เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ได้นำเสนอที่สุดของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการอยู่อาศัยภายในงานสถาปนิก’ 59 ที่ผ่านมา ซึ่งต่อยอดนวัตกรรมปูนซีเมนต์ไร้ขีดจำกัดกับผลงาน ‘Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave’ สิ่งปลูกสร้างด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ที่มีขนาดสูงกว่า 3 เมตร ชิ้นแรกของอาเซียน เพื่อสะท้อนดีไซน์ที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบเดิม ๆ ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ร่วมกับนวัตกรรมปูนซีเมนต์


‘Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave’
นับเป็นที่สุดของนวัตกรรมเพื่อที่อยู่อาศัย และสร้างความฮือฮาให้กับวงการก่อสร้างของไทยได้อย่างมาก อีกทั้งยังเป็นนวัตกรรมที่สะท้อนงานด้านดีไซน์ที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบเดิม ๆ นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าวยังใช้แรงงานน้อย จึงตอบโจทย์ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานของเมืองไทยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีต้นแบบสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยแห่งอนาคตนี้เป็นอย่างไร ลองมาทำความรู้จักกัน

‘Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave’ เป็นความร่วมมือระหว่าง SCG และ Supermachine Studio เจ้าของรางวัลจากเวทีประกวดสถาปัตยกรรมระดับโลก ที่ได้ให้เกียรติมาร่วมออกแบบผลงานในครั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างจริงที่มี
ขนาดสูงกว่า 3 เมตร ชิ้นแรกของอาเซียนที่ใช้นวัตกรรมปูนซีเมนต์สูตรเฉพาะของเอสซีจีเป็นวัสดุหลักในการผลิต ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่ประกอบด้วย 2 เทคโนโลยีการพิมพ์ ได้แก่ Powder-bed Inkjet Head Printing และ Extrusion Printing ด้วยกัน

Y-BOX-Pavilion_02

จุดเด่นของ ‘Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave’ เป็นการเอาปูนซีเมนต์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) สร้างผลงานสะท้อนดีไซน์ที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบเดิม ๆ และยังเป็นต้นแบบสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยแห่งอนาคต ที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี 3D Printing ร่วมกับนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างปูนซีเมนต์เอสซีจีสูตรพิเศษ เพื่อเติมเต็มจินตนาการของนักออกแบบ ตอบโจทย์การสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นจริง ถือได้ว่าเป็นที่สุดของนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัยก็ว่าได้

สำหรับผลงาน ‘Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave’ ถูกถ่ายทอดจินตนาการภายใต้แนวคิดนวัตกรรมแห่งอนาคต (Innovation for Tomorrow) โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการผสมผสาน 2 สถาปัตยกรรมที่เป็นงาน Masterpiece ระดับโลกเข้าด้วยกัน คือ “Sagrada Familia Cathedral” เมืองบาร์เซโลนา ที่ออกแบบโดย Antoni Gaudi สถาปนิกที่มีชื่อเสียงเรื่องการก่อสร้าง Unique Form ให้เป็นจริง กับผลงาน “Casa Farnsworth” สถาปัตยกรรม Modernism แห่งศตวรรษที่ 20 ที่ออกแบบโดยLudwig Mies Van Der Rohe ผู้ริเริ่มแนวคิด “less is more” และ “God is in the details”

Y-BOX-pavilion-21st-C.-Cave-2-1‘Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave’ (หรือถ้ำในศตวรรษที่ 21) คือที่กำบังแดดและฝนที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้มีประโยชน์ใช้สอยอย่างเฉพาะเจาะจง แต่สามารถเลือกใช้งานตามจินตนาการเหมือนถ้ำในอดีตที่เคยเป็น ประกอบไปด้วยองค์ประกอบของรูปทรงที่ท้าทายการก่อสร้างแบบเดิมๆ เช่น โครงสร้างเสาความสูง 3 เมตร รูปทรงอิสระที่ไม่ซ้ำกัน 6 ต้น เสมือนแง่งหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบิดตัวกันขึ้นไปรองรับหลังคา โดยเสาเหล่านี้พยายามทำหน้าที่เป็นกำแพงกำหนดขอบเขตของที่ว่างในเวลาเดียวกันเพิ่มความสมบูรณ์และสวยงามด้วยโคมไฟ A Unique Lamp โครงสร้างทรงกลมแบบ Geodesic Dome ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 70 เซนติเมตร ประกอบด้วย โครงสร้างรูปสามเหลี่ยม (Triangle Frames) ทั้งหมด 180 ชิ้น ที่ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นถูกออกแบบรายละเอียดและจุดเชื่อมต่อทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ เกิดลวดลายจากแสงตกกระทบที่สวยงาม

องค์ประกอบทั้งหมดถูกก่อสร้างขึ้นจากเทคโนโลยี 3D Printing ร่วมกับนวัตกรรมปูนซีเมนต์เอสซีจีสูตรพิเศษ (Innovative Cement Formulation) โดยผสมผสานทั้งสองเทคโนโลยีการพิมพ์ดังกล่าว มุ่งเน้นกำลังอัดที่แข็งแรง เพิ่มเติมด้วยสามารถสร้างสรรค์รูปทรงได้อย่างอิสระ โดยยังคงความแข็งแรงด้วย Bio Fiber ชนิดพิเศษที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเอสซีจี ช่วยเสริมความสามารถในการยึดเกาะของเนื้อปูนหลังเกิดการแตกร้าวได้ อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการสร้างรูปทรงที่มีความลาดชันสูง ๆ ได้ดี โดยไม่ต้องพึ่งวัสดุรองรับ (Support Material) เพราะมีความแข็งแรงมากพอที่จะใช้เป็นโครงสร้างด้วยตัวมันเองได้ นอกเหนือจากนี้การออกแบบ Y-BOX Pavilion, 21st C. Cave ยังได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างและความแข็งแรงปลอดภัยตามขั้นตอนทางวิศวกรรม จึงมั่นใจได้ในเรื่องความแข็งแรงและปลอดภัย

เมื่อเทคโนโลยี 3D Printing ถูกคิดค้นและพัฒนาจวบจนที่สามารถเอาไปประยุกต์ใช้และตอบโจทย์ในวงการออกแบบก่อสร้างได้และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การก่อสร้างก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดด และเชื่อว่าจะมีสถาปัตยกรรมแนวใหม่จากนักออกแบบที่ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิม ๆ ออกมาให้เราได้เห็นกันอีกมากมาย ซึ่งอาจล้ำเกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถไปร่วมชมและสัมผัสสถาปัตยกรรมปูนซีเมนต์ จากเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ ที่มีดีไซน์ไร้ขีดจำกัด ได้ที่ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง/ เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ หรือติดตามข่าวสารได้ที่ http://www.scgbuildingmaterials.com/th/ASA2016 หรือ https://www.facebook.com/SCGExperience

 

นิตยสาร Builder Vol.34 AUGUST 2016

Previous articleอัพเดทนวัตกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2016
Next articleไรมอน แลนด์ และ มินิ มอบข้อเสนอพิเศษมูลค่ารวมกว่า 500,000 บาท เอาใจลูกค้าผู้มีไลฟ์สไตล์
Builder
กองบรรณาธิการนิตยสาร Builder - เดิมเคยเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ ภายใต้ชื่อ Builder News เผยแพร่เนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับวงการธุรกิจก่อสร้างมากว่า 10 ปี ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นนิตยสารรายเดือนในชื่อว่า Builder เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปในยุคปัจจุบัน มุ่งนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร