องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ขึ้นบัญชีให้โครงการออกแบบทั้งหมด 17 โปรเจ็ค ใน 7 ประเทศ ของสถาปนิกชื่อดังชาวฝรั่งเศส Le Corbusier เป็นมรดกโลก เนื่องด้วยความพิเศษทางด้านวัฒนธรรม ตลอดจนนัยสำคัญทางกายภาพ โดยการขึ้นบัญชีให้เป็นมรดกโลกในครั้งนี้ จะช่วยปกป้องและอนุรักษ์ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ให้สืบถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
Le Corbusier (เลอ กอร์บูซิเย่ร์) เป็นนามแฝงของ Charles-Édouard Jeanneret-Gris (ชาร์ลส์-เอดูอาร์ด์-ฌองเนอเรต์-กรีส์) เกิดเมื่อปีค.ศ. 1887 ที่เมืองลาโชส์เดอฟงด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และโอนเปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1930 ก่อนเสียชีวิตในปีค.ศ. 1965
เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปนิกผู้นำร่องแนวคิดสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตั้งแต่ช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการเลือกใช้วัสดุประเภท เหล็ก คอนกรีต และกระจก ในงานออกแบบ โดยเน้นการดีไซน์ขอบหรือมุมต่าง ๆ อย่างชัดเจน และเน้นการใช้งานเป็นหลัก ซึ่งอาจไม่ถูกจริตกับทุกคนในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้ เขายังมีแนวคิดในการออกแบบด้วยว่า “บ้านพักอาศัยควรสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง” ซึ่งก็คือศิลปะแบบ purism หรือศิลปะแบบบริสุทธิ์ (พิสุทธินิยม)
ทั้งนี้ ผลงานของ Le Corbusier ที่ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก จำนวน 10 โครงการ ล้วนอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ส่วนผลงานอีก 7 โครงการที่เหลือกระจายอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม เยอรมนี อาร์เจนตินา ญี่ปุ่น และอินเดีย สำหรับโครงการสถาปัตยกรรมทั้ง 17 โครงการของ Le Corbusier ที่ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกโลก ประกอบด้วย:
- Unité d’habitation, Marseille, France
- Maison Guiette, Antwerp, Belgium
- Capitol Complex, Chandigarh, India
- The National Museum of Western Art, Tokyo, Japan
- Weissenhof-Siedlung Estate, Stuttgart, Germany
- Maison Curutchet, La Plata, Argentina
- Dominican Monastery of La Tourette near Lyon, France
- Villa Savoye near Paris, France
- Notre-Dame du Haut, Ronchamp, France
- Maison La Roche, Paris, France
- Villa Le Lac, Corseaux, Switzerland
- Cité Frugès, Pessac, France
- Immeuble Clarté, Geneva, Switzerland
- Immeuble Molitor, Paris, France
- Usine Claude et Duval Factory, Saint-Dié, France
- Cabanon de Le Corbusier, Roquebrune-Cap-Martin, France
- Maison de la Culture, Firminy, France
(คลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่)
Source: archdaily