House เป็นโครงการที่ทำตามแนวคิดนี้ ด้วยหลังคาและชั้นต่าง ๆ ของอาคารที่หมุนทำองศาลาดเอียงอิงตามดวงอาทิตย์ แผงโซลาเซลล์ (Solar Panels) จึงสามารถผลิตไฟฟ้าได้เต็มที่ ในขณะที่ผู้ใช้งานภายในก็ได้รับความสะดวกสบายด้วยระบบระบายความร้อน โดยการปรับทิศทางเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดวันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างพลังงานได้มากขึ้นถึง 40%

ทานตะวันยังเป็นต้นแบบของโครงสร้างที่สมดุล โดยปรับเปลี่ยนผืนดินให้น้อยที่สุด เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

แน่นอนว่าปัญหาสภาพภูมิอากาศมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วนที่ควรจัดการ อย่างไรก็ตามโครงการออกแบบนี้ก็แสดงให้เห็นว่าทานตะวันเป็นต้นแบบหรือแรงบันดาลใจที่นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างไรได้บ้าง

Source: https://www.designboom.com/architecture/sunflower-house-carbon-positive-concept-koichi-takada-architects-01-07-2021/

ภาพ: doug and wolf (https://dougandwolf.com/)

Previous articleบ้านเดี่ยวสมัยใหม่ในตึกแถวรีโนเวท
‘Thonburi 6 Residence’ กับแสงและสวนฝีมือ ACa Architects
Next article‘วิกฤติซ้อนวิกฤติ’ ของธุรกิจก่อสร้าง – อสังหาฯ: ที่มาและทางออก?