ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมเกณฑ์การประเมิณอาคารเขียว LEED ในทุกทวีป มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก (ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ในขั้วโลกใต้) โดยเกณฑ์การประเมิน LEED นี้ นิยมใช้กับกลุ่มชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ และประเทศพัฒนาใหม่ ซึ่ง LEED จะช่วยประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการด้านพลังงาน และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
สภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐฯ U.S. Green Building Council (USGBC) ผู้กำหนดเกณฑ์รับรองอาคารเขียว หรือ LEED ได้จัดอันดับชาติที่มุ่งผลักดันและพัฒนาด้านอาคารเขียวมากที่สุด 10 ประเทศของโลก (ไม่รวมสหรัฐฯ) เพื่อกระตุ้นให้ชาติอื่นๆ ตะหนักถึงความสำหรัฐของการบริหารจัดการพลังงานในงานก่อสร้างมากขึ้น
ทั้งนี้ ในจำนวน 10 ประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับอาคารเขียวนั้น อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดของโลกด้วย ถือเป็นนิมิตรหมายอันดี การในร่วมรับผิดชอบหรือหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซ ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อภาวะโลกร้อน รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรน้ำและไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่าและเดประโยชน์สูงสุด
สำหรับ 10 ประเทศ ที่มีการพัฒนาอาคารเขียวมากที่สุด (คิดเป็นตารางเมตร) มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและองค์ความรู้ของอาคารเขียวมากที่สุด และสร้างสรรค์แนวทางเพื่อความยั่งยืนมากที่สุด มีดังนี้ (ชมได้จากภาพ Infographic)
สรุปได้ว่า 10 ชาติผู้นำด้านอาคารเขียว จำนวน 7 ประเทศ อยู่ในกลุ่ม 20 ชาติ ที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด (จีน เยอรมนี บราซิล อินเดีย แคนาดา เกาหลีใต้ และตุรกี) และ 6 ประเทศ อยู่ในกลุ่ม 11 ชาติ ที่ปล่อยก๊าซเรือกระจกมากที่สุด (จีน อินเดีย เกาหลีใต้ แคนาดา และบราซิล) อย่างไรก็ดี ชาติเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งที่ดีขึ้น เพื่อโลกที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น