การไฟฟ้านครหลวงดำเนินแผนการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินระยะทาง 200 กิโลเมตร ในพื้นที่รับผิดชอบ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ตอบรับนโยบายยกระดับกรุงเทพมหานคร

นายเทพศักดิ์ ฐิตะรักษา ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟน.ให้สัมภาษณ์แผนดำเนินการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดิน ว่าในขณะนี้ การติดตั้งเสร็จไปแล้วกว่า 41 กม. ส่วนใหญ่ติดกับถนนหลัก คาดอนาคตขยายเพิ่มอีก 176 กม. ในเขตที่มีความสำคัญ และพื้นที่เศรษฐกิจ ในการลงทุนติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดิน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.ภาระไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จนทำให้การเดินจ่ายไฟฟ้าผ่านทางสายอากาศไม่เพียงพอ
2.ความน่าเชื่อถือของระบบใต้ดินมีมากกว่า เนื่องจากไม่มีเสาไฟให้ล้ม ทำให้โอกาศไฟดับมีน้อย
3.ปลอดภัยกว่าเพราะไม่มีระบบสายอากาศ
4.มีระบบภูมิทัศน์ที่สวยงาม

โดยงบประมาณการลงทุน ในระบบไฟฟ้าใต้ดินแพงกว่าสายอากาศเฉลี่ย กม.ละ 300-400 ล้านบาท แต่ผลที่ได้ถือว่ามีความคุ้มค่า เพราะภาระไฟฟ้าน้อยกว่า จ่ายไฟเพียงพอ มีความสวยงาม ซึ่งเรามุ่งให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งอาเซียน เพราะเรามองว่ากรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเยือนสูงมาก

ทั้งนี้การทำสายไฟฟ้าใต้ดินถือว่ามีความจำเป็นอย่างมาก เพราะผลกระทบประการแรกคือในปัจจุบันมีสายไฟฟ้าเยอะมาก จึงทำให้ไม่สามารถสร้างระบบสายอากาศไปในทิศทางที่อยากให้ไปได้ และอาจต้องอ้อมไปไกลมาก เช่น การจ่ายไฟจำเป็นต้องมีแหล่งจ่ายไฟ การเดินสายไฟไปยังจุดจุดหนึ่ง ในเมืองที่เติบโตมาก ๆ หรือศูนย์การค้า มีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเยอะมาก แต่เส้นทางเดินไฟอาจมี 1-2 เส้น บางอาจมีเส้นเดียว ต้องอ้อมไปไกลมาก อาจไปถึงไม่ได้หรือจ่ายไฟไม่เพียงพอ ในที่สุดต้องสร้างระบบสายไฟใต้ดินอยู่ดี

นอกจากนั้นถ้า กฟน.ไม่ทำอะไร ในอนาคตไฟฟ้าที่เคยมั่นคง ปลอดภัย คุณภาพอาจลดลง อาจมีไฟดับไฟตกบ้าง กฟน.จึงต้องมีหน้าที่สร้างระบบให้มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบกับชีวิตบ้าง มองไม่เห็นเหมือนรถไฟฟ้า แต่เราสร้างเพื่อสร้างอนาคตของประชาชนเช่นเดียวกัน

 

Source : prachachat

Previous article‘ดี.พี. เซรามิคส์’ จับมือ ‘โคห์เลอร์’ เปิดโชว์รูม โคห์เลอร์ แฟลกชิพ สโตร์ ย่านทองหล่อ
Next articleเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ชาวเซี่ยงไฮ้ด้วย ‘runner camp’ สโตร์อุปกรณ์กีฬามาพร้อมห้องออกกำลังกายขนาดใหญ่