“อนุทิน-ศักดิ์สยาม-มนัญญา” ลงพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี เปิดโครงการนำน้ำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน “ ทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน แยกโคกหม้อ – ท่าซุง กิโลเมตรที่ 7+525 – 7+725 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี พร้อมชมการสาธิตขั้นตอนนำน้ำยางพารามาทำ “แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต” และ “หลักนำทางยางธรรมชาติ”
โดยเมื่อวันที่ 30กันยายน 2563 ที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นประธานพิธีเปิดโครงการนำร่องการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Off) บริเวณณทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน แยกโคกหม้อ – ท่าซุง กิโลเมตรที่ 7+525 – 7+725 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปลัดกระทรวงฯ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานนายอนุทิน เปิดเผยว่า ผมขอชื่นชมความร่วมมือร่วมใจในการผนึกกำลังของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการนำร่องการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สหกรณ์กองทุน สวนยาง รวมถึงหน่วยงานที่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัย และพัฒนาอุปกรณ์เพื่อความ ปลอดภัยทางถนนจากยางพาราที่ได้ริเริ่มสร้างสรรค์โครงการที่เป็นประโยชน์มีความ คุ้มค่า ทำให้พี่น้องประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในการเดินทางมากขึ้น ช่วยลดความ สูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางถนน และในขณะเดียวกันก็ยังช่วย สร้างความมั่งคั่ง สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรโดยตรง ในสัดส่วนที่มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่พี่น้องเกษตรกร ด้วยการเรียนรู้และต่อ ยอดองค์ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ซึ่งจะทำให้มีรายได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ความร่วมมือในครั้งนี้ นับเป็นผลประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่มิอาจประเมินมูลค่าได้
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า จากสถานการณ์ยางพาราซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย ประสบปัญหาราคาตกต่ำ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา รับทราบแนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier: RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post: RGP) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ รวมถึงตามที่เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่องอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือร่วมใจในการผนึกกำลังของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองทุนสวนยาง รวมถึงหน่วยงานที่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยทางถนนจากยางพารา ซึ่งเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา สร้างรายได้ โดยตรงให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทโครงการนี้จะสร้างความมั่งคั่ง สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรโดยตรง ในสัดส่วนที่มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่พี่น้องเกษตรกร ด้วยการ เรียนรู้ และต่อยอดองค์ความรู้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ซึ่งจะทำให้เกษตรกร ชาวสวนยางพารา มีรายได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต เป็นการสร้างเสถียรภาพด้านราคายางพารา ในประเทศให้มากขึ้นอีกด้วย โครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความ ปลอดภัยทางถนนของกระทรวงคมนาคม จะไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้แต่โดยลำพัง วันนี้ผมจึงตั้งใจที่จะได้มาพบปะกับทุกท่านเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ และขอ ความร่วมมือ-ร่วมใจจากท่านทั้งหลาย ให้มีส่วนร่วมกับการดำเนินโครงการดังกล่าว หากท่านใดมีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ท่านสามารถบอกกล่าวผ่านมาทาง ท่าน ส.ส. ในพื้นที่ซึ่งเป็นตัวแทนของท่าน หรือผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะพ่อเมือง ผ่านผู้นำท้องถิ่นหรือผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อส่งต่อความเห็นของท่านมายังกระทรวง คมนาคม ผมขอยืนยันว่าเราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับท่านในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง ยังได้มีแผนพัฒนาโครงข่าย ทางหลวงในจังหวัดอุทัยธานี โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจรทางหลวงหมายเลข 333 อ.หนองฉาง – อุทัยธานี ระยะทาง 17.97 กิโลเมตร ได้รับงบประมาณปี 64 และยังมีแผน ในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงของจังหวัดอุทัยธานีในอนาคตกว่า 4 โครงการรวม 136.25 กม. เป็นงบประมาณสูงถึง 5,510 ล้านบาท ในส่วนของการพัฒนาทางหลวงชนบท เพื่อความสะดวกในการเดินทางสู่ชุมชนในปี 64 มีแผนที่จะดำเนินโครงการ ก่อสร้างทาง บำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย กว่า 93 โครงการ วงเงิน 434.76 ล้านบาทขณะที่ น.ส.มนัญญา กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ จะทำหน้าที่กำกับคุณภาพในการผลิตอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา พร้อมทั้งคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ที่กระทรวงรับรองให้เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งยังสนับสนุนจัดเตรียมเครื่องมือและวัตถุดิบให้เป็นไปตามรูปแบบ มาตรฐาน และราคาตามที่กระทรวงคมนาคมกำหนด
ด้านนายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า โครงการนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของพี่น้องประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการนำยางพารามาใช้เป็นอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยทางถนน รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการดูดซับปริมาณยางพาราออกจากระบบ สร้างเสถียรภาพราคายางพาราอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการศึกษาและวิจัยพบว่า มี 2 ผลิตภัณฑ์ ที่มีความเหมาะสมและมีปริมาณยางพาราเป็นส่วนผสมจำนวนมาก สามารถลดความรุนแรงของการชนปะทะได้ คือ แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และหลักนำทางยางธรรมชาติ
“ก่อนนำมาใช้งานจริง ได้ทำการทดสอบทั้งในประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้แล้ว โดยใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์วิ่งเข้าชนเพื่อวัดแรงปะทะที่เกิดขึ้น ผลการทดสอบพบว่า ผู้ขับขี่ได้รับค่าแรงกระแทกน้อยกว่าค่ามาตรฐาน สามารถลดอัตราความรุนแรงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้เป็นอย่างมาก”ส่วน นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า วันนี้จึงถือเป็นวันสำคัญ ของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราในภาคกลาง กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ได้กำหนดแผนการดำเนินโครงการดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2563-2565 โดยมีปริมาณการใช้ยางพารา จำนวน 1,007,951 ตัน คิดเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับ จำนวน 30,108 ล้านบาท และจะมีการสำรวจตรวจสอบเพื่อเปลี่ยนแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และหลักนำทางยางธรรมชาติ ทดแทนที่เสื่อมสภาพหรือมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งต้องใช้ยางพาราในทุกๆ ปี ปีละไม่น้อยกว่า 336,000 ตัน