Gaurav MK Wali นักออกแบบชาวอินเดียผู้สนใจการวิจัยวัสดุ การทดลอง และพัฒนานวัตกรรมของวัสดุรักษ์โลก ได้คิดโปรเจคที่มีชื่อว่า Cheer Project ขึ้นมาโดยวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับชิ้นส่วนของต้นสนให้กลายเป็นวัสดุชีวภาพและย่อยสลายได้ 100%
ทางตอนเหนือของอินเดียเต็มไปด้วยต้นสน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าหิมาจัลและเขตยูทาห์คันต์ ช่วงฤดูแล้งมีรายงานการเกิดเพลิงไหม้มากกว่า 500 ครั้งในพื้นที่บริเวณนั้น เพราะเมื่อต้นสนแห้งจะเป็นตัวนำไฟได้อย่างดีเลยทีเดียว อาจเป็นเหตุผลหลักของ Gaurav ที่คิดค้นไอเดียนี้ขึ้นมา
Gaurav ทำการแยกชิ้นส่วนของเส้นใยออกมาก่อน จากนั้นไปพัฒนาต่อโดยการนำเส้นใยที่ได้ไปผสมกับขี้ผึ้งเพื่อขึ้นรูปเป็นแบบต่างๆ วัสดุที่ได้ออกมาเป็นวัสดุชีวภาพ 100% ย่อยสลายได้ รีไซเคิลได้ ไม่ติดไฟ และไม่เกิดมลภาวะแน่นอน
“การทดลองนี้เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุท้องถิ่นในพื้นที่ ศึกษาศักยภาพของมันแล้วพัฒนาไปในสิ่งที่มันเป็นไปได้ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการผลิตวัสดุรีไซเคิล โดยแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ผสมผสานงานฝีมือของคนในท้องถิ่นกับการใช้ประโยชน์ของวัสดุในพื้นที่ อนาคตอาจจะมีวัสดุอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก” Gaurav mk wali กล่าว
กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นงานฝีมือจากคนในชุมชนหิมาจัล โดยมีเป้าหมายที่นอกจากช่วยลดการเกิดไฟป่าแล้ว ยังเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย เศษใบไม้ เศษกิ่งไม้จากต้นไม้ในบ้านเราก็สามารถนำพัฒนาต่อได้ อาจจะต้องใช้เวลาศึกษากันหน่อย แต่ได้ผลอย่างดีเยี่ยมแน่นอน
อ้างอิงข้อมูลและภาพประกอบจาก
gaurav mk wali transforms pine needles into biodegradable composite material