เป็นที่ทราบกันดีว่า ดวงอาทิตย์ คือ แหล่งกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุดของโลกเรา และเป็นหนึ่งในพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีวันหมด ให้ทั้งแสงสว่างและพลังงานความร้อนจำนวนมหาศาล และยังเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน กระแสรักสิ่งแวดล้อมและการหันมาใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติกลายเป็นเรื่องที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ และเป็นเทรนด์มาแรงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กิจการในภาคธุรกิจส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมแบบยั่งยืน จึงหันมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาตึกหรือบนพื้นที่เปิดขนาดใหญ่ในบริเวณของสำนักงาน

ท่ามกลางบริษัทชั้นนำที่เชี่ยวชาญทางด้านพลังงานแสงอาทิตย์ บี.กริม เพาเวอร์ คือ หนึ่งในตัวอย่างที่ดี ที่แสดงให้เห็นถึงวิธีที่ภาคธุรกิจสามารถสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ที่ผ่านมา บี.กริม มีส่วนในการช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในเมืองมาอย่างยาวนาน โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของหลายๆ อาคารที่สำนักงานใหญ่ของ บี.กริม ที่ถนนกรุงเทพกรีฑาล่าสุด บี.กริม ยังได้ตอกย้ำเรื่องการประหยัดพลังงาน ด้วยการสร้าง “เดอะ เพาเวอร์ วิง – The Power Wing” หรือ “ปีกแห่งพลังงาน” สถาปัตยกรรมอันสวยงามตระการตา ในรูปแบบของที่จอดรถ มีหลังคาเป็นปีกที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมากเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด โดยมีจุดหมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างให้เกิดความตระหนักรู้ในเรื่องพลังงานสะอาด ไปพร้อมกับการส่งสารไปถึงสาธารณชนถึงความสำคัญของพลังงานแบบยั่งยืน

การออกแบบโครงการที่สำคัญนี้ เริ่มด้วยการมองหาทีมงานและสถาปนิก ที่มีแนวคิดเช่นเดียวกันบี.กริม ในเรื่องพลังงานทดแทนและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จนในที่สุด บี.กริม ได้เลือกบสถาปนิกโอเพนบอกซ์ (OPENBOX Architects) บริษัทออกแบบชั้นนำโดยสองสถาปนิกชาวไทย รติวัฒน์ และ วรรณพร สุวรรณไตรย์ ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการค้นคว้าวิจัยด้านสถาปัตยกรรม และมีความเชื่อมั่นในเรื่องพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน

คุณรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้อำนวยการการออกแบบของบริษัทสถาปนิกโอเพนบอกซ์ กล่าวว่า ทาง บี.กริม ได้บอกโจทย์ของโปรเจ็กต์นี้ โดยต้องการเน้นในเรื่องการสร้างความตระหนักรู้ ถึงความสำคัญของพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนให้กับคนทั่วไป” โจทย์ที่ให้มา คือ การสร้างแลนด์มาร์คที่เป็นสัญลักษณ์ของการใช้ประโยชน์ของแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน ณ สำนักงานใหญ่ของ บี.กริม ที่สามารถเห็นได้เด่นชัด และสื่อสารกับคนทั่วไปได้อย่างทรงพลัง

สถาปนิกโอเพนบอกซ์ เริ่มต้นโปรเจ็กต์นี้ด้วยการคิดคอนเซ็ปต์ จากนั้นได้ทำการศึกษาแผนผังของสำนักงานใหญ่ และได้นำเสนอการสร้างชิ้นงานที่มีรูปลักษณ์เด่น เป็นสง่า ออกแบบด้วยศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม ศิลปะ การจัดวาง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง ตัวชิ้นงานเองสามารถสื่อสารเรื่องการประหยัดพลังงานได้ทันทีกับผู้พบเห็นและคนทั่วไปได้ และตอบสนองเรื่องการใช้งานที่หลากหลาย

“เราทำงานใกล้ชิดกับทีมของ บี.กริม ซึ่งได้เห็นพ้องต้องกันว่า จะเน้นการออกแบบที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่แสดงให้เห็นถึงการสอดประสานระหว่างสถาปัตยกรรมและธรรมชาติ มีความงดงามทางวิศวกรรม ชิ้นงานถูกออกแบบให้เป็นสถาปัตยกรรมรูปปีกนก บนเนื้อที่รวม 1,211 ตารางเมตร สามารถมองเห็นได้ง่ายที่สุดจากถนนกรุงเทพกรีฑาโดยเผยให้เห็นถึงโครงเหล็กที่มีเสาเพียงสองต้น พร้อมคานยื่นขนาดใหญ่ ด้านบนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวน 570 แผง” คุณรติวัฒน์ กล่าวเพื่อให้ได้ภาพลักษณ์ของปีกนกที่ทรงพลังและมีความปราดเปรียว แผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผงจึงถูกจัดเรียงให้อยู่ในมุมที่แตกต่างกันอย่างสวยงาม แต่ละแผงมีมุมเฉพาะเพื่อให้สามารถรับคลื่นพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มศักยภาพ พื้นผิวที่เป็นโครงสร้างภายนอกใช้สีส้มแดง ซึ่งเป็นสีของบี.กริม เป็นตัวแทนของท้องฟ้ายามรุ่งอรุณ เป็นแสงสีแห่งการเริ่มต้น และความเจริญรุ่งเรืองของ บี.กริม ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาอย่างยาวนานและมั่นคงกว่า 142 ปี

คุณรติวัฒน์ กล่าวปิดท้ายว่า เราใช้เวลาทำงานทั้งสิ้น 8 เดือน ซึ่งถือว่าค่อนข้างนานสำหรับโปรเจ็กต์ที่จอดรถ แต่เพราะ The Power Wing ไม่ใช่งานออกแบบและก่อสร้างที่จอดรถธรรมดา แต่เป็นงานที่มีจุดมุงหมายยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงเรื่องราวของพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ เรามีความสุขภูมิใจมากกับผลลัพธ์ที่ออกมา The Power Wing คือ งานสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่ง และเป็นตัวแทนของปรัชญาการบริหารงานของ บี.กริม อย่างแท้จริง เช่นเดียวกับที่มันจะสามารถดึงดูดสายตาของผู้คนจำนวนมากที่พบเห็นและผู้มาเยี่ยมเยียนสถานที่แห่งนี้”

หลังคาแผงโซลาร์เซลล์ของที่จอดรถแห่งนี้ ยังสามารถตอบโจทย์ของ บี.กริม ในเรื่องการประหยัดพลังงาน เพราะสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้อย่างพอเพียงสำหรับให้แสงสว่างในบริเวณที่จอดรถ จากถนน

Previous article“ท่าเรือประจวบ” พลิกโฉมพื้นที่ทำงาน Co-working space
Next articleNANO ELECTRIC PRODUCT ฝึกอบรมพนักงาน และทุ่มทุนลงเครื่องจักรใหม่
Ton Suwat
คอลัมนิสต์หนุ่ม ผู้หลงไหลในสถาปัตยกรรมไทยอีสาน และความง่ายงามตามวิถีชนบท