‘AI กำลังจะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์’ ประโยคนี้เพียงประโยคเดียวก็สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับมนุษย์เงินเดือนหรือแรงงานรายวันจนรู้สึกเสียวสันหลังกันเป็นแถบ ๆ แล้วมนุษย์ผู้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักสร้างสรรค์จะสามารถปรับตัวกับความชาญฉลาดของเทคโนโลยีอย่าง AI ได้หรือไม่ บทความนี้เราจะมาล้วงลึกความสามารถของ AI ที่กำลังแทรกซึมในวงการออกแบบ-ก่อสร้างกัน

 

ทำความรู้จักกับ AI

AI หรือ Artificial Intelligence หรือตามพจนานุกรมที่ถูกบัญญัติไว้ว่า ‘ปัญญาประดิษฐ์’ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทดแทนกระบวนการทำงานของมนุษย์ ทั้งในการคิดคำนวณ การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจ

ภาพจาก ExpresSo

วิธีการทำงานที่ครอบจักรวาลเหล่านี้สถาปนิกคงคิดหนักกันพอสมควร ทว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถเข้ามาทดแทนมันสมองของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบเลยหรือ Mike Mendelson อาจารย์และศิษย์เก่าแห่ง Nvidia Deep Learning Institute ให้ความเห็นว่า “คอมพิวเตอร์ไม่ได้ฉลาดพอที่จะใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในโปรเจกต์เหมือนกับมนุษย์หรอก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบของมันช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้ดีทีเดียว” ฟังดูอาจจะยังสับสนว่าสรุปแล้วเจ้า AI ที่ว่านี้จะเข้ามาแทนที่ฝีมือนักออกแบบหรือมาช่วยให้งานดีไซน์เจ๋งไปอีกขั้น คงต้องมาดูว่า AI สามารถทำอะไรได้บ้าง

 

AI ในวงการออกแบบ-ก่อสร้าง

    1. ย่นระยะเวลาการทำงาน

ปกติการออกแบบโปรเจกต์สักโปรเจกต์หนึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะเรื่องกระบวนการตรวจสอบทางกฎหมายที่มักมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ทว่า AI สามารถให้ฐานข้อมูลที่อัปเดตทำให้ขั้นตอน pre-design รวดเร็วขึ้น

    1. ซอฟต์แวร์ออกแบบโมเดลตระกูล BIM

ซอฟต์แวร์ออกแบบโมเดลที่ถูกพัฒนาขึ้นในปัจจุบันโดยการรวมตัวของแบบจำลองระบบ 2D และ 3D ไปจนถึงในส่วนของรายละเอียดข้อมูลให้รวมกันเป็นระบบเดียว สามารถตอบสนองกระบวนการออกแบบในวงการสถาปัตยกรรมให้มีอิสระยิ่งขึ้น

ภาพจาก Rethinking The Future

และ Grasshopper ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยที่จะช่วยในการคาดเดา คำนวณ และลองผิดลองถูกในการออกแบบโปรเจกต์ต่าง ๆ

    1. การวางผังเมือง

ความฉลาดของ AI ยังมีประโยชน์ต่อสถาปนิกผังเมืองให้สามารถออกแบบถนนหนทาง การจัดวางผังเมือง โดยการคำนวณจากรูปแบบการจราจรหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อัปเดตแบบเรียลไทม์

    1. โครงสร้างพื้นฐาน

การวางแผนและจัดการเมืองจะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวน้อยลงเพราะ AI สามารถคำนวณและประมวลผลเพื่อการสร้างแหล่งสาธารณูปโภค ยิ่งกว่าไปนั้นเมื่อมีการผสมผสานการทำงานของเทคโนโลยี 2 ประเภทอย่าง Generative AI และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างล้ำสมัยในปัจจุบัน ทำให้ลดระยะเวลาในขั้นตอนการวางแผน ไม่ว่าโปรเจกต์นั้นจะมีความซับซ้อนมากเพียงใด

    1. งานก่อสร้าง

AI ถูกใช้สังเกตการณ์กระบวนการทำงานในไซต์ก่อสร้าง เตือนภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และความคืบหน้าของงานก่อสร้าง ไม่เพียงเท่านั้น AI ยังถูกนำมาปรับใช้ในการสร้างที่พักอาศัยผ่านงาน 3D Printer ซึ่งพัฒนาโดยหลักการใช้พิมพ์พลาสติก 3 มิติ

ภาพจาก ICON
ภาพจาก ICON

AI vs มนุษย์

เมื่อไล่สายตาอ่านและขบคิดมาจนจบบทความอาจดูเหมือนว่าวงการออกแบบ-ก่อสร้างกำลังถูกคุกคามโดยเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดเทียบเท่ากับมันสมองของมนุษย์ ถึงอย่างนั้น จงอย่าลืมว่าอีกหนึ่งจุดเด่นที่ทำให้มนุษย์โดดเด่นจากสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นบนโลก คือ ระบบความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นปัจเจก ไม่ซ้ำใคร ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ประกอบกับความเข้าใจในบริบทของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ส่งผลให้การทำงานในแต่ละโปรเจกต์มีเอกลักษณ์ อย่างที่ Kåre Stokholm Poulsgaard – Head of Innovation ที่ GXN ได้กล่าวไว้ว่า

เราต้องยอมรับว่า AI ไม่ได้ฉลาดหรือมีความรู้สึกนึกคิดเทียบเท่ากับมนุษย์ มีบางสิ่งที่ AI ยังไม่สามารถทดแทนความสามารถของเราได้ ในอีกแง่หนึ่ง เราก็ไม่สามารถปฏิเสธความน่าทึ่งของเทคโนโลยีได้เช่นกัน

 

Source

Maket
AppliCAD
Sync Innovation
ArchDaily
Techsauce
Interesting Engineering
ICON
Rethinking The Future

Previous articleSCG HOME Experience เปิดตัวทัพสถาปนิกมือฉมัง ชู ‘สถาปัตย์ฮวงจุ้ย’ รุกตลาด รับแนวโน้มสายมูเติบโตต่อเนื่อง มูลค่าตลาดเฉียด 1 พันล้านบาท พร้อมเฟ้นหานิวเจน ประกวดแบบบ้านสู่แบบจริงในงาน Open House 2023
Next articleเปลี่ยนบ้านให้เป็นคาเฟ่ by SIRI เคล็ดลับสร้างบ้านสร้างสุขแบบง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง