หลังภาพของสถานีรถไฟปากช่องได้รับการเผยแพร่ผ่านแฟนเพจ “ข่าวรถไฟ” เสียงวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากถึงการออกแบบก็ดังขึ้น ทั้งในแง่ความสวยงามและการใช้งาน

“เชย” “ไม่นำสมัย” “อนุรักษ์นิยม” ด้วยองค์ประกอบทั้งสี วัสดุ และที่สำคัญคือหน้าจั่ว คงไม่แปลกนักหากหลายคนจะเผยว่าภาพของสถานีรถไฟแห่งนี้ทำให้เขานึกถึง(ศาลา)วัด แต่ในแง่ฟังก์ชันการใช้งาน สถานีรถไฟแห่งนี้ก็มีหลังคาที่ถูกตั้งคำถามเช่นกัน ว่า “กันอะไรได้” BuilderNews จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกัน ว่าหลังคารูปทรงแบบนี้มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะกับการใช้งานแบบไหน เพื่อพิจารณากันเองว่าทำไมสถานีรถไฟปากช่องจึงมีรูปทรงเช่นนี้

หลังคาแบบผีเสื้อ (Butterfly roof) หรือหลังคารูปตัววี (V-shaped roof) ดูจะเป็นชนิดของหลังคาที่ใกล้เคียงกับหลังคาที่ถูกตั้งคำถามในภาพมากที่สุด จากหลังคาทั้ง 5 แบบที่ salmonsolutions รวบรวมไว้

หลังคาแบบผีเสื้อสร้างขึ้นจากหลังคาทรงเพิงหมาแหงน (Lean to) สองหลังที่ทำมุมหงายขึ้นหาฝั่งด้านนอก หรือคือหันด้านที่ต่ำกว่ามาชนกัน สร้างรูปทรงที่ดูโมเดิร์นโดดเด่น ชวนให้นึกถึงสถาปัตยกรรม Mid-century modern ในสหรัฐอเมริกา

“ข้อดี” ของหลังคาแบบนี้หากใช้กับบ้านคือแสงธรรมชาติจะส่องเข้าเยอะ ทำให้บ้านสว่าง

ข้อควรระวังของหลังคาแบบนี้คือเรื่องการจัดการน้ำฝน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก thaihometown ชี้ว่าควรระวังการรั่วซึมของรางน้ำ เนื่องจากต้องรองรับน้ำฝนจากหลังคาทั้ง 2 ด้าน ขั้นตอนที่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษจึงคือการเลือกและออกแบบรางน้ำฝน

อย่างไรก็ตาม นอกจากสถานีรถไฟนี้ ยังมีสถานีรถไฟในต่างประเทศอีกมากมายที่ออกแบบหลังคาลักษณะนี้ แต่จะเหมาะกับประเทศไทยหรือไม่ เชิญร่วมแสดงความเห็นกันได้เลย

Sources

ภาพจาก

Previous articleทิศทางอสังหาฯ ครึ่งปีหลัง 2565
สัญญาณฟื้นตัวกำลังมา โครงการเปิดใหม่เพียบ!
Next article‘Sam Yan Gym’ สีสัน(ของสายสุขภาพ)ยามค่ำคืน