นักวิทยาศาสตร์ พัฒนาแผงโซลาร์เซลล์แบบใหม่ ที่ใช้พลังงานจากความร้อนและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เพื่อให้ได้พลังงานมากกว่าที่เคยได้จากแผงโซลาร์เซลล์แบบเดิม ๆ โดยนำเอาเซลล์แสงอาทิตย์มาจับคู่กับโพลิเมอร์ฟิล์ม จนทำให้ โซลาร์เซลล์ แบบไฮบริดนี้สามารถผลิตแรงดันไฟฟ้าได้มากกว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมถึง 5 เท่า แม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์ในรูปแบบนี้จะมีราคาแพงกว่าแบบอื่น แต่นักวิจัยผู้คิดค้นแผงโซลาร์เซลล์แบบใหม่นี้ก็หวังว่ากลุ่มลูกค้าจะสนใจในเรื่องขั้นตอนการผลิตมากกว่าจะมองในเรื่องราคาที่ค่อนข้างสูงของแผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้
แผงโซลาร์เซลล์ที่ออกใหม่ในแต่ละรุ่นจะมีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นก่อน ๆ มีความสามารถในการเปลี่ยนจากแสงอาทิตย์ให้กลายมาเป็นพลังงานได้ดีกว่าเดิม เหล่านักวิจัยผู้คิดค้นและพัฒนาล้วนแต่ต้องการให้ผลงานออกมาดีกว่าเดิมโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การเพิ่มพื้นที่บนแผงโซลาร์เซลล์ทั้งสองด้านให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการผลิตในครั้งล่าสุดนี้จะไม่สามารถใช้รังสีจากแสงอาทิตย์ได้มากนัก แต่จะเห็นได้ว่า โซลาร์เซลล์ ก็ยังคงวางแผ่รับรังสีจากแสงอาทิตย์อยู่
การใช้วัสดุหลากหลายผสมผสานกันในการสร้างแผงโซลาร์เซลล์นี้ เป็นวิธีเดียวในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ ดังนั้น กลุ่มนักวิจัยจึงทดลองสร้างโซลาร์เซลล์จากหลากวัสดุ ซึ่งในการค้นพบครั้งนี้ เป็นการร่วมมือกันระหว่าง Eunkyoung Kim และกลุ่มเพื่อน โดยหยิบเอาโพลิเมอร์นำไฟฟ้า ที่ชื่อว่า ‘Pedot’ มาใช้ประโยชน์ ซึ่ง Pedot นี้ ก็ทำงานได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
เมื่อมีแสงสว่างเพิ่มขึ้น ฟิล์ม Pedot ก็จะมีความร้อนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยฟิล์มจะถูกวางเรียงอยู่เป็นชั้น ๆ บนแผงโซลาร์เซลล์ จากนั้น จะถูกนำไปวางไว้ด้านบนฟิล์ม pyroelectric แผ่นบาง และอุปกรณ์เทอร์โมอิเล็คทริค ทั้งฟิล์ม pyroelectric และอุปกรณ์เทอร์โมอิเล็คทริคนี้ สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าจากความร้อนได้ ผลที่ได้ก็คือ สิ่งประดิษฐ์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งให้พลังงานมากกว่าแผงโซลาร์เซลล์ธรรมดาที่ไม่อาศัยฟิล์ม pyroelectric และอุปกรณ์เทอร์โมอิเล็คทริค ถึง 20% ซึ่งข้อสรุปนี้มีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากโซลาร์เซลล์ไฮบริดนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าพลังงานจากแสง
Source: inhabitat